การเปลี่ยนแปลงจาก 'ตัวเอง - ภาคธุรกิจ' สู่โครงสร้างที่ยั่งยืนได้อย่างไร

การเปลี่ยนแปลงจาก 'ตัวเอง - ภาคธุรกิจ' สู่โครงสร้างที่ยั่งยืนได้อย่างไร

เปิดมุมมองของตัวแทนผู้ประกอบการขนาดย่อม และภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อมดีขึ้น สู่ความยั่งยืนที่ดีได้ในอนาคต ทั้งการเปลี่ยนผ่านทั้งภายในองค์กร และภายนอก ชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆให้ยั่งยืนไปด้วยกัน

 

ปัณวรรธน์ นิลกิจศรานนท์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายวิศวกรรมโครงสร้าง บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ตัวแทนจากภาคพลังงาน กล่าวในงาน The People  ‘Be the Change’ ภายใต้แนวคิด ‘Sustainable in Everyday Life’ ยั่งยืนได้เมื่อเราเปลี่ยน ว่า ความท้าทายสำหรับธุรกิจพลังงานต้องเผชิญกับคำว่า Energy Trilemma ทางแยกสามทางที่ยากลำบากในการตัดสินใจระหว่างการผลิตพลังงานที่สะอาด, การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยราคาพลังงานที่เข้าถึงได้ และ ความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งยังไม่สามารถทำทั้งหมดไปด้วยกันได้

สิ่งที่เชฟรอนกำลังทำคือการพัฒนาเทคโนโลยีที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ “ทางออกที่โลกนี้ต้องทำ คือเทคโนโลยีเพื่อทำให้พลังงานทางเลือกมีราคาถูกลงหรือทำให้การผลิตพลังงานปล่อยคาร์บอนน้อย จึงจะทำให้สามเหลี่ยมความท้าทายขยับเข้ามาใกล้กันได้

สมัชชา พรหมศิริ Chief of Staff บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า ความยั่งยืนคือการทำให้ธุรกิจสร้างสมดุลระหว่างการกำไรตอบแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างเหมาะสม โปร่งใสและการสร้างอิมแพคให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งผลพลอยได้ก็คือการทำให้มีคนรุ่นใหม่อยากมาร่วมงานด้วย เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค รวมไปถึงการบริหารความเสี่ยงขององค์กรด้วยเช่นกัน ในการบริหารงานในด้านความยั่งยืนเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของโลก สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่อยู่ใน scope 3 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์

ซึ่งความท้าทายของการบริหารธุรกิจคือการเน้นย้ำในส่วนโปรดักซ์ที่ส่งมอบให้กับลูกค้า ด้วยการตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2050 ที่จะสร้าง Netzero Home ขับเคลื่อนผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว, การก่อสร้างนวัตกรรมเพื่อโลก และการออกแบบและสถาปัตกรรมธรรมชาติ 

 


การเปลี่ยนแปลงจาก \'ตัวเอง - ภาคธุรกิจ\' สู่โครงสร้างที่ยั่งยืนได้อย่างไร


 

 

อารภัฏ สังขรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด  กล่าวว่าเป็นธุรกิจหลักทรัพย์ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเน้นในการหาแหล่งลงทุนให้กับธุรกิจต่างๆ สำหรับคำนิยามของความยั่งยืนในมุมมองสถาบันการเงินคือการ “Democratize Investing” ที่ต้องการให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนให้มากขึ้น ด้วยการวางแนวทางเพื่อเปลี่ยนมายเซตให้กับคนภายในองค์กรในการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม

ปรับเปลี่ยนโปรดักซ์เพื่อเข้าถึงคนในวงกว้างขึ้นด้วยทำให้เข้าถึงง่ายและเหมาะกับคนใช้งานหน้าใหม่ ผ่านแอป MayBank Invest “หน้าที่ของเมย์แบงค์ต้องการช่วยถ่ายทอดการสร้างความรู้ด้านการลงทุนให้กับพนักงานในบริษัทต่างๆ สถาบันการนักศึกษา และออนไลน์”    

ณัษฐพงษ์ ธรรมฉัตรพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธรรมฉัตร เอ็นเตอร์ไพรส์ จํากัด ผู้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ฟรอลิน่า กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอ ส่งผลทางลบในเชิงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะวัตถุดิบหลัก เช่น ฝ้ายนั้นต้องใช้น้ำจำนวนมากในกระบวนการผลิต นอกจากวัสดุที่ทำให้ต้นทุนการทำสินค้าเพื่อให้กลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ยังต้องคำนึงถึงกระบวนผลิต การจัดจำหน่าย และร้านค้าปลีก ซึ่งส่งผลต่อ carbon footprint

ทั้งนี้แพสชันของคนทำงานและการทำเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ CSR แต่จำเป็นต้องอยู่ทุก ๆ กระบวนการคือหัวใจสำคัญของผลิตภัณฑ์จากฟรอลิน่า “หลายๆ อย่างที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมและกำไรที่มากขึ้น ผมคิดว่าคนทำอาจจะยังไม่เข้าใจ สิ่งที่เราทำ คือ รับฟัง เริ่มทำจากเรื่องใกล้ตัว พอทำไปเรื่อย ๆ มี zero waste การลดพลังงาน มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพัฒนาและโฟกัสในสิ่งนี้ต่อไปได้”


 

 

วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักทำสารคดี นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าภาพรวมของปัญหาในเชิงโครงสร้าง ที่จะกำหนดเป็นนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ในหัวข้อ ‘การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงโครงสร้าง’ เพื่อชี้ชวนให้ทำความเข้าใจและเห็นความสำคัญ รวมถึงอัปเดตความคืบหน้าของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมากระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน

ด้วยความเป็นนักสารคดีที่ทำให้ไปเยือนในประเทศที่น้อยคนนักจะได้ไปและส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ได้พบเห็นสิ่งที่มนุษย์กระทำต่อกันอย่างเลวร้ายมามากมาย แต่สุดท้ายเขาได้ข้อสรุปว่า “ไม่มีปัญหาไหนใหญ่กว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคสมัยนี้ เพราะไม่มีอะไรไม่เกี่ยวข้องกัน ปัญหาของโลกก็คือปัญหาของมนุษย์เช่นกัน” 

จึงทำให้เหันมาให้ความสนใจสื่อสารในประเด็นสิ่งแวดล้อม แต่เพียงแค่สื่อสารเรื่องนี้ต่อสังคมอาจไม่เพียงพอต้องเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ซึ่งทำให้เขาได้มีโอกาสเข้าไปร่วมเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม 

การเปลี่ยนแปลงจาก \'ตัวเอง - ภาคธุรกิจ\' สู่โครงสร้างที่ยั่งยืนได้อย่างไร

ชารีย์ บุญญวินิจ  Earth Creator และผู้บุกเบิก ‘ฟาร์มลุงรีย์’ (UncleRee Farm) กล่าวว่า ‘เรื่องระหว่างทางจาก Food Waste กว่าจะผุดเป็น Good Taste’ เขาย้อนกลับไปเล่าถึงจุดเริ่มเต้นทำให้เกิดฟาร์มแห่งนี้ โดยมาจากพื้นฐานความสนใจด้านศิลปะและงานเซรามิก ทำให้หลงรักเรื่องดิน จนขยายมาสู่ความสนใจด้านเกษตรเพื่อต้องการสร้างมูลค่าให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นงอกเงยจากดิน จึงได้มาก่อตั้ง UncleRee Farm ฟาร์มเกษตรคนเมืองในวัย 26 จนปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 10 จากการเริ่มต้นเลี้ยงไส้เดือนเพื่อให้เกิดเป็นปุ๋ยแล้วนำมาเพาะเห็ด

ซึ่งจะทำให้เขาสามารถพึ่งพาตัวเองและได้กลับมาอยู่บ้านและครอบครัว ประกอบกับการได้ศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นเรื่องการจัดการอาหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกส่วนของวัตถุดิบมาพัฒนาฟาร์มแห่งนี้สานต่อสู่ธุรกิจร้านอาหารในชื่อ ‘โอมากาเห็ด’ ที่มียอดจองคิวอย่างต่อเนื่อง โดยสรุปถึงแนวคิดในการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืนในแง่ธุรกิจต่อไปในอนาคตของเขาไว้ว่า “ธุรกิจที่ทำแล้วมีคนอื่นที่ได้เกิด” โดยเขาได้จับมือกับชุมชนและคนโดยรอบฟาร์มบริเวณเพชรเกษม 46 เพื่อพัฒนาในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมต่อไปกับแนวทาง คิดใหม่ คิดให้เรื่องเล็กเปลี่ยนโลก

ภาคภูมิ โกเมศโสภา ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน Co-Founder Reviv (รีไวฟ์) และแพลตฟอร์ม Wonwon Startup กล่าวว่า คนรุ่นใหม่ที่ชวนพวกเรามาส่งเสริมวัฒนธรรมการซ่อมเสื้อผ้าให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ขึ้นมาพูดในหัวข้อ ‘การซ่อมจะทำให้สังคมดีขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไมสินค้าปัจจุบันถึงพังเร็ว ซ่อมยาก?’ Reviv (รีไวฟ์) คือกลุ่มผู้บริโภคที่มารวมกันเพื่อส่งเสริมในเรื่องของการซ่อมและการใช้ซ้ำในสังคมไทย

ซึ่งเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยหลักการของ Circular Economy การซ่อมจะเป็นการรักษามูลค่าของสิ่งของไว้ได้มากที่สุด ซึ่งผู้บริโภคในหลายๆ ประเทศก็หันมาเรียกร้อง ‘สิทธิในการซ่อม’ กันมากขึ้น สำหรับ 3 โปรเจคที่กลุ่ม Reviv (รีไวฟ์) ได้ทำอยู่ประกอบด้วย Repairability Index, WonWon Platform และ Repair Cafe ซึ่งหวังว่าจะสามารถสร้างวัฒนธรรมการซ่อมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านในเชิงโครงสร้างต่อไป 

ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์’ ผู้ประกอบรายเล็กเจ้าของธุรกิจ ‘เรือไฟฟ้าสุขสำราญ’ ธุรกิจเรือนำเที่ยวคลองย่านฝั่งธนฯ กับหัวข้อ ‘Zero Waste Trip ชวนเที่ยวคลองด้วยเรือไฟฟ้าแบบไม่สร้างขยะ’  กล่าวว่า ได้เริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ แห่งนี้เพราะต้องการเลี้ยงลูกและสามารถหารายได้ไปด้วย แม้อยู่ที่บ้านก็ตาม ด้วยความที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตริมน้ำบริเวณคลองบางหลวงมาตั้งแต่เด็กๆ ความประทับใจและความผูกพันที่เกิดขึ้นในวันนั้นได้กลายมาเป็นธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อต้อนรับนักเดินทางที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนทั้งไทยและต่างประเทศส่งมอบความสุขให้กับผู้มาเยือนด้วยรอยยิ้ม

แต่พบว่าการท่องเที่ยวที่เน้นปริมาณอย่างเดียวสร้างปัญหาและขยะให้กับสายน้ำใหักับย่านนี้ เขาจึงเกิดความต้องการสร้างโมเดลการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบที่จะส่งต่อสายน้ำที่มีคุณภาพให้กับลูกหลานของชุมชนต่อไป ซึ่งน่าดีใจว่าหลังจากที่ลูกค้าได้ท่องเที่ยวกับเขาหลายคนเมื่อกลับมาอีกครั้งได้เตรียมพาชนะที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีกเพื่อทดแทนการใช้พลาสติก

ซึ่งเทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ใครที่ทำธุรกิจแล้วพลาดการจับเทรนด์เรื่องนี้อนาคตก็อาจไม่สดใส และ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละคนจะไม่อาจหยุดยั้งวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในตอนนี้ได้ แต่ ทุกๆ การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ล้วนเริ่มต้นจากตัวเอง