การเลือกตั้งยังเป็นปัจจัยหนุนหุ้นบริโภคในประเทศ

การเลือกตั้งยังเป็นปัจจัยหนุนหุ้นบริโภคในประเทศ

เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด ส่งสัญญาณยุติการขึ้นดอกเบี้ย คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมเมื่อ 3 พ.ค.66 ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้

และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกันนับตั้งแต่ที่เฟดเริ่มวัฏจักรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.2565 ตลาดหุ้นโลกปรับลดลงในวันพฤหัส ก่อนฟื้นตัวขึ้นในวันศุกร์ โดยเรามองปัจจัยบวกที่สำคัญมาจาก 1) เฟดตัดข้อความในแถลงการณ์ที่บ่งชี้ถึงโอกาสในการหยุดขึ้นดอกเบี้ย 2) ในช่วงแถลงข่าว ประธานเฟดระบุการกำหนดดอกเบี้ยในการประชุมจะขึ้นกับสถานการณ์ต่างๆ ทั้งวิกฤติธนาคาร, เงินเฟ้อ และเพดานหนี้ และ 3) ประธานเฟดเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ แทบไม่มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย และหากเข้าสู่ภาวะดังกล่าว ก็จะเป็นการถดถอยที่ไม่รุนแรง

การเลือกตั้ง 14 พ.ค. ยังเป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นและการบริโภคในประเทศ แม้มีปัญหาด้านการจัดการในการเลือกตั้งล่วงหน้า 7 พ.ค. ที่ผ่านมา แต่การเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง 14 พ.ค. ยังเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นจาก 1) กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นจากความคาดหวังการเปลี่ยนแปลง 2) ความชัดเจนของการเมืองหลังเลือกตั้งหนุนการฟื้นตัวของหุ้นเกี่ยวกับการเมืองหรือเป็นคู่สัญญาภาครัฐฯ 3) ความคาดหวังผลบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของพรรคการเมืองต่างๆหลังการเลือกตั้ง ซึ่งเราคาดปัจจัยข้างต้นจะเป็นปัจจัยหนุนหุ้นเกี่ยวกับการบริโภคในประเทศ และมีแนวโน้มหนุนการเกิด Honeymoon period rally หลังการเลือกตั้ง ซึ่งจากสถิติในการเลือกตั้ง 7 ครั้งที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเป็นบวกหลังการเลือกตั้ง 1 เดือน ถึง 6 ครั้ง
 

ภาพรวมกลยุทธ์: ไม่หลุด 1,505 จุด ยังลุ้นเป็นการเคลื่อนไหวออกข้างที่มีกรอบการฟื้นตัวด้านบนในระดับ 1,600-1,650 จุด เน้น selective buy กลุ่มที่น่าจะเห็นการฟื้นตัวได้ชัดเจนในปี 2566 และยังมีการถือครองที่ต่ำ (Underowned) โดยเฉพาะสาธารณูปโภคและค้าปลีก ขณะที่ภาพรวมการเลือกตั้งหนุนหุ้นบริโภคในประเทศ ในช่วง 1 เดือนหน้า 

หุ้นแนะนำ: CPALL*, BBL, SAWAD*, OR

แนวรับ: 1,505-1,522 / แนวต้าน : 1,538-1,550 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

 

ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ

การจ้างงานนอกภาคเกษตรสูงกว่าคาด – ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเม.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 253,000 ตำแหน่ง มากกว่าคาดที่ 180,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.4% ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 3.6% ทำสถิติต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2512 ขณะเดียวกันตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 0.5% MoM และเพิ่มขึ้น 4.4% YoY ซึ่งมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ทั้งรายเดือนและรายปี 

เงินเฟ้อไทย เดือนเม.ย. 66 สูงขึ้นในอัตราชะลอตัว - เงินเฟ้อไทย เดือนเม.ย. 66 สูงขึ้น 2.67% yoy ลดลงจากมี.ค.66 ที่ 2.83% สูงขึ้นในอัตราชะลอตัวต่อเนื่อง และต่ำสุดในรอบ 16 เดือน และต่ำกว่าที่ Consensus คาดการณ์ไว้ที่ 2.70% 
 

4 เดือนต่างชาติเข้าไทย 8.6 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 3.5 แสนลบ. - โดย 3 อันดับแรกของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยสูงสุดในเดือนเม.ย. นี้ ประกอบด้วยมาเลเซีย จีน และอินเดีย 

จีนเพิ่มไฟล์ทบินเข้าไทยเริ่ม 1 มิ.ย.นี้ - เบื้องต้น คาดว่าเที่ยวบินจากประเทศจีนจะทำการบินเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 430 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ จากปัจจุบันที่มีกว่า100 เที่ยวบินต่อสัปดาห์เท่านั้น โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 66 เป็นต้นไป

เริ่มใช้ Bid-offer 10 ช่อง – ตลท.จะเริ่มใช้ระบบซื้อขายใหม่ที่รองรับปริมาณการซื้อขายได้มากขึ้น ซึ่งรวมถึงการแสดงรายละเอียดระดับราคา Bid/Offer เพิ่มเป็น 10 ระดับ (จากเดิม 5 ระดับ) และปรับ Ceiling & Floor เป็น +/-60% ของราคาอ้างอิง (จากเดิม +/-30%)

 

ประเด็นติดตาม: 10 พ.ค. – US CPI / 11 พ.ค. – US PPI, Initial Jobless Claims / 16 พ.ค. – US Retail Sales / 17 พ.ค. – US Building Permis, EU CPI / 18 พ.ค. – US Existing Home Sales


(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)