ไอเดีย“AZEC”ของญี่ปุ่นหนุน แผน"ลดคาร์บอน"บริบทใหม่ในเอเชีย
ความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์เป็นบันไดขั้นที่ 1 ที่จะลดปัญหาโลกร้อนแต่หลังความมุ่งมั่นที่แต่ละประเทศประกาศเจตนารมณ์มาเมื่อหลายปีมาแล้วนั้น คือการลงมือทำ แต่วิธีการควรเป็นอย่างไร
ข้อริเริ่มโดยรัฐบาลญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Asia Zero Emission Community (AZEC) นั้นน่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับการลงมือปฏิบัติ
“ญี่ปุ่น”พยายามที่จะทำเจตนารมณ์ให้เป็นรูปธรรมผ่านเป็นแพลตฟอร์มและข้อตกลงในแถลงการณ์ร่วมของ AZEC ว่าด้วย 1. ยกระดับความร่วมมือไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน/การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ ในขณะที่รับประกันความมั่นคงทางพลังงาน 2. การส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานในขณะที่บรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ 3. การตระหนักว่ามีวิถีทางที่หลากหลายและปฏิบัติได้จริงสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน/การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละประเทศ
โคบายาชิ อิซุรุ รองผู้บัญชาการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ หน่วยงานเพื่อทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI หรือ เมติ) ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับกรุงเทพธุรกิจ ในงาน International Energy AZEC (Asia Zero Emission Community) Workshop จัดโดยเจโทร กรุงเทพฯ ว่า ประโยชน์ของโครงการ AZEC ต่อประเทศไทยคือการส่งเสริมนโยบายของไทยโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าประเทศไทยต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมการทำงานด้านนี้
“ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปต่างอุดมไปด้วยพลังงานหมุนเวียน แนวทางนี้เหมาะสำหรับประเทศไทยและหรือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สะอาด นอกจากนี้ แต่ศักยภาพของประเทศไทยและหรือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงในด้านพลังงานหมุนเวียนยังมีน้อยเมื่อเทียบกับยุโรปและสหรัฐอเมริกา”
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยกำลังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างเชื้อเพลิงฟอสซิลค่อนข้างใหญ่และยากที่จะเลิกใช้ ในกรณีของ AZEC มีวิธีการค่อนข้างหลากหลายที่จะเข้าใกล้พลังงานหมุนเวียน และได้พยายามคำนึงถึงความยากลำบากและความท้าทายที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ด้วย
สำหรับประเทศไทยมีศักยภาพของแสงแดด แต่ก็ยังมีปัญหาคือปริมาณน้ำฝน เมื่อฝนตกมากในภาคใต้ ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์จะอยู่ที่ 10-20% เมื่อเทียบกับวันที่มีแดด หากฝนตกหนัก หากคุณไม่มีกริดขนาดใหญ่ ต้องมีการสำรองพลังงานจำนวนมาก
ประเทศไทยกำลังใช้ประโยชน์จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขณะเดียวกันการผลิตก๊าซธรรมชาติก็ทำได้น้อยลง และต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งมีราคาแพง ดังนั้น วิธีลดคาร์บอนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ประเทศไทยต้องพิจารณาปรับใช้จากกรอบของ AZEC คือการทำงานร่วมกันเพื่อพิจารณาวิธีลดคาร์อนจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เหมาะสมกับสภาวะของประเทศนั้นๆที่เผชิญอยู่
“สิ่งที่ญี่ปุ่นต้องการเข้าใกล้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ AZEC ต้องการเน้นเรื่องการลดคาร์บอนแต่ไม่ได้บอกว่าต้องเลิกใช้โรงไฟฟ้าถ่านหิน ก่อนหน้านี้ ประเทศส่วนใหญ่ไม่พยายามสนับสนุนกระบวนการนี้ แต่เพียงบอกว่าหยุด นี่คือความแตกต่างระหว่าง AZEC และกรอบการสนับสนุนการลดคาร์บอนประเภทอื่นๆ และเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับประเทศในเอเชีย”
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขณะที่ศักยภาพการผลิตพลังงานหมุนเวียนยังมีอยู่น้อย เมื่อเทียบกับฝั่งสหรัฐหรือยุโรป
ขณะที่ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีข้อจำกัด มีระบบกริดที่ค่อนข้างเล็กและเชื่อมต่อกันน้อย บวกกับปริมาณน้ำฝนที่ดีทำให้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขาดช่วง ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และอุตสาหกรรมการเกษตรและประชากรจำนวนมากสร้างความยากลำบากในการหาพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับโฮสต์โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่
ในกรณีของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องออกแบบเส้นทางของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน แทนที่จะทำตามแนวทางที่แนะนำคือเลิกใช้ Coal Fired Power Plant (CFPS)ให้เร็วที่สุดและแทนที่ด้วยพลังงานหมุนเวียน หลักการเหล่านี้จะสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยสำหรับประเทศไทยและประเทศในเอเชียฯในการพัฒนาเส้นทางที่หลากหลายและปฏิบัติได้ของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
ญี่ปุ่นยังใช้หลักการสามประการข้างต้นของ AZEC เพื่อออกแบบนโยบายการเปลี่ยนผ่านพลังงานของตนเอง เกี่ยวกับแนวทางของญี่ปุ่นต่อ Nationally Determined Contribution : NDC ต่อการลด GHG ลง 46% ในปี 2573 เมื่อเทียบกับระดับปี 2556 กำลังพยายามทำในภาคการผลิตไฟฟ้าสนับสนุนการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593
“เราคิดว่านวัตกรรมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ จึงพัฒนากองทุนนวัตกรรมสีเขียวมูลค่า 2 ล้านล้านเยนเพื่อสนับสนุนบริษัทภาคเอกชนในการวิจัยและพัฒนาและการสาธิตเทคโนโลยีการลดคาร์บอน ซึ่งสามารถแบ่งปันกับประเทศสมาชิก AZEC ได้ในอนาคต”
การลดคาร์บอนและการก้าวสู่สังคมNet-Zero แม้จะเป็นเป้าหมายเดียวกันแต่ด้านการปฎิบัติการไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการเดียวกันซึ่งข้อริเริ่ม AZECกำลังนำเสนอรูปแบบที่แตกต่างแต่เหมาะสมแต่ละสังคม