ค่าใช้จ่ายจัดการน้ำครัวเรือน เงื่อนไขแห่งความร่วมมืออย่างยั่งยืน
ประเทศไทยได้มีการหารือโดยปลัดกระทรวงมหาดไทย และ IFC มีแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ เพื่อให้บริการน้ำที่มีคุณภาพ ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม
สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า สาธารณูปโภคพื้นฐาน ทั้งด้านการให้บริการไฟฟ้า โดยการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การให้บริการน้ำประปา โดยการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค และการจัดการน้ำเสีย โดยองค์การจัดการน้ำเสีย ซึ่งในปัจจุบัน ในด้านให้บริการน้ำประปา ประชาชนจะรับภาระในการชำระค่าบริการน้ำประปาเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงค่าบริหารจัดการน้ำเสีย จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลรับภาระในเรื่องดังกล่าวโดยงบประมาณกลางเพื่อบริหารจัดการ โดยในอนาคตหากบรรษัท IFC (International Finance Corporation )ร่วมให้การสนับสนุนในด้านดังกล่าว ครอบคลุมทั้งในแง่ของการบริหารจัดการน้ำ ระบบการกระจายน้ำ และท่อส่งน้ำได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ยิ่งขึ้น
ในด้านการบริหารจัดการน้ำเสีย ในขณะนี้ กระทรวงมหาดไทยได้วางกรอบแนวทางการบำบัดน้ำเสียไว้ 2 ส่วน ประกอบด้วย ระบบบำบัดน้ำเสียรวม และระบบบำบัดน้ำเสียย่อย ทั้งน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรม และน้ำเสียจากภาคครัวเรือน ซึ่งในส่วนของภาคอุตสาหกรรมสามารถใช้มาตรการทางกฎหมายบังคับให้มีการปล่อยน้ำเสียที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมอยู่แล้ว แต่ในส่วนน้ำเสียที่เกิดจากครัวเรือนจะมีลักษณะที่แตกต่างออกไป ซึ่งควบคุมได้ยากกว่า และน้ำเสียจากครัวเรือนมักจะมีไขมันและสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากการประกอบอาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ในครัวเรือน โดยได้มีการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่ครบทั้งวงจรตั้งแต่อ่างที่ใช้สำหรับล้าง ถังดักไขมันและสิ่งปฏิกูล และระบบบำบัดน้ำเสีย จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งจะช่วยบำบัดคุณภาพน้ำในเบื้องต้นก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ นำน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียรวมต่อไป
เจน หยวน ซู่ ผู้จัดการระดับประเทศ (สาขาราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา) บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ กล่าวว่า บริษัท International Finance Corporation หรือ IFC เป็นหน่วยงานเอกชนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศในเครือข่ายของกลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) กล่าวว่า การสนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานภาครัฐในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในการดำเนินโครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของภาคเอกชนในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ อีกทั้งยังมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของรัฐในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการเตรียมการ ด้านการวางโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการจัดเตรียมเอกสาร และด้านการดำเนินโครงการร่วมทุนกับภาคเอกชน (Public Private Partnership: PPP) ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกของบรรษัท IFC ตั้งแต่ได้มีการก่อตั้ง
ทั้งนี้เป็นโอกาศอันดีที่ประเทศไทยได้มีการพัฒนาการจัดการน้ำ และการจัดการน้ำเสียในอนาคตได้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดปัญหาน้ำเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นในตามชุมชนต่างๆหวังว่าภาครัฐจะส่งเสริมมาตราการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เพิ่มขึ้นในอนาคตต่อไป