ทส. สรุปการประชุม COP28 พร้อมขับเคลื่อนไทยสู่ความยั่งยืน

ทส. สรุปการประชุม COP28 พร้อมขับเคลื่อนไทยสู่ความยั่งยืน

กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่28 (COP28) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ COP28 Debrief ที่ผ่านมา โดย ทส. สรุปภาพรวมของการประชุม COP28 และแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทย ในระยะต่อไปเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืน

นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวในงานสัมมนา COP28 Debrief “Unite. Act. Deliver.” ว่ามีการสรุปภาพรวมของการประชุม COP28 และแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทย ในระยะต่อไปโดยมีสาระสำคัญดังนี้

1.Global Stocktake พิจารณาผล GST ครั้งแรก ยกระดับการดำเนินการทั้งภายใน และระหว่างประเทศ หรือการประเมินสถานการณ์ และการดำเนินงานระดับโลก ซึ่งผลการประเมินพบว่าการทำงานยังดีไม่พอที่จะทำให้อุณหภูมิได้มากสุดแค่ 2.6 องศา ในขณะที่เป้าหมายคือ 1.5 องศา ถ้าจะบรรลุเป้าหมาย 2050 จะต้องลดก๊าซเรือนกระจกลง 43% ในปี 2030 และต้องลด 60%ในปี 2035 ซึ่งประเทศไทย จะลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 ลง 30% 

2.Mitigation เร่งการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม

- เพิ่มสัดส่วน พลังงานหมุนเวียน (RE) 3 เท่า เพิ่ม Emission Factor (EF) 2 เท่า

- ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

 

 

3.Adaptation จัดทำ UAE Framework for Global Climate ResilienceUAE 7 สาขาสำคัญ อย่าง การเกษตร การจัดการน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพ การท่องเที่ยว การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ รวมถึงทุกประเทศต้องมีระบบเตือนภัย และการให้บริการข้อมูลภูมิอากาศ ที่ครอบคลุมภายในปี 2027 

4.Finance เร่งติดตามความก้าวหน้าการสนับสนุนของประเทศพัฒนาแล้วตามเป้าหมาย 1 แสนล้านดอลลาร์/ปี จนถึงปี 2025 

5.Loss and Damage โดยมีเงินสนับสนุน Loss and Damage Fund 792 ล้านดอลลาร์ เริ่มดำเนินการในปี 2024 

6. Just Transition คำนึงถึงการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมของประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะจากพลังงานฟอสซิล ไปเป็นพลังงานสีเขียว

7. Technology ส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีในการลดก๊าซเรือนกระจก GHG

 

8. Related Issue

- ด้านสุขภาพ  รวมถึงวิกฤติสุขภาพ และวิกฤติจากสภาพภูมิอากาศ

- ด้านเกษตรกรรม ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมปฏิญญาว่าด้วยการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ระบบอาหารที่ฟื้นตัวได้ และการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ > ACE /การสร้างขีดความสามารถ / เพศ และสร้างเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม

รวมถึงมีแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยให้สู่ความเป็นการทางคาร์บอน ดังนี้

1.สื่อสารกับทุกภาคส่วน สร้างการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน

2.ตั้งเป้า NDC Action Plan 2021-2030

3.เร่งจัดทำ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยฟังเสียงจากประชาชน ภาครัฐ และเอกชน

4.พัฒนาศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้มากขึ้น

5.พัฒนาศูนย์ข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

6.พัฒนาระบบติดตามการดำเนินงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์