นับถอยหลังเริ่มใช้ ดิจิทัลวอลเล็ต ไทม์ไลน์ล่าสุด คอนเฟิร์มเริ่มใช้ ธ.ค.67
สรุป "ดิจิทัลวอลเล็ต" ไทม์ไลน์คอนเฟิร์มโครงการเปิดใช้งานระบบประชาชนซื้อสินค้าจากร้านค้าได้ผ่านระบบ Open loop ในเดือน ธ.ค.นี้ ขณะที่ในส่วนของร้านค้าก็เปิดให้ประชาชนซื้อสินค้าได้ภายในเดือน ธ.ค.เช่นกัน
ยังเป็นที่สงสัยและมีคำถามอยู่ไม่น้อยสำหรับไทม์ไลน์ที่แน่นอนของโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต ที่รัฐบาลจะเปิดให้ประชาชนกลุ่มที่มีสมาร์ทโฟน ลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต ในวันที่ 1 ส.ค. – 15 ก.ย. จากนั้นจะมีการแถลงข่าวการเปิดลงทะเบียนร้านค้า ก่อนจะมีการแถลงวันที่เริ่มใช้จ่ายอีกครั้ง
ในส่วนของวันเริ่มการใช้จ่ายในโครงการนี้ที่ผ่านมาทั้งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี รวมทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงอย่างกระทรวงการคลังจะไม่ระบุวันที่ที่แน่นอนแต่ว่าระบุว่าไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
ล่าสุดนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ยอมรับว่าโครงการนี้จะสามารถเปิดให้ประชาชนใช้จ่ายเงินกับร้านค้าขนาดย่อยที่เข้าร่วมโครงการได้ภายในเดือน ธ.ค.2566 ซึ่งช้ากว่าที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ระบุว่าจะเริ่มใช้จ่ายในโครงการได้ในวันที่ 1 ต.ค.2567
“กรุงเทพธุรกิจ” พาไปอัพเดต ไทม์ไลน์ ดิจิทัลวอลเล็ต ล่าสุด ของโครงการทั้งในส่วนของประชาชน และร้านค้า ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ในกระเป๋าเงินดิจิทัลวอลเล็ต (บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
ไทม์ไลน์ ดิจิทัลวอลเล็ต ทั้งในส่วนของการลงทะเบียนร้านค้าและประชาชนดังนี้
- 1 ก.ค. 2567 ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นทางรัฐ และยืนยันตัวตน (KYC)
- 1 ส.ค. 2567 เปิดลงทะเบียน โครงการ ฯ
- 15 ก.ย. 2567 ปิดลงทะเบียน โครงการ ฯ
- 1 ต.ค. - 3 ต.ค. 2567 เปิดให้ขอทบทวนสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการ
- 3 – 31 ต.ค. 2567 ประชาชนประสานกับ หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง
- 31 ต.ค. 2567 ปิดการขอทบทวนสิทธิ์
- 15 พ.ย. 2567 แจ้งผลการขอทบทวนสิทธิ์
- เดือน ธ.ค.2567 เปิดให้ประชาชนใช้จ่ายผ่าน ระบบ “Open Loop” ผ่านแอปพลิเคชั่นทางรัฐ
เปิดไทม์ไลน์ร้านค้าร่วมดิจิทัลวอลเล็ต
ในส่วนของไทม์ไลน์การลงทะเบียนร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่าน โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ตามที่ คณะอนุกรรมการกํากับฯ กําหนด
- สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน ส.ค.2567 เริ่มเปิดลงทะเบียน กลุ่มร้านค้าสมาคมค้า ปลีก-ส่ง
- สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.ย.2567 เริ่มเปิดลงทะเบียน กลุ่มร้านค้าที่เป็นซัพพลายเออร์
- สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ต.ค. 2567 เปิดรับลงทะเบียนร้านค้าทั่วไป
- สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน พ.ย.2567 ปิดรับลงทะเบียนร้านค้า
- สัปดาห์ที่ 2-3 ของเดือน พ.ย.2567 ร้านค้าติดต่อหน่วยงาน ที่ เกี่ยวข้องปรับปรุง แก้ไขข้อมูล
- สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน พ.ย.2567 ปิดรับการปรับปรุง แก้ไขข้อมูลร้านค้า
- สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน พ.ย.2567 ปิดรับการปรับปรุง แก้ไขข้อมูลร้านค้า
- เดือน ธ.ค. 2567 เปิดระบบร้านค้ารับ การใช้จ่ายผ่านแอฟพลิเคชั่นทางรัฐผ่านระบบ Open Loop
เงื่อนไขผู้ที่ได้รับสิทธิดิจิทัลวอลเล็ต
- ประชาชนที่มีชื่อและที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
- อายุตั้งแต่ 16 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน (15 ก.ย. 2567)
- ไม่เป็นผู้ที่มีรายได้ 840,000 บาทต่อปี ปีภาษี 2566
- ไม่เป็นผู้ที่ถูกระงับสิทธิ หรือถูกเรียกเงินคืน ในมาตรการ/โครงการอื่น ๆ ของรัฐ
- ไม่เป็นผู้ฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการ/โครงการอื่น ๆ ของรัฐ
- ต้องไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกในเรือนจำ
- ไม่เป็นผู้ที่มีเงินฝากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมกันเกิน 500,000 บาท (ณ วันที่ 31 มี.ค. 67) โดยตรวจสอบข้อมูลเงินฝาก 6 ประเภท ได้แก
(1) เงินฝากกระแสรายวัน
(2) เงินฝากออมทรัพย์
(3) เงินฝากประจำ
(4) บัตรเงินฝาก
(5) ใบรับเงินฝาก
และ (6) ผลิตภัณฑ์เงินฝากในชื่อเรียกอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกับข้อ (1) – (5)
ทั้งนี้ เงินฝากดังกล่าวให้หมายความถึงเฉพาะเงินฝากที่อยู่ในรูปสกุลเงินบาทเท่านั้น และไม่รวมถึงเงินฝากในบัญชีร่วม และเป็นเงินฝาก
วันเวลาในการลงทะเบียน ดิจิทัลวอลเล็ต
1. ประชาชนทั่วไปที่มีโทรศัพท์มือถือ ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐ โดยไม่มีการจำกัดจำนวนประชาชนที่จะเข้าร่วมใช้สิทธิ์ในโครงการฯ ระหว่าง 1 ส.ค. – 15 ก.ย. 2567
2. ประชาชนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ จะให้มีการลงทะเบียนและยืนยันตัวตนผ่านช่องทางที่กำหนด ระหว่าง 16 ก.ย. – 15 ต.ค. 67
- ใช้จ่ายผ่านบัตรประชาชน ร้านค้าจะต้องเปิดแอปฯ ระหว่างการใช้จ่าย เพื่อยืนยันสถานที่ และต้องเจอหน้ากัน
- ร้านค้าจะต้องบันทึกภาพของผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของบัตรประชาชน
3. ร้านค้าลงทะเบียน 1 ต.ค. 67 เป็นต้นไป คาดว่าร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ จะมีไม่ต่ำกว่า 2 ล้านร้านค้า แบ่งเป็น
- กลุ่มนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำนวน 9.01 แสนร้านค้า
- กลุ่มร้านธงฟ้าและร้านอาหารธงฟ้า จำนวน 1.98 แสนร้านค้า
- กลุ่มร้านค้าโชห่วย หาบเร่ แผงลอย ร้านอาหาร และร้านตลาดนัด ต้องขึ้นทะเบียนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 4 แสนร้านค้า
- กลุ่มเกษตรกร วิสหากิจชุมชน สหกรณ์ ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 9.3 หมื่นร้านค้า
- กลุ่มห้างค้าส่ง-ค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมค้าปลีกไทย จำนวน 50,000 ร้านค้า
- กลุ่มผู้ผลิต ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าในเครือข่าย ร้านค้าในห้างสรรพสินค้า ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมค้าปลีกไทย จำนวน 5 แสนร้านค้า