เวสต์เทกซัส 87.51 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 90.65 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 87.51 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 90.65 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (11 ก.ย. 66) ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมัน 

+ ราคาน้ำมันดิบ ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน จากความกังวลต่ออุปทานตึงตัว หลังซาอุดิอาระเบียขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมที่ 1.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปถึงสิ้นปี ขณะที่รัสเซียปรับลดการส่งออกลง 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงสิ้นปีเช่นกัน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ท่ามกลางความกังวลต่ออุปทานจากการปิดซ่อมบำรุงฉุกเฉินของโรงกลั่นในสหรัฐฯ 

- เศรษฐกิจจีน ยังคงเผชิญกับแรงกดดันต่อเนื่องจากการชะลอตัวลงของทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันของจีน นอกจากนี้ ความต้องการใช้น้ำมันและเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง หลังพายุไต้ฝุ่น Haikui ได้เข้าถล่มฮ่องกงและเซินเจิ้น ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนัก ถนนและทางรถไฟหลายสายได้รับผลกระทบ ซึ่งสำหรับฮ่องกงนับเป็นฝนตกที่หนักสุดในรอบ 140 ปี 

- ปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 66 ตามราคาพลังงานที่สูงขึ้น โดย Baker Hughes รายงานปริมาณการขุดเจาะเพิ่มขึ้น 1 แท่นมาอยู่ที่ระดับ 632 แท่น สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 8 ก.ย.
 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ ตามตลาดน้ำมันเบนซินสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสต็อกน้ำมันเบนซินสหรัฐฯ ที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสิงคโปร์ที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 สัปดาห์


ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ ตามตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการปิดซ่อมบำรุงฉุกเฉินของโรงกลั่นในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 21 สัปดาห์
 

เวสต์เทกซัส 87.51 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 90.65 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล