"สาธารณูปโภคสีเขียว"สู่ เป้าหมายเน็ตซีโร่“เวทีCOP27”
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27 (COP27) ที่กำลังมีขึ้นที่เมือง
ชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์ เป็นการประชุมใหญ่เพื่อเป้าหมายการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
กระทบซึ่งนำไปสู่ปัญหาโลกร้อนจะเกิดโลกรวนเป็นผลกระทบถึงทุกคนในขณะนี้
การประุชมในหัวข้อ Decarbonization หรือ กระบวนการกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจนเหลือศูนย์ ได้มีการเรียกร้องในภาคอุตสาหกรรมให้ความสำคัญต่อการลดปล่อยก๊าซ ทั้งกลุ่มน้ำมัน ก๊าซ และปุ๋ยเคมี ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันนำเสนอแนวทางการทำงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับ
เดิร์ก ฟาน เอเวอร์คูเรนประธานคณะกรรมการบริหาร The IFEC Standard Foundation กล่าวว่าโครงสร้างพื้นฐาน ที่สามารถเห็นความแตกต่างระหว่างการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดกับกระบวนการรูปแบบเดิม
โดยกระบวนการสาธารณูปโภคสีเขียวคือโครงสร้างพื้นฐานด้านกระแสไฟฟ้าที่มีการปกป้องสิ่งแดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีมานานแล้วกว่า 10ปี เนื่องจากเป็นดีมานด์ที่ผู้บริโภคต้องการให้พลังงานไฟฟ้าที่ใช้อยู่ต้องไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมด้วย
“ลูกค้ามีความต้องการที่จะเลือกใช้พลังงานสะอาดหรือส่วนประกอบของพลังงานที่ช่วยในเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นดังนั้นสิ่งที่ท้าทายคือเราจะต้องดูในเรื่องของผลที่ตามมาในทุกด้าน เพื่อเป้าหมายสำคัญคือการลดการปล่อยคาร์บอน"
วฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่ระบุว่า ภายใต้กลยุทธ์ “Triple S” Sources Transformation คือการพัฒนาระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid Modernization) โดยเริ่มจากความสำคัญของการเชื่อมต่อกับระบบส่งไฟฟ้า(Gird scale) และมีระบบกักเก็บพลังงานถึง 1.5 หน่วย พลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped Storage) พลังน้ำแบบสูบกลับ ดีสำหรับประเทศไทยเพราะสามารถเคลื่อนย้ายพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวันและใช้ในตอนกลางคืน รวมถึงศูนย์พยากรณ์พลังงานหมุนเวียนที่จะช่วยให้เราสามารถรวางแผนการใช้พลังงานในอนาคต (Renewable forecast center)
Sink Co-Creation : การเพิ่มปริมาณการดูดซับกักเก็บคาร์บอน มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายในการส่งเสริมโครงการต่างๆ เช่น โครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ตรงกับมาตรฐานสากล
Support strategy กลไกการสนับสนุนโครงการชดเชยและหลีกเลี่ยงการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1.การคมนาคม (transportation) ที่ทำทั้งรัฐบาลและเอกชนในการใช้พลังงานสะอาด (Ecosystem) 2.อุตสาหกรรม เช่น ในอดีตเรามี โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 แต่ในปัจจุบันเราสามารถนำเอไอเข้ามาช่วยประหยัดพลังงาน เช่น smart city และ smart home 3.เครื่องจักร (mechanism) I-REC