'อรรถพล' แจงผู้ถือหุ้น หาองค์กรกลางวินิจฉัยคืนค่า 'ชอร์ตฟอล' 4.3 พันล้าน
"อรรถพล" CEO ปตท. แจงผู้ถือหุ้นในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ยืนยันคำนวณราคาพูลก๊าซถูกต้อง เร่งหาองค์กรกลางหวังของค่า "ชอร์ตฟอล" 4.3 พันล้านคืน ย้ำปตท. แข็งแกร่ง 6 กลุ่มบริษัทใหญ่ในตลาดฯ แตกไลน์ธุรกิจบริหารความเสี่ยงรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างยั่งยืน
บริษัท ปตท. กัด (มหาชน) ได้จัดประชุมประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 วันที่ 12 เม.ย.2567 เป็นการประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในระหว่างการประชุมมีการสอบถาม อาทิ การเข้ามาของยานยนต์ไฟฟ้า (EV) จะกระทบธุรกิจน้ำมันหรือไม่ ปตท.เตรียมรับมืออย่างไร รวมถึงนโยบายรัฐบาลที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการ เป็นต้น โดยมีนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการ ปตท. ทำหน้าที่ประธานการประชุม
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าาว่า ผลการดำเนินงาน ปตท. และบริษัทย่อยปี 2566 มีกำไรสุทธิ 112,024 ล้านบาท เติบโต 22.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 91,174.86 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.6% ของยอดขายสูงกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือของกลุ่ม ปตท. ในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 13,000 ล้านบาท
นายอรรถพล ตอบคำถามผู้ถือหุ้นถึงผลประกอบการที่มีกำไรเพิ่มขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน และผลขาดทุนจากกลุ่มปิโตรเคมีที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งธุรกิจนอนออยล์การดำเนินงานยังไม่ชัดเจน เพื่อป้องกันความเสี่ยงไม่ให้มีผลกระทบจะดำเนินงานอย่างไรในอนาคตนั้น นายอรรถพลกล่าวยอมรับว่าการดำเนินงานที่ลดลง โดยหลักคือกลุ่มปิโตรเลียมขั้นปลายที่มีราคาลดลง เนื่องจากมีโรงงานที่เกิดขึ้นในโลกเพิ่มขึ้นเกิดจากดีมานด์โอเวอร์ซัพพลาย
นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลา ปตท.มีมาตรการระยะยาวและนโยบายการลงทุนในเชิงแอดวานซ์แมททีเรียล สร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อลดความผันผวน ดังนั้น จะเห็นว่าในกลุ่มปตท. โดย GC ได้เริ่มลงทุนในธุรกิจสร้างมูลค่าเพิ่มต่างประเทศบ้างแล้ว ในขณะที่ในช่วงราคาผันผวน ปตท.ใช้มาตรการเฮจจิ้งเพื่อลดผลกระทบ และมีฝ่ายบริหารความเสี่ยงช่วยดูแล
"สิ่งสำคัญที่ทำได้และยังยืนคือการเน้นในเรื่องของโปรดักทิวิตี้ บริหารซัพลายเชน ร่วมมือกันเองในกลุ่มปตท. ให้ได้มากที่สุดเพื่อประสิทธิภาพมากขึ้น เรามีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึง 6 บริษัท มีความหลากหลายในรูปแบบธุรกิจ จะเป็นการกระจายความเสี่ยงได้ดี" นายอรรถพล กล่าว
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจพลังงานถือเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน การเตรียมความพร้อมและกระจายความเสี่ยง จะต้องมีการลงทุนธุรกิจอนาคตมากขึ้น เช่น ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน, ไฮโดรเจน, อีวีแวร์ลูเชน หรือธุรกิจเทรนด์อนาคต เพื่อสร้าง New S-Curve ประเทศ และกระจายความเสี่ยง สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจในอนาคตอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นได้สอบถามถึงประเด็นที่สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ NGV ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนั้น นายอรรถพล กล่าวว่า ปั๊ม NGV ถือเป็นธุรกิจเสรี เอกชนสามารรถลงทุนเองได้ แต่ด้วยราคาที่อาจโดนควบคุม เอกชนจึงไม่สนใจลงทุนต่อ เสมือนปตท.ผูกขาดความขาดทุนมากกว่า ดังนั้น ที่การลดลงของจำนวนสถานีให้บริการเพราะมีการสิ้นสุดสัญญา ผู้ประกอบการนำพื้นที่ไปประกอบธุรกิจอื่นที่คุ้มค่ากว่า ปตท. พยายามดูความสมดุล โดยคำนึงระยะทางไม่ให้ขาดช่วง ซึ่งปตท. ได้เปิดแอปพลิเคชั่นค้นหาสถานีเพื่อให้ผู้ใสามารถค้นหาได้ง่ายขึ้น
นายอรรถพล ตอบคำถามถึงการแทรกแซงราคาน้ำมันของภาครัฐว่า แม้รัฐบาลจะมีการควบคุมราคาน้ำมัน ส่วนหลักคือรัฐบาลเป็นผู้ออกเงินทั้งจากกองทุนน้ำมันฯ และมาตรการลดการจัดเก็บภาษีน้ำมัน ทั้งนี้ จากการกำหนดราคาของผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งเป็นตลาดเสรีที่ไม่มีแค่ปตท. ดังนั้น ราคาเกิดจาก 2 ปัจจัย ทั้งมาจากรัฐบาล การกำหนดค่าการตลาดซึ่งมีทั้งขึ้นและลงผู้ให้บริการได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันหมด โดยช่วงราคาน้ำมันลงก็อาจตั้งค่าการตลาดเหมาะสมบ้าง ยืนยันว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาค่าการตลาดเข้าสู่ระดับปกติแล้ว
ในขณะที่การดำเนินธุรกิจก๊าซฯ ส่วนใหญ่เป็นการปฏิบัติตามนโยบายรัฐ ปตท. ยืนยันว่าบริหารจัดการในระดับที่เหมาะสมและไม่มากเกินไป เพื่อให้ผลประกอบการอยู่ได้
ส่วนการเข้ามาของยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) กลุ่มปตท.โดย OR ได้ปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง ขณะนี้ การติดตั้งอีวีชาร์จเจอร์ครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว พร้อมพัฒนาแอปฯ เพื่อช่วยให้การเดินทางสะดวกและจองคิวได้ล่วงหน้า จึงมองเป็นโอกาสของการขยายธุรกิจของ OR ด้วย เพราะการชาร์จรถอีวีจะใช้เวลานานกว่าการเติมน้ำมัน ลูกค้าจะใช้เวลาในการซื้อของตามร้านค้า ร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมันพีทีที สเตชั่น ส่วนศูนย์บริการรถยนต์ฟิตออโต้ ในปั๊มพีทีที สเตชั่น ก็เพิ่มบริการตรวจเช็ครถอีวีเพิ่มด้วย เป็นการพลิกการเปลี่ยนแปลงให้เป็นโอกาส
"ปัจจุบันกลุ่มปตท. ลงทุนสถานีชาร์จผ่าน 2 หน่วยงานหลัก คือ อรุณพลัส และ OR โดยอรุณพลัส ติดตั้งเครื่องชาร์จแล้ว 839 เครื่อง OR มี 895 สถานี ถือว่าครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว ปีนี้ อรุณพลัสจะเพิ่มอีก 280 เครื่อง OR จะขยายอีก 550 แห่ง ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การลทุนในธุรกิจใหม่ถือเป็นช่วงเริ่มการขยายการทุนจึงจะทะยอยการรับรู้ผลตอบแทนในอนาคต"
นอกจากนี้ ในการดำเนินธุรกิจ อีวีแวลูเชน นั้น กลุ่มปตท.ลงทุนครบวงจร ตั้งแต่ ชาร์เจอร์ แบตเตอรี่ โรงงานประกอบรถ 2 ล้อ และ 4 ล้อ พร้อมเปิดให้เช่ารถอีวีผ่านแอปอีวีมี ให้ลูกค้าได้ทดลองใช้ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อรถอีวี ถือเป็นโอกาสธุรกิจ
ผู้ถือหุ้นสอบถามถึงกรณีที่สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ออกคำสั่งถึง ปตท. จ่ายค่าปรับจากผู้ขายก๊าซธรรมชาติ (ชอร์ตฟอล) จำนวน 4,300 ล้านบาท จากการขาดส่งก๊าซอ่าวไทยปี 64-65 นายอรรถพล กล่าวว่า ปตท. ดูแลความมั่งคงด้านพลังงานของประเทศ กรณีดังกล่าวเป็นการปฎิบัติตามสัญญาระหว่างผู้ผลิตกับปตท. โดยผู้ผลิตไม่สามารถส่งได้ตามสัญญา ซึ่งกกพ. ระบุว่า ปตท.คำนวณราคาพูลก๊าซ (ราคาเฉลี่ยก๊าซจากอ่าวไทย + ก๊าซจากเมียนมา + ก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจีนําเข้าที่อิงราคาตลาดโลก) ม่ถูกต้องจึงให้นำเงินจากผู้ผลิตที่ขาดส่งมาคำนวณใหม่
"ปตท.ก็ยังเชื่อว่าการคำนวณถูกต้องมาตลอด ตามการบริหารสัญญาซื้อขายก๊าซ แต่เพื่อเป็นไปตามคำสั่งเราปฏิบัติตามไปก่อน และจ่ายเงินโดยบันทึกค่าใช้จ่ายงวดเดือนม.ค. 2567 ซึ่งปตท. ก็ได้สงวนสิทธิในการดำเนินการที่จำเป็น โดยหาองค์กรกลางที่จะมาวินิจฉัยตีความที่แตกต่างจากนี้ ดังนั้น เมื่อการดำเนินการเป็นอย่างไรก็พร้อมปฏิบัติตามถึงข้อตัดสิน" นายอรรถพล กล่าว
ผู้ถือหุ้นมีข้อเสนอแนะว่าไม่ควรจ่ายค่าตอบแทนประธานและกรรมการ ปตท. เพาะไม่ได้ทำงานประจำ อีกทั้งยังได้เบี้ยเลี้ยงในการประชุมแล้ว ทั้งนี้ ตามข้อกำหนดของการเป็นรัฐวิสาหกิจถึงค่าตอบแทนกรรมการถือเป็นไปตามมติที่ใช้ควบคุมตามหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ