วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Financial Sector มาตรการแก้หนี้เรื้อรังเริ่มการทำ public hearing
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดกรอบเวลาในการเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่างหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) เพื่อมุ่งลดหนี้ครัวเรือนซึ่งปัจจุบันพุ่งทะลุ 90% ของ GDP ไปแล้ว
ทั้งนี้ เพื่อให้มาตรการมีผลบังคับใช้ในปี 2567 ธปท. จึงกำหนดกรอบเวลารับผังความคิดเห็นเป็นเวลาสองสัปดาห์ (4-20 กันยายน 2566)
มาตรการควบคุมการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมจะมุ่งเน้นดูแลลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง (PD) โดยจะแบ่ง PD ออกเป็นสองระดับ : i) กลุ่มเรื้อรังทั่วไป ) ii) กลุ่มเรื้อรังรุนแรง
มาตรการดังกล่าวจะมีการนำแนวปฏิบัติ (Guideline) ในการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมมาใช้กับทั้งกลุ่มธนาคาร และ non-bank โดยจะใช้กับสินเชื่อรายย่อย (อย่างเช่น บัตรเครดิต, P-loan, Nano finance, สินเชื่อจำนำทะเบียน, micro finance) นอกจากนี้ ยังจะมีการกำหนดให้ทั้งธนาคาร และ nonbank ต้องแจ้งลูกหนี้ก่อนที่จะย้ายไปเข้ากลุ่ม PD (ทั้ง PD ทั่วไป/PD เรื้อรัง) ซึ่งเมื่อลูกหนี้ถูกจัดเข้ากลุ่ม PD แล้ว สถาบันการเงินจะต้องให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ โดยธปท. กำหนดให้คิดดอกเบี้ย 15% กับ PD ที่มีอายุ >5 ปี นอกจากนี้ สินเชื่อเงินสดหมุนเวียน (revolving loan) จะเป็นกลุ่มแรกที่ถูกควบคุม
นอนแบงก์หลายบริษัทมีการปล่อยสินเชื่อเงินสดหมุนเวียน
เนื่องจากมาตรการของ ธปท. มุ่งเน้นที่สินเชื่อเงินสดหมุนเวียน ดังนั้น สินเชื่อ P-loan จึงน่าจะเป็นกลุ่มแรกที่ถูกติดตาม ซึ่ง AEONTS มีสัดส่วน P-Loan สูงที่สุดที่ 47% ของสินเชื่อรวม รองลงมาคือ KTC ที่ 31% และ MTC ที่ 16%
นอนแบงก์ดูไม่กังวลกับมาตรการ
จากร่างของ ธปท. เรามองว่าจะส่งผลในเชิงกลาง ๆ กับนาคาร แต่จะเป็นลบกับกลุ่ม non-bank มากกว่า อย่างไรก็ตาม มาตรการคุม PD นี้เป็นมาตรการตามความสมัครใจ ซึ่งจะขึ้นกับการทำข้อตกลงระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ในขณะที่บริษัทในกลุ่ม non-bank (ได้แก่ KTC และ AEONTS) คาดว่าจะมีลูกหนี้ไม่ถึง 5% เท่านั้นที่สมัครใจยื่นขอเข้าร่วมโครงการ
Risks
NPL เกิดใหม่, แรงกดดันต่อ NIM.