TPIPP ชี้ธุรกิจสีเขียว 'ยุโรป-จีน' ไปไกลเพราะ Carbon Tax
“TPIPP” ชี้เมกะเทรนด์มุ่งสู่พลังงานสะอาด เดินหน้าโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เลิกใช้ถ่านหิน ชี้เก็บภาษีคาร์บอนกลไกเร่งสู่เน็ตซีโร่
นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP กล่าวในงานสัมนาหุ้นไทย 2024 with the Dragon Fire “Discover new opportunities” หัวข้อ “Discover new opportunities ทลายกำแพงการลงทุน” จัดโดยฐานเศรษฐกิจ ว่า เมกะเทนรด์ของโลกในปัจจุบันคือเรื่องของ Climate Change ในสถาการณ์ที่โลกกำลังร้อนขึ้นและมีขยะมีมากขึ้น
และเมื่อค้นหาข้อมูลต่อไปก็ยิ่งตอกย้ำว่าเทรนด์ในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับ Climate Change การปรับสู่การใช้พลังงานสะอาด (Cleaner และ Greener) ซึ่งสอดคล้องกับที่ประเทศไทยได้ร่วมประชุมบนเวที COP ที่ประเทศอียิปต์ และได้ทำข้อตกลงว่าภายในปี 2025 จะมีการลดโรงไฟฟ้าที่มาจากการใช้น้ำมัน และเริ่มใช้โรงไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียน
และในปี 2065 ไทยจะต้องเป็น Net Zero เพราะฉะนั้นประเทศไทยก็จะต้องขับเคลื่อนตามเมกะเทรนด์ ซึ่งแน่นอนว่า Climate Change และ Cleaner& Greener ก็จะเป็น Mega Trend ของโลก ซึ่งก็จะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจของบริษัท
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคของไทยที่อาจจะทำให้ไม่สามารถไปสู่เมกะเทรนด์ดังกล่าวได้ก็คือ ตลาดคาร์บอน โดยหากเป็นที่ยุโรปนั้น คาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตันสามารถขายได้ประมาณ 90 ยูโร ที่จีนจะขายได้ 7 ดอลลาร์ แต่ไทยในปัจจุบันยังไม่มีตลาดคาร์บอน
“สิ่งที่ทำให้ยุโรปและจีนสามารถไปได้ไกล เพราะทั้ง 2 ประเทศมีภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) หากผลิตคาร์บอนเกินโควต้าจะต้องเสียภาษี ทำให้บริษัทแห่งหนึ่งที่ผลิตคาร์บอนเกินโควต้า ต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจากอีกบริษัทหนึ่งที่โควต้ายังเหลืออยู่ ทำให้ตลาดมีการเติบโต และมีมูลค่ามากขึ้น ถึงขั้นกำลังจะมีการจัดตั้งกรมความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งเมื่อการจัดตั้งกรมดังกล่าวแล้วเสร็จน่าจะทำให้ไทยมีตลาดคาร์บอนที่มั่นคงมากขึ้น และได้รับความสนใจในการลงทุนเพิ่มขึ้น”
“TPIPP มุ่งที่จะเป็นผู้นำทางด้านการนำขยะไปสู่พลังงาน โดยจะต้องเป็นบริษัท Net Zero พร้อมกับ ESG รวมถึงการสร้างระบบนิเวศภายในบริษัทให้เป็น Zero Waste และในอนาคตจะต้องยั่งยืน”
นายภัคพล กล่าวว่า TPIPP ทำธุรกิจโรงไฟฟ้าโดยเริ่มต้นธุรกิจครั้งแรกในปี 2009 มีกำลังผลิต 60 เมกะวัตต์ มาจากการใช้พลังงานความร้อนทิ้งที่มาจากบริษัทแม่ ส่วนปี 2022 มีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 440 เมกะวัตต์ สัดสว่นพลังงานความร้อนทิ้ง 40 เมกกะวัตต์ และมีพลังงานจากขยะ 180 เมกะวัตต์ ส่วนอีก 220 เมกะวัตต์คือถ่านหิน
หลังจากนั้นปี 2024 พลังงานความร้อนทิ้งเหลือ 40 เมกะวัตต์เท่าเดิม ส่วนพลังงานขยะเพิ่มขึ้นเป็น 250 เมกะวัตต์ โดยมีโซลาร์เพิ่มมา 37 เมกะวัตต์ และอีก 150 เมกะวัตต์ยังเป็นถ่านหิน
ขณะที่เป้าหมายของบริษัทหลังจากปี 2026 จะมีเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็น 540 เมกะวัตต์ โดยที่ 40 เมกกะวัตต์ ยังเป็นความร้อนทิ้ง ส่วน 79 เมกะวัตต์จะเป็นโซลาร์ ขณะที่อีก 420 เมกะวัตต์จะเป็นพลังงานขยะ และถ่านหินจะกลายเป็นศูนย์
โดยวิธีการที่บริษัทจะผลิตไฟฟ้าดดยปราศจากถ่านหิน คือการเพิ่มกำลังการผลิตโซลาร์เซลล์ 73 เมกะวัตต์ ที่จ.สระบุรี คาดว่าจะขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์หรือ COD เริ่มกลางปี 2567-256 ส่วนโซลาร์รูฟท็อปมีอยู่ประมาณ 6 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าภายใน 1-2 เดือนจะดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด โดยขายให้กับบริษัทแม่เช่นเดียวกัน
นายภคพล กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นโรงไฟฟ้าขยะของบริษัทจะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 6 เฟส อย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะกลายเป็นโรงไฟฟ้าขยะทั้งหมดในปี 2026 เป็นต้นไป
นายภคพล กล่าวด้วยว่า ปัจจุบัน PE ของ TPIPP อยู่ต่ำกว่าอุตสาหกรรมพลังงานค่อนข้างมาก หรือประมาณ 2 ใน 3 แต่หากเทียบกับ Set Index จะต่ำกว่าเกินครึ่ง ขณะที่อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield ) สูงกว่า SET ถึง 2 เท่า