“ดัชนีการค้าอย่างยั่งยืน” ไทยปี 66 ร่วง IMD ชี้ ศก.ชะลอตัว โจทย์ใหญ่เร่งแก้ไข
ความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มมูลค่าการค้าและการให้ความสำคัญกับความยั่งยืนหากมองอย่างผิวเผินก็คงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน แต่ผลของสองสิ่งนี้นำมาซึ่งประโยชน์หลายสิ่ง เช่น การมีภาพรวมทางสังคมที่ดี การมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี
ก็จะนำไปสุ่การสร้างพันธมิตรทางการค้าที่ดีตามมาด้วย เพราะโลกการค้าตอนนี้ต้องการการค้าที่เป็นธรรมและเท่าเทียม นำไปสุ่การกำหนดมาตรฐานเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งเดียวกันที่ทั่วโลกต้องการและทั่วโลกก็ต้องร่วมมือกันลงมือทำด้วย
สถาบันด้านการจัดการและจัดอันดับการแข่งขันโลก"International Institute for Management Development(IMD) " เผยแพร่ผลการจัดอันดับ“ดัชนี The Hinrich-IMD Sustainable Trade Index 2023 ” ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง IMD และThe Hinrich Foundation พบว่า ประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องการค้าและความยั่งยืนได้รับประโยชน์จากผลการลงมือลงแรงทำในเรื่องเหล่านี้แล้ว ด้วยการได้รับค่าดัชนีใน 3 ลำดับแรกปีนี้ได้แก่ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร
“ดัชนีThe Hinrich-IMD Sustainable Trade Indexนี้ สามารถบอกความเข้มแข็งและอ่อนแอในแต่ละพื้นที่เศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย และให้แนวทางการมุ่งสู่อนาคตที่มีเรื่องการค้าและความยั่งยืนที่ควบคู่กันไป ซึ่งผลที่ได้ไม่ใช่แค่การแข่งขันเพื่อผลประโยชน์เท่านั้นแต่เป็นการเสริมสร้างกำลังเพื่อขับเคลื่อนสู่ความเจริญรุ่งเรืองของโลกโดยรวมด้วย”
สำหรับ ดัชนีการค้าอย่างยั่งยืน ปี 2566 หรือ The 2023 edition of the annual Hinrich-IMD Sustainable Trade Index (STI) มีเป้าหมายเพื่อเป็นกุญแจสำคัญที่จะยกระดับการพัฒนาในประชาคมโลกหลังการเกิดโรคระบาด และต้องเผชิญกับปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงปัจจัยที่จะนำไปสู่ ปรากฎการณ์ “Slowbalisation” หรือ การปรับตัวภายใต้การชะลอตัวของกระแสโลกาภิวัฒน์
“นักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไป มองว่าการปฎิรูปการค้าบนเงื่อนไขแห่งการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และความอ่อนแอทางการเมืองและนโยบายต่างๆที่จะสนับสนุนให้มาตรการที่จะเปิดเสรีการค้าท่ามกลางความดึงเครียดของภูมิรัฐศาสตร์นั้น เป็นเหมือนการรับมือกับทิศทางโลกที่กระจัดกระจายกันออกไป ทำให้ค่าดัชนี STI บอกถึงความเสื่อมในหลายประเทศใช้มาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการค้าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”รายงานระบุ
ทั้งนี้ ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในโลกซึ่งควรจะมีบทบาทนำในการทวนกระแสการชะลอตัวของโลกาภิวัฒน์ กลับทำตัวเป็นผู้ขึ้นภาษี กำหนดมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี รวมถึงการชะลอเรื่องของการค้าเสรี เหล่านี้คือความท้าทายที่ประเทศต่างๆต้องจัดการกับเศรษฐกิจภายในโดยใช้เครื่องมือด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มาใช้อย่างเหมาะสมเพื่อให้การค้าสามารถเติบโตไปได้พร้อมกับความยั่งยืน
สำหรับดัชนีนี้เป็นการนำเศรษฐกิจ 30 ประเทศมาศึกษาเพื่อกำหนดเป็นค่าดัชนี โดยมี 2 มีนิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร ทำคะแนนได้ดี เป็นอันดับหนึ่ง ขณะที่สิงคโปร์ก็โดดจากลำดับที่5 มาอยู่ที่ลำดับที่3แต่ในทางกลับกัน ญี่ปุ่น กลับตกไปอยู่ในลำดับที่ 8 จากก่อนหน้านั้นที่อยู่ลำดับที่ 4
รายงานระบุถึง ประเทศไทยว่ามีค่า ดัชนี STI 2023 อยู่ลำดับที่ 17 ซึ่งตกลงมา 2 อันดับ จากปีก่อนหน้า ได้ 50.1 คะแนน จากจำนวนเต็ม 100 คะแนนหากแบ่งเป็นด้านต่างๆ ซึ่งแบ่งไว้ 3 เสา ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ไทยอยู่ลำดับที่ 14 ได้ 62.3 คะแนน ด้านสังคม ลำดับที่ 12 ได้54.3 คะแนน ด้านสิ่งแวดล้อม ลำดับที่ 24 ได้ 53.2 คะแนน
“หากลงลึกไปที่เสาด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า ส่วนที่ไทยได้คะแนนสูงสุดคือ การแบ่งปันทรัพยากรในการค้า(%) อยู่ในลำดับที่ 11 เมื่อปี 2020 ได้ 85.68 คะแนน รองลงมา คือ ด้านรอยเท้านิเวศ หรือ ecological footprint อยู่ในลำดับที่ 13 เม่อปี 2018 ได้ 78.49 คะแนน ส่วนเรื่องพลังงานหมุนเวียน ได้อยู่ลำดับที่ 13 เมื่อปี 2020 และได้เพียง 23.94คะแนน” รายงานระบุ
แม้ไทยจะอยู่ในลำดับที่ไม่สูงมากและมีคะแนนในระดับกลางๆ แต่พบว่าภาคเอกชนไทยมีการพัฒนาและมุ่งไปสู่ความยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญ
ทวิโรจน์ ทรงกำพล ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาองค์กร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจะก้าวเป็นธุรกิจที่ยังยืนนั้นต้องเริ่มต้นจากซัพพลายเชนเป็นส่วนสำคัญที่จะนำบริษัทไปสู่ความยั่งยืนได้และต้องคำนึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม เช่น การแยกขยะบนเครื่องบินที่แม้จะดูเหมือนง่ายแต่การแยกขยะในแต่ละกลุ่มเป็นเรื่องที่ยากและต้องนำขยะเหล่านั้นมาต่อยอด
“ขวดน้ำ PET ของการบินไทยไปต่อยอด นำไปผสมกับเส้นไหมไทย ได้ชุดบริการของเครื่องบินที่คงทนมากขึ้น สามารถนำไปซักด้วยเครื่องซักผ้าได้ซึ่งต่างจากเส้นไหมทั่วไป ถึงแม้ต้นทุนจะไม่ต่างกันมากก็ตาม แต่ได้ประสิทธิภาพของชุดที่ทนกว่าดูแลง่ายกว่า ไม่ต้องเสียเวลาส่งซักแห้งและรักสิ่งแวดล้อมมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด”
สำหรับดัชนีSTI วิเคราะห์จากตัวชี้วัด 71 รายการ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือเศรษฐกิจ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสังคมความมั่นคงทางการเมือง ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ความสำเร็จการศึกษาชั้นสูง ด้านสิ่งแวดลอ้ม มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่สูง ประสิทธิภาพการจัดการความท้าทาย เช่น น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ คาร์บอน การปฎิรูปพลังงาน สำหรับดัชนี STI กำหนดทำปีละ1 ครั้งทำมาแล้ว 3 ปี