ความร่วมมือธุรกิจเพื่อความยั่งยืนไทย-ญี่ปุ่น สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
เจโทร กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EECO) ได้ให้การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายทั้งสองประเทศ ที่ต้องการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน
นายคุโรดะ จุน ประธาน เจโทร กรุงเทพฯ กล่าวว่าความพยายามที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนเป็นagendaร่วมของโลกและความสัมพันธ์และความร่วมมือของทั้ง 2 ประเทศกำลังเปลี่ยนไปในรูปแบบใหม่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของทั้ง 2 ประเทศ เจโทร กรุงเทพฯได้ลงนามและปรับเปลี่ยนบันทึกความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หรือ บีโอไอ และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EECO) เมื่อเดือนมกราคม 2565
มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการลงทุนโดยเฉพาะการลงทุนใหม่ๆทางด้านการลดคาร์บอน (decarbonization) digitalization และเศรษฐกิจ BCG โดยสนับสนุนธุรกิจยั่งยืนเพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อสังคมที่ยั่งยืนที่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนและนโยบายของแต่ละประเทศ เพื่อสร้างโอกาสสำหรับบริษัทญี่ปุ่นและไทยคว้าโอกาสธุรกิจใหม่ๆ ดำเนินธุรกิจเชิงรุกต่อความท้าทายใหม่และสร้างความร่วมมือเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนระหว่างประเทศญี่ปุ่น-ไทยสู่อาเซียน
นายนฤตม์ เทอดสถรีศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกล่าวว่า สัมมนาออนไลน์ แนวทางความร่วมมือทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืนระหว่างไทยและญี่ปุ่น เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนว่า ต่อทิศทางความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและไทยในอนาคต ในเรื่อง “Sustainable Business for Carbon Neutrality” ซึ่งเป็นการนําเสนอผลงานความร่วมมือ ทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืน และการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ระหว่างไทยและญี่ปุ่นที่ได้ ดําเนินการด้วยกันมาอย่างต่อเนื่อง และในงานนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจ ซึ่งจะ ก่อใหเ้กิดความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วย
ที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้นําในการจัดการปัญหาสภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะการประกาศ ยุทธศาสตร์ Green Growth Strategy หรือ GGS ซึ่งกําหนด Growth Sector 14 สาขา ที่มี ศักยภาพ ในการผลักดันสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 สอดคล้องกับที่รัฐบาล ไทย กําลังดําเนินนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม Bio, Circular, Green Economy หรือ BCG เพื่อนําพาประเทศไทย ไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และ Net Zero Emission ภายในปี 2065
ดร. จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า ส่วนสำคัญคือความร่วมมือภาคเอกชนของทั้งสองประเทศในการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี คาร์บอนต่ำ และการเปลี่ยนผ่านพลังงาน โดยสอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทยที่กาหนด บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และญี่ปุ่น ที่มีเป้าหมายในการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 และพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือEECมีเป้าหมายเพื่อยกระดับ ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยสาขา Decarbonization ถือเป็นหนึ่งแกนอุตสาหกรรมเป้าหมายสาคัญ ที่สนับสนุนการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนในภาคการผลิต โดยเฉพาะเทคโนโลยีคาร์บอนตำ่ และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน
รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ จะเป็นแรงผลักดันให้สามารถ บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ในอนาคต