กรมพัฒนาที่ดิน หนุน ปลูกพืช GI เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการเกษตร

กรมพัฒนาที่ดิน หนุน ปลูกพืช GI เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการเกษตร

กรมพัฒนาที่ดิน เล็ง พัฒนาทรัพยากรดินลักษณะเด่น หวังสร้างสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผลิตสินค้ามูลค่าสูง 1 พื้นที่ 1 เกษตรกรรมชั้นดี เพิ่มขีดความสามารถการผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย

นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินโครงการการประเมินสถานภาพทรัพยากรดินในพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านการเกษตร โดยทำการศึกษาลักษณะและสมบัติบางประการของดิน รวมถึงประเมินสถานภาพทรัพยากรดินในพื้นที่ปลูกพืชอัตลักษณ์พื้นถิ่น เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลทรัพยากรดินและแนวทางการจัดการดินในพื้นที่ปลูกพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (พืช GI) รายชนิดพืช ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบสถานภาพทรัพยากรดินในพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดีและ บ่งชี้สถานะของดินที่มีการปลูกพืชให้มีคุณภาพดี 

กรมพัฒนาที่ดิน หนุน ปลูกพืช GI เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการเกษตร

อีกทั้งนำไปใช้เป็นคำแนะนำการจัดการดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เพื่อให้เกษตรกร เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานต่างๆ นำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรดินในบริเวณที่มีลักษณะโดดเด่น เพื่อผลักดัน เสริมสร้าง และคุ้มครองให้เป็นปัจจัยสำคัญต่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พืชท้องถิ่น และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีคุณภาพดี 

นอกจากนี้ กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานสนับสนุนในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามเป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อย : สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น  มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ในการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกพืช GI การสนับสนุนฐานข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (พืช GI) ให้ได้มาตรฐานเพื่อคุ้มครองทรัพยากรดินที่เหมาะสมสำหรับพืช GI โดยจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศ (พืช GI) ได้แก่

กรมพัฒนาที่ดิน หนุน ปลูกพืช GI เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการเกษตร

ลักษณะภูมิประเทศ แผนที่ชุดดิน แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน ความเหมาะสมของที่ดิน ในขอบเขตพื้นที่เพาะปลูกพืช GI ของประเทศไทย จำนวน 48 ชนิด เช่น ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา ลิ้นจี่นครพนม ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ และข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นต้น

“ฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (พืช GI) และสถานการณ์ของทรัพยากรดินในพื้นที่เพาะปลูกพืช GI ถูกนำมาวิเคราะห์และประเมินคุณภาพที่ดินทั้งระดับความต้องการปัจจัยของพืช GI และสภาพภูมิอากาศ เพื่อจัดชั้นความเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืช GI ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อจัดทำเขตการใช้ที่ดินสำหรับพืช GI ในการขยายพื้นที่เพาะปลูก พร้อมทั้งจัดทำเขตเหมาะสมมากสำหรับปลูกพืช GI และเขตเหมาะสมมากสำหรับขยายพื้นที่ปลูกพืช GI ด้วย โดยได้ดำเนินการแล้วจำนวน 6 ชนิดพืช 

กรมพัฒนาที่ดิน หนุน ปลูกพืช GI เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านการเกษตร

 

ได้แก่ ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ กระเทียมศรีสะเกษ หอมแดงศรีสะเกษ ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ สับปะรดท่าอุเทน ลิ้นจี่นครพนม ในพื้นที่จังหวัดนครพนม และ ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการขยายผลแผนพัฒนาพืช GI ในอนาคตแบบบูรณาการ

ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และผู้สนใจสามารถนำฐานข้อมูลสารสนเทศพืช GI ของกรมพัฒนาที่ดินไปวิจัยต่อยอด หรือใช้ประโยชน์สำหรับกำหนดแผนงานและนโยบายการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ”