'กระทรวงพลังงาน' ย้ำนโยบายพลังงานไทยสู่พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน
กระทรวงพลังงาน ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน กำกับการอนุรักษ์พลังงาน จัดหาแหล่งพลังงานความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ และยั่งยืน
ชำนาญ กายประสิทธิ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวในงาน A Call to Action Go Green 2024: The Ambition of Thailand ในหัวข้อ การบรรยายพิเศษ : Green Energy Strategy ยุทธศาสตร์พลังงานสีเขียว จัดโดย กรุงเทพธุรกิจ ว่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน รับผิดชอบในการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน กำกับการอนุรักษ์พลังงาน จัดหาแหล่งพลังงาน พัฒนาทางเลือกการใช้พลังงานแบบผสมผสาน และเผยแพร่เทคโนโลยีด้านพลังงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่องเพื่อสนองตอบความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ ด้วยต้นทุน ที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
โดยการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน ค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในปี 2566 = 7.64 เป้าหมาย การใช้พลังงาน (EI) ลง 30% ในปี พ.ศ.2580 เมื่อเทียบกับ ปีฐาน พ.ศ.2553 โดยไตรมาส 1-4 ปี 2566 การใช้พลังงานขั้นสุดท้าย 83,068 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 10,877,194 ล้านบาท รวมถึงความเข้มข้นการใช้พลังงาน 7.64 พันต้นเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อพันล้านบาท
ซึ่งทิศทางนโยบายพลังงานไทย คือ ยึดหลักแผนพลังงานชาติ (Nation Energy Plan)
1.สร้างประโยชน์ให้กับประชาชน
2.เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ
3.ขับเคลื่อนพลังงานไทยให้สอดคล้องกับทิศทางพลังงานโลก
ทั้งนี้ยัง เพิ่มสัดส่วนกำลัง การผลิตไฟฟ้าใหม่ จากพลังงานหมุนเวียน ไม่น้อยกว่า 50% และพิจารณาร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน ใช้นโยบาย EV 30@30 ปรับเปลี่ยนการใช้ พลังงานภาคขนส่ง เป็นพลังงานไฟฟ้าสีเขียว ผ่านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และปรับเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้พลังงานมากกว่า 30%
นอกจากนี้ ด้านไฟฟ้านั้นมีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
1.เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าใหม่ด้วยพลังงานหมุนเวียน
2.ปรับลดสัดส่วนการผลิตด้วยพลังงาน ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง
3.พัฒนาเทคโนโลยี CCUS
4.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้ายุคใหม่ (Grid Modernization)
5.ผลิตพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐาน แบบกระจายศูนย์ที่มีความยืดหยุ่น
6.เปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานมาเป็นพลังงานไฟฟ้าจากเทคโนโลยี และนวัตกรรมคาร์บอนต่ำ
เป้าหมายการส่งเสริมไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ในปี พ.ศ.2580 เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจาก RE 3 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2566 และเพิ่มขึ้น 1.6 เท่า เมื่อเทียบกับ AEDP 2018 โดยใช้พลังงานหมุนเวียน 48% เชื้อเพลิงฟอสซิล 52% รวมเป็น 292,818 GWh
ปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมพลังงานไฟฟ้าจาก RE
1. ความมั่นคงด้านพลังงาน ในการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน ที่มีความไม่แน่นอนในการผลิต ส่งผล
กระทบต่อความมั่นคงของระบบ ไฟฟ้า แนวทางแก้ปัญหา ปรับโครงสร้างกิจการพลังงานตามแนวทาง 4D1E
2.ความสามารถในการจ่าย ด้วยต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหลายชนิดยังคงสูงกว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล วิธีแก้คือ การพัฒนากลไก/เครื่องมือทางการเงิน รวมถึงจัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ ลงทุนด้านพลังงานสีเขียว
3.นโยบาย และข้อบังคับด้วยข้อจำกัดของนโยบาย และกฎหมาย/กฎระเบียบ ในการส่งเสริมพลังงานสีเขียวด้วยปรับปรุงกฎระเบียบให้สามารถรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน
4.ทักษะ และความสามารถ ขึ้นอยู่กับความรู้ของบุคลากร ด้านพลังงานหมุนเวียน ยังไม่เพียงพอต้องมีการ สร้างความตระหนักรู้ ยกระดับองค์ความรู้ และสร้างเสริมขีดความสามารถของบุคลากรด้านพลังงานให้มากขึ้นสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่บุคลากรด้านพลังงานเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ และพร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่าน
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์