วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.เคจีไอฯ Bank Sector - ตั้งการ์ดสูงขึ้น
เราคาดว่ากำไรรวมของกลุ่มธนาคารใน 2Q67F จะลดลง 6% QoQ และ 1.4% YoY เนื่องจากการเข้มงวดปล่อยสินเชื่อใหม่ ทำให้สินเชื่อเติบโตใกล้ศูนย์ ที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับกลุ่มอ่อนไหวฉุดรายได้ลง และ มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้น
เราคาดว่ากำไรของ KBANK จะลดลงมากว่าธนาคารอื่นๆ เพราะการตั้งสำรองฯ หนี้เสีย (credit cost) ไว้ต่ำเกินไปใน 1Q67 ในขณะที่กำไรทางบัญชี (FVTPL) ก็ผันผวน ซึ่งภาพรวมคล้ายกับ SCB อย่างไรก็ตาม BBL การตั้สำรองฯสูงใน 1Q67 ทำให้คาดว่าคชจ.ต่ำลงในไตรมาสนี้ ในขณะที่คาดว่าผลขาดทุนจากการด้อยค่าที่ลดลงของ KTB จะหักล้างไปกับ FVTPL ที่ลดลง โดยที่คาดว่า credit cost จะทรงตัว อย่างไรก็ตาม เราใช้สมมติฐานว่า credit cost เพิ่มขึ้น และ ผลขาดทุนจากการขายสินทรัพย์จากสินเชื่อ H/P จะกดดันกำไรของ TTB, TISCO และ KKP
คาดว่า NPL ใน 2Q67F จะเพิ่มขึ้นจากกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง, ภาคอุตสาหกรรม และ H/P
จากข้อมูล NPL (หนี้ผิดนัด >3เดือน) ทั้งระบบ และ สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (สินเชื่อผิดนัดชำระ 1-3 เดือน) ซึ่งแบ่งตามกลุ่มสินเชื่อใน 1Q67 เราพบว่า NPL เร่งตัวขึ้นในสินเชื่อกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง, สินเชื่อบ้าน, อุตสาหกรรม และ สินเชื่อส่วนบุคคล (P-loan) ทั้งนี้เรามองสินเชื่อบ้านมีมาตรการดอกเบี้ยตัวช่วยพยุงคุณภาพหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม NPL จากกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง, ภาคอุตสาหกรรม และ H/P มีความเสี่ยงมากกว่า จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้ายอดขายรถลดลง และการแข่งลดลงรถยนต์ EV
แบงก์จะนำส่วนสำรองฯเกินมาใช้ เพื่อบริหารคุณภาพของพอร์ต
BBL มีการตั้งสำรองฯส่วนเกินสะสมไว้มากจะช่วยหนุนคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร และ ทำให้ค่าใช่จ่าย
สำรองฯ (credit cost) อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ เช่นเดียวกับในกรณีของ KTB อย่างไรก็ตาม KBANK มีสำรองส่วนเกินที่มีอยู่น้อย ทำให้มีส่วนรองรับหนี้เสียที่ต่ำ ซึ่งจะบีบให้ KBANK ต้องเพิ่มค่าใช่จ่ายสำรองฯ (credit cost) ใน 2Q67F นอกจากนี้ เรายังใช้สมมติฐานค่าใช่จ่ายสำรองฯ (credit cost) เพิ่มขึ้นกับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อ H/P อย่าง KKP, TISCO และ TTB ด้วย
ปรับลดน้ำหนักของกลุ่มเป็นถือ โดย BBL, KTB และ TTB ยังดีกว่ากลุ่ม
การปรับลดประมาณการ GDP จากธนาคาร อันเป็นผลจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ค่อนข้างช้า ทำให้การฟื้นตัวของธนาคารคาดว่าจะล่าจากเดิม และอาจจะเห็นการฟื้นตัวในปลายปี ทำให้เราปรับมุมมองฟื้นตัวของกลุ่มฯ ทั้งนี้เรายังชอง BBL และ KTB มากกว่ากลุ่มจากการมีสำรองส่วนเกินรองรับหนี้เสียในอนาคตในขณะที่ สิทธิประโยชน์ทางภาษี (tax shield) จะช่วยหนุนการเติบโตกำไรของ TTB
Risks
NPLs เพิ่มขึ้น และ ตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน