วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตาเงินเฟ้อไทย และรายงานภาคบริการเดือน ม.ค. ของ US EU China

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตาเงินเฟ้อไทย และรายงานภาคบริการเดือน ม.ค. ของ US EU China

ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Up แนวต้าน 1,390/1,397 จุด (EMA 50 วัน) แนวรับ 1,379/1,370 จุด โดยทางเทคนิคกลับมาเกิดสัญญาณ Buy Signal หลังดัชนีฯ วันศุกร์ ปิดบวกแรง ด้วยการเปิด Gap ทะลุแนวต้านแรกที่ 1,379 จุด ขึ้นไปได้ (เงื่อนไขแรก)

และมีสัญญาณยืนยันการขึ้นไปที่ 1,416 จุด หากทะลุแนวต้านเดิม 1,390 จุด

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตาเงินเฟ้อไทย และรายงานภาคบริการเดือน ม.ค. ของ US EU China

ประเด็น Event สำคัญ วันนี้

Weekly Strategy: KTX มองว่าดัชนีตลาดฯ ยังคงเผชิญความเสี่ยงการไหลออกของกระแสเงินทุนต่างชาติจากโอกาสแข็งค่าต่อเนื่องของสกุลเงิน USD หลังจากเฟดยังคงส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยยาวนานกว่าที่ตลาดคาดไว้ (Hold for Longer) ขณะที่ การประชุม กนง. ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 ก.พ. Consensus คาดว่ากนง. จะปรับลดดอกเบี้ยก่อนเฟด โดยปรับลด 25bps สู่ระดับ 2.25% ซึ่งหากเป็นจริงอาจกระทบต่อ การไหลออกของกระแสเงินทุนต่างชาติที่มีความต่อเนื่อง เราจึงยังคงคำแนะนำให้รอซื้อ เมื่อดัชนี SET ให้ MRP สูงกว่า 4.56% (+2 S.D. ของค่าเฉลี่ย 90 วัน) หรือเมื่อดัชนี SET ต่ำกว่า 1,357 จุด (Figure 2)

OECD: รายงานคาดการณ์เศรษฐกิจโลก โดยเป็น Positive Momentum หากออกมาในเชิงบวกเช่นเดียวกันกับ IMF

US: สุนทรพจน์ Fed Atlanta Bostic (Voter) ตลาดจะให้ความสนใจต่อสัญญาณของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มี.ค.

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญวันนี้ มีจำนวนมาก

+/-US Earnings Results: จับตารายงานผลประกอบการบจ. สหรัฐฯ ที่น่าสนใจได้แก่ McDonalds (คาด 4Q23E EPS USD2.38 Vs Previous USD2.59), Caterpillar (คาด 4Q23E EPS USD4.75 Vs Previous USD4.27), Tyson Foods (คาด 1Q24E EPS USD0.41 Vs Previou USD0.85) Estee Lauder (คาด 2Q24E EPS 0.54 Vs Previous USD1.54) ฯลฯ ทั้งนี้ รายงานผลกำไรที่ดีหรือแย่กว่าคาด จะส่งผลเชิงบวกหรือลบต่อหุ้นรายตัว และมีผลทางอ้อมต่อ Sentiment ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

-EU: รายงาน PPI เดือน ธ.ค. คาดลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 -0.5% MoM, -10.2% YoY (Vs เดือน พ.ย. -0.3% MoM, -8.8% YoY) บนคาดการณ์ว่า 1Q24E EU GDP เติบโต 0.1% QoQ, +0.1% YoY และล่าสุด IMF ปรับลดเป้าหมายเติบโตปีนี้เป็น 0.9% YoY (Vs เดิม +1.2% YoY) แต่ Bloomberg Consensus คาดเติบโตเพียง +0.6% YoY (Vs +0.5% ในปี 2023)

 

+รายงานภาคบริการเดือน ม.ค. ของ China (Caixin), Japan (Jibun), EU (HBOC), US (ISM, S&P Global) ส่วนใหญ่ขยายตัวดีขึ้น ยกเว้น EU

+Japan: Consensus คาดภาคบริการเดือน ม.ค. (โดย Jibun Bank) ดีขึ้น เป็น 52.7 (Vs เดือน ธ.ค. 51.5) โดยอยู่ในระดับขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 จาก New Business ปรับสูงขึ้น

+China (Caixin): คาดเท่ากับเดือน ธ.ค. ที่ 52.9 แต่สูงกว่าระดับ 50 จุด (หมายถึง การขยายตัว) ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 จาก New Orders ที่เพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับ NBS ที่รายงานไปล่วงหน้าแล้วในสัปดาห์ก่อน โดยภาคบริการเดือน ม.ค. ดีขึ้นเล็กน้อยเป็น 50.7 Vs เดือน ธ.ค. 50.4)

-EU (HBOC): คาดลดลงเป็น 48.4 (Vs เดือน ธ.ค. 48.8) หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 อิงภาวะเศรษฐกิจอียูที่ชะลอตัว

+US: คาดดีขึ้นรับสัญญาณเศรษฐกิจ 1Q24E ที่ประเมินโดย Fed Atlanta อยู่ที่ 4.2% QoQ (ISM คาดดีขึ้นเป็น 52 Vs เดือน ธ.ค. 50.6 ซึ่งเป็นระดับต่าสุดรอบ 7 เดือน, S&P Global คาดดีขึ้นเป็น 52.9 Vs ธค.51.4 )

-Thailand: กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ม.ค. คาดติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 (Figure 1) ที่ -0.87% YoY (Vs เดือน ธ.ค. -0.83% YoY ต่าสุดรอบ 34 เดือน) และ Core Inflation เดือน ม.ค. คาดเติบโตเท่าเดิม +0.58% YoY ซึ่งต่ำกว่าระดับ 1% YoY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7) สาเหตุสาคัญยังคงเป็นมาตรการภาครัฐด้านพลังงาน ที่ทำให้สินค้าในกลุ่มพลังงานปรับลดลง โดยเฉพาะราคาน้ำมันในกลุ่มดีเซล และแก๊สโซฮอล์ 91 รวมไปถึงการปรับตัวลดลงของราคาข้าวและผักสด และผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวต่ำกว่าแนวโน้ม โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ธปท. ส่งสัญญาณเตรียมปรับลดเป้าหมายเติบโตเศรษฐกิจปี 2023-24E ลงจากเดิม 2.4% และ 3.2% ในการประชุมกนง. วันที่ 7 ก.พ. 

ทั้งนี้ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยแท้จริงของไทยกับสหรัฐฯ ที่พลิกกลับมาหดตัว (ติดลบ) ที่ -1.7% และ -0.5% ในปี 2024-25E ตามลำดับ จะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการไหลออกของกระแสเงินทุนต่างชาติ

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นบวก ได้แก่ SABINA ERW AAV

Strategic daily picks

SABINA    ปิด 27.25 บาท/แนวรับ 25.75 บาท แนวต้าน 29.50 บาท

บริษัทเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt พร้อมตั้งเป้ายอดขายปี 2024 โต 10% จากปีก่อน ในทุกช่องทางการจำหน่าย [ทั้งค้าปลีก ออนไลน์ และรับจ้างผลิต (OEM-ขณะนี้ยอดจองผลิตกลับมาใกล้เคียงกับปี 2019)] พร้อมกันนี้จะเปิดัวคอลเลคชันแรกของปีในช่วงต้นเดือน ก.พ. ส่วนการลงทุนในฟิลิปปินส์ มียอดขายโตถึง 25% ในปี 2023 และจะเติบโตเพิ่มขึ้นในปี 2024 Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 468.25 ล้านบาท (+12.24% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 31.45 บาท

ERW     ปิด 5.15 บาท/แนวรับ 4.82 บาท แนวต้าน 5.55 บาท

บริษัทฯ คาดปี 2023 มีอัตราการจองห้องพัก (OCC) เฉลี่ยที่ราว 85% และรายได้เฉลี่ยต่อห้อง (ADR) เฉลี่ยเติบโตราว 80% YoY และเติบโตสูงกว่าปี 2019 ราว 20% โดยเป็นการเติบโตจากทุกกลุ่มโรงแรม (Luxury, Mid-Scale, Hop Inn) ทั้งนี้ ปัจจุบันมีห้องพักในการบริหารจัดการรวมทั้งสิ้น 10,188 ห้อง พร้อมคาดการณ์ OCC เฉลี่ยทั้งปี 2024 มีแนวโน้มทรงตัวที่ 85% Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 719.73 ล้านบาท (จากขาดทุนสุทธิ 224.19 ล้านบาท) และมูลค่าเหมาะสมที่ 6.11 บาท

AAV    ปิด 2.30 บาท/แนวรับ 2.10 บาท แนวต้าน 2.44 บาท

การลงนามความตกลงยกเว้นการตรวจตราระหว่างกัน (วีซ่าฟรี) สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาและถึงราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2024 เป็นต้นไป ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อ AAV เนื่องจาก AAV มีเส้นทางสู่จีนถึง 11 เส้นทาง และกระตุ้นการเดินทางและเศรษฐกิจท่องเที่ยวระหว่าง 2 ประเทศ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีแผนเพิ่มเส้นทางใหม่ เช่น ดอนเมือง-ปักกิ่ง ขณะเดียวกันบริษัทคาด 4Q23 จะเร่งตัวแตะระดับสูงสุดของปี หนุนภาพรวมทั้งปี 2023 เป็นไปตามเป้าหมาย Bloomberg Consensus ประมาณการขาดทุนสุทธิปี 2023 ที่ 380 ล้านบาท (จากขาดทุนสุทธิ 8.03 พันล้านบาท) และมูลค่าเหมาะสมที่ 2.78 บาท

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตาเงินเฟ้อไทย และรายงานภาคบริการเดือน ม.ค. ของ US EU China

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตาเงินเฟ้อไทย และรายงานภาคบริการเดือน ม.ค. ของ US EU China