การแข่งขันทางการค้า กับการขับเคลื่อน "Green Economy"
ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อการค้าทั้งไทยและทั่วโลก โดยแนวโน้มผู้ประกอบการธุรกิจสีเขียวมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างกว้างขวางในหลายธุรกิจ การมีนโยบายต่างๆจากหลายๆภาคที่จะมารองรับธุรกิจเหล่านี้จะทำให้เกิดความยั่งยืนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
KEY
POINTS
- ปัจจุบันเรากําลังใช้ทรัพยากรของโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 60% ซึ่ง "เกิน" ความสามารถของโลก
- การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสินค้าสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว ส่งเสริมให้เกิดตลาด อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
- การสนับสนุนการแข่งขันการสื่อสารให้ความรู้หรือออกแนวปฏิบัติ ในเรื่องของ Green Agreement นำมาตรฐานมากีดกันในด้าน Green Cartel และการฟอกเขียว รวมถึงศึกษาติดตามและพิจารณาผลกระทบที่มีต่อการแข่งขันในด้านต่างๆ
มนยศ วรรธนะภูติ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า กล่าวในงาน เวทีผู้นำ “Climate Action Leaders Forum รุ่น 3” หรือ CAL Forum #3 ว่า ปัจจุบันเรากําลังใช้ทรัพยากรของโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 60% กว่าที่มันสามารถสร้างใหม่ได้ทุกปี ภายในปี 2050 ด้วยจํานวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและ ส่งผลให้การบริโภคเพิ่มขึ้น "เกิน" ความสามารถของโลก ซึ่งเห็นได้ชัดว่ายังไม่ยั่งยืนมากพอ
การส่งเสริมตลาดและพลวัตของการแข่งขันใน Green Economy
การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสินค้าสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว ส่งเสริมให้เกิดตลาด อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา คือ 1.โครงสร้างพื้นฐานมีต้นทุนสูง และอาจมีการผูกขาดโดยธรรมชาติ 2.ลักษณะธุรกิจ Green Economy มักจะมีความเชื่อมโยงระหว่างกัน 3.มีการตกลงความร่วมมือระหว่างกันในการพัฒนานวัตกรรม 4.เน้นรูปแบบธุรกิจใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งการสนับสนุน Green Economy ด้วยนโยบายแข่งขัน การกำกับการแข่งขันในตลาด Green Economy ผ่าน พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ดังนี้ 1.ป้องกันพฤติกรรม การกีดกันการแข่งขัน 2.ควบคุมการใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบ 3.ดูแลการควบรวมกิจการ (M&A) ที่ส่งผลต่อโครงสร้างตลาด 4.ห้ามปฎิบัติทางการค้า
ทั้งนี้การสนับสนุนในเรื่องของการกำกับตลาดให้มีการแข่งขันที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุน Green Economy และพัฒนาไปสู่นวัตกรรมที่ดีขึ้น และมีราคาลดลง (Productive Efficiency) นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดประสิทธิภาพในเชิงพลวัต (Dynamic Efficiency) และการส่งเสริมนวัตกรรม และธุรกิจรูปแบบใหม่ อย่าง Up Cycling การยืดอายุผลิตภัณฑ์ การแบ่งปันทรัพยากรและสินค้าที่เป็นแบบบริการ
นโยบายรัฐในการส่งเสริม Green Economy
สำนักงานการแข่งขันทางการค้า ยังมีบทบาทในการตรวจสอบและให้ความเห็นนโยบายรัฐในการส่งเสริม Green Economy ว่าจะไม่เป็นการขัดขวางหรือกีดกันการแข่งขัน หรือการกีดกันมิให้เกิดนวัตกรรม ดังนี้ 1.ศึกษาติดตาม (Market Monitoring) พฤติกรรมการประกอบธุรกิจ 2.ความร่วมมือระหว่างธุรกิจ (Pro-competitive Collaboration VS Green Cartels) 3.การสร้างมาตรฐาน (Green Agreement VS Anti-Competitive) 4.ป้องกันการควบรวมกิจการ (Merger Control)
ในกรณีการควบรวมธุรกิจ ต้องพิจารณาทฤษฎีความเสียหาย (Theories of Harm) ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อมิให้การรวมธุรกิจทำให้การแข่งขันน้อยลง ดังนี้ 1.ผลกระทบฝ่ายเดียวในผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง 2.เพิ่มอำนาจผู้ซื้อ 3.ผลกระทบของนวัตกรรมฝ่ายเดียว 4.การได้มาของ Green Killer 5.Vertical Effects
สนับสนุนการแข่งขันการสื่อสารให้ความรู้
ทั้งนี้การสนับสนุนการแข่งขันการสื่อสารให้ความรู้หรือออกแนวปฏิบัติ ในเรื่องของ Green Agreement นำมาตรฐานมากีดกันในด้าน Green Cartel และการฟอกเขียว รวมถึงศึกษาติดตาม และพิจารณาผลกระทบที่มีต่อการแข่งขันในด้านต่างๆ ในด้านต่างๆเช่น 1.ผลประโยชน์ของผู้บริโภค 2.ความจำเป็นในการสร้างประโยชน์ 3.ผลกระทบทางบวก 4.การแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันสูง
โดยในอนาคตจะมีการส่งเสริมนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดสีเขียวการส่งเสริมการแข่งขันในตลาด รวมถึงการสร้างความโปร่งใสและเปิดเผยข้อมูลในตลาด ปัองกันพฤติกรรมฟอกเขียว ส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีมาตรการจูงใจ รวมทั้งมีนโยบายจากภาครัฐที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
ดังนั้น ทิศทางการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผู้ทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือ SME ก็ควรเร่งปรับตัว ซึ่งบทบาทของภาครัฐทำหน้าที่สนับสนุนเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ไม่ใช่ความท้าทายแต่จะกลายเป็นโอกาสทางการค้าใหม่ของไทยต่อไป