“อุตฯไมซ์” จุดแข่งจุดขายที่มาตรฐาน ความยั่งยืนอย่างครบวงจร
อุตสาหกรรมไมซ์(MICE) คือ การจัดงานประชุม เดินทางเพื่อเป็นรางวัล สัมมนา และงานจัดแสดงสินค้า ซึ่งไทยมีศักยภาพที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เล่าว่า
ทีเส็บได้สนับสนุนประเทศไทยเสนอตัวเป็น เจ้าภาพจัดงาน Expo 2028 Phuket Thailand ซึ่งความร่วมมือกับคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน หรือ กกร. (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย,สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ สอท.และสมาคมธนาคารไทย)
"นับเป็นความร่วมมือสำคัญจากจัดเก็บภาษีกว่า 9,512 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานมากกว่า 113,439 ตำแหน่ง หากประเทศไทยได้เป็น เจ้าภาพจัดงานครั้งนี้ นับเป็นการจัดงานเอ็กซ์โประดับโลกครั้งแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้"
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายร่วมกับอีก 4 ประเทศ คือ สหรัฐ เซอร์เบีย สเปน และอาร์เจนตินา ซึ่งผู้แทนจากประเทศสมาชิก องค์การนิทรรศการนานาชาติ (Bureau International des Expositions: BIE) 171 ประเทศ จะคัดเลือกประเทศเจ้าภาพการจัดงาน
โดยทีเส็บนั้นได้มีแนวทางการจัดงานแบบยั่งยืนที่พัฒนามา 13 ปี เรียกว่า Green meeting มีการทำมาตรฐานต่างๆ ให้กับโรงแรมที่มีห้องประชุม และการจัดประชุม โดยใช้สิ่งของที่จัดงานไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม การทำเรื่องของความยั่งยืนไม่ใช่แค่เรื่องของการทำความดีแต่เพียงอย่างเดียวแต่เป็นโอกาสทางธุรกิจ งานต่างๆ อยู่ในเรื่องของความยั่งยืนหรือไม่ อย่างเช่นเรื่องการจัดการอาหาร ต้องใช้อาหารท้องถิ่น และสินค้าของชุมชนช่วยลดเรื่องของคาร์บอน
โดยตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างประเทศ 70% มีความสามารถในการแข่งขัน ทีเส็บต้องปรับตัว และใช้เป็นจุดแข็งในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ และอยู่รอดในอนาคต
ทีเส็บเองได้เป็น Sustainability partner วัสดุที่ใช้จัดงานต้องเป็นวัสดุรักษ์โลก และไม่ใช้พลาสติก การจัดงานคำนวณเรื่องของพลังงานลดคาร์บอนได้เท่าไร การใช้กระดาษให้น้อยลง ลดขยะจากอาหาร คำนวณปริมาณคนให้เพียงพอต่ออาหารงดการเสิร์ฟบุฟเฟ่ต์ให้น้อยลง การทำมาตรฐานให้เท่ากับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้ใหญ่หรือคนพิการให้เท่าเทียมกัน และมีส่วนร่วมช่วยเหลือชุมชน โดยมาตรฐานของทีเส็บทำให้การจัดงานของประเทศไทย ก้าวกระโดดไปยังเวทีระดับโลก ส่งผลให้ประเทศไทยมีขีดจำกัดความสามารถที่สูงขึ้นอีกด้วย
แนวคิดการจัดงานนั้นคือ Future of Life เน้นสื่อสารถึงการพัฒนาปัจจัยที่จะส่งผลต่ออนาคตที่ยั่งยืน ใน 3 ด้าน คือ People, Planet และ Prosperity ซึ่งเป็นที่มาของการออกแบบ Subtheme ที่จะเป็นแกนให้ ประเทศต่างๆ สามารถออกแบบนิทรรศการของประเทศตนเองได้ ได้แก่ Subthere ที่ 1 คือ Life & Wellbeing เน้นการนำเสนอการพัฒนาในมิติของมนุษย์ (People) โดย นำเสนอผ่านแนวทาง integration of technology and wisdom คือ การผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญา ท้องถิ่นจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อการดูแลสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก
Subtheme ที่ 2 คือ Human & Nature เน้นเรื่องการอยู่อย่างสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ นำเสนอ ผ่านรูปแบบการสร้างความร่วมมือในทุกระดับ (Partnership and Collaboration) ร่วมกันหาทางออกเพื่อหยุดยั้ง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และร่วมสร้างการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน Subtheme ที่ 3 คือ Mutual Prosperity เน้นการกระจายโอกาส สนับสนุนการเข้าถึงระบบสาธารณูปโภค ขั้นพื้นฐาน พลังงานที่ยั่งยืน นำเสนอผ่านแนวทางในการลดช่องว่าง (Bridge the gap) เพิ่มความร่วมมือระหว่าง ประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา และความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเอง เพื่อสร้างสังคม ที่เปิดกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
สนั่น อังอุบลกุล ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) และประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ระบุว่า กกร.พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนประเทศไทย และจังหวัดภูเก็ต ในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน Expo 2028 Phuket Thailand ผ่านการสร้างการรับรู้ และขอความร่วมมือไปยังเครือข่ายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ภายใต้แนวคิด Connect the Dots รวมพลังในการเชื่อมต่อเพื่อสร้างการรับรู้ให้ บรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นรูปธรรม
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์