COP 27 ถก“Cold Chain” เพื่ออาหารมั่นคง ลดสูญเสียผลิตผลคนเกษตร

COP 27 ถก“Cold Chain” เพื่ออาหารมั่นคง ลดสูญเสียผลิตผลคนเกษตร

ขณะนี้ทั่วโลกกำลังประชุมเรื่องสำคัญๆ ในหลายวงประชุมเพื่อหารือ หาทางออก และหาข้อสรุปร่วมกันในเรื่องต่างๆ สำหรับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในเวที COP27 มีประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านอาหารและอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเป็นหัวข้อสำคัญที่ได้รับการพูดถึง

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 หรือ COP27 ที่กำลังมีขึ้นที่เมืองชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์ ระหว่างวันที่ 6-18 พ.ย.2022นั้น หนึ่งในสาระสำคัญของการประชุมหัวข้อความมั่นคงด้านอาหารคือการพูดถึง รายงานเรื่อง “ห่วงโซ่ความเย็นของอาหาร”Cold Chain จัดทำโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ(UNEP) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) 

“ภาครัฐจากหลายประเทศ ต่างทำงานร่วมกันในระดับนานาชาติรวมถึงภาคอุตสาหกรรม ต่างก็มองว่า ถึงเวลาแล้วควรมีการลงทุนเพื่อความมั่นคงด้านอาหารอผ่านห่วงโซ่ความเย็นของอาหารอย่างยั่งยืน เพื่อลดความหิวโหย และปรับตัวเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง”

ที่ประชุมได้อ้างอิง จากรายงานฉบับดังกล่าวที่ชี้ว่า ปัญหานี้ต้องได้รับการแก้ไข เพราะ ประชากรโลกมากกว่า 3พันล้านคนไม่มีความสามารถใช้จ่ายสำหรับอาหารที่จะมาบริโภคเพื่อสุขภาพได้ เพราะไม่มีความสามารถรักษาความสดใหม่ของอาหาร เช่น ตู้เย็น ทำให้ผลผลิตหรืออาหารที่ควรจะนำไปบริโภคนั้น ต้องเน่าเสียไป ราว 526 ล้านตัน หรือคิดาเป็น สัดส่วน 12% ของอาหารทั่วโลก 

"ความสูญเสียที่กล่าวมานี้ หากทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีโครงสร้างพื้นฐานด้านห่วงโซความเย็นของอาหารเท่ากับประเทศพัฒนาแล้วก็จะหลีกเลี่ยงความสูญเสียจากการเน่าเสียของอาหารได้ถึง 144 ล้านตันในแต่ละปีได้ทีเดียว หากไม่ทำอะไร จะมีประชากรถึง2 พันล้านคน เผชิญความขาดแคลนอาหารในปี 2050"

โดยรายงานชี้ว่า ตามกรอบการทำงานโดย UNEP ร่วมกับผู้นำด้านการรักษาความเย็น ประกอบด้วยUNEP OzonAction Programme, and the Climate and Clean Air Coalition   ต่างชี้ว่า ประชาคมโลกต้องลงมือปฎิบัติต่อปัญหาโลกร้อนและวิกฤติอาหารทันที เพราะการให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนด้านอาหารผ่านห่วงโซ่ความเย็น จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน ทั้งการชะลอการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสร้างงาน การลดความยากจนและการสร้างความยืดหยุ่นได้

ในส่วนประเด็นการแก้ปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารกำลังก่อตัวขึ้น นั้นจากสถิติพบว่า จำนวนประชากรที่ได้รับผลจากความหิวโหยเพิ่มขึ้น 828 ล้านคน  ในปี 2021 หรือเพิ่มขึ้นถึง 46 ล้านคนเทียบปีต่อปี และเกือบ 3.1 พันล้านคนที่ไม่สามารถหาซื้ออาหารบริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีได้ ในปี 2020 ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นถึง 112 ล้านคนจากปี 2019 

ขณะที่ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 ได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง แต่ในปี2565 ปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครนได้ทำให้ราคาอาหารพื้นฐานเพิ่มขึ้น ซึ่งต่างก็เป็น“การคุกคามต่อความมั่นคงด้านอาหาร”ทั้งสิ้น ยังไม่รวมข้อมูลที่พบว่า ประมาณ 14% ของผลผลิตอาหารต้องสูญเสียไปก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภค อันเนื่องจากปัญหาการรักษาความเย็นทำให้คุณภาพ คุณค่าทางอาหาร ความปลอดภัยลดลง

หากมองในแง่รายได้ก็จะพบว่าหลังการเก็บเกี่ยวความสูญเสียผลผลิตต่างๆทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง470 ล้านดอลลาร์ สำหรับเกษตรกรการรายย่อย หรือรายได้หายไป 15% โดยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้น การลงทุนห่วงโซ่ความเย็นของอาหารไม่เพียงช่วยให้มีจำนวนและคุณภาพอาหารที่เพิ่มขึ้น แต่ยังจะช่วยลดความยากจนได้ของเกษตรกรได้อีกด้วย ขณะเดียวกันในด้านการลดโลกร้อนก็พบว่า อาหารที่เน่าเสียจะปล่อยก๊าซคาร์บอนประมณ 1 1 gigatonne of carbon dioxide (CO2) เทียบเท่าในปี 2017 หรือ ราว 2% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระทบทั่วโลก 

ในเวทีการประชุม COP27 ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกมาก ซึ่งเรื่องการแก้ปัญหาความมั่นคงด้านอาหารด้วยระบบFood Cold Chain  ก็เป็นอีกแนวทางที่ไม่อาจมองข้าม

สำหรับท่าทีของประเทศไทยต่อการประชุม COP27 ปีนี้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหารือกับ นายอันโตนิอู กุแตเรช  เลขาธิการสหประชาชาติ ในห้วงการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2565 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ) ในส่วนประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไทยเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วน และให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้อย่างมาก 

โดยในการประชุม COP27 ปีนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายผู้แทนเข้าร่วม เพื่อร่วมหารือแนวทางแก้ไขวิกฤตสำคัญนี้ รวมทั้งนำเสนอการดำเนินการของไทยตามความมุ่งมั่นที่ประกาศไว้ และได้พิสูจน์แล้วว่า ไทยยึดมั่นในพันธกรณีภายใต้ UNFCCC และความตกลงปารีส โดยไทยได้ส่ง NDC และยุทธศาสตร์ระยะยาวว่าด้วยการพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำที่สอดรับกับความมุ่งมั่นที่ประกาศไว้ที่ COP26 และคาดว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าที่กำหนดในบางประเด็น