วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.เคจีไอฯ KBANK ความเสี่ยงของNPL ใหม่มีต่ำกว่าธนาคารอื่น
การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลเพิ่มขึ้นอาจจะเป็นสัญญาณที่เริ่มจะดีสำหรับ KBANK ในการบริหารนโยบายเงินปันผล, การบริหารเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่ม ROE ซึ่งท้ายที่สุดจะส่งผลดีต่อมูลค่าหุ้นในระยะยาว
ทั้งนี้ KBANK เพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผลสำหรับกำไรปี 2566 เป็น 36% จาก 25-26% ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และ พิจารณาจะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผลขึ้นอีกเมื่อมีฐานทุนเพียงพอสำหรับการลงทุนในอนาคต และ CET1 ยืนเหนือระดับ 13-15% แล้ว โดยมีการตั้งเป้าจะลด credit cost ลงเหลือ 140-160bps (จาก 189% ใน 1H67 และ จากเป้าปีนี้ที่ 175-195bps) หลังแผนล้างงบดุลเสร็จในสิ้นปีนี้
แผนล้างงบดุลของ KBANK เป็นประเด็นท้าทายสำหรับแนวโน้มใน 2H67F
KBANK กำหนดคชจ.สำรองฯ( credit cost) ไว้สูงติดกันมาสามปีแล้ว (ปีละ 207bps ในปี 2565 และ 2566
และ 189bps ในปี 2567) เพื่อล้าง NPL จาก COVID และ NPL ตกค้าง (legacy NPL) รวมถึง write-off หนี้
เสีย โดยในขณะนี้ สินเชื่อ COVID ถูกบริหารจัดการภายใต้โครงการ CDR ซึ่งคิดเป็น 7.1% ของสินเชื่อรวม (ลดลงจาก 13% เมื่อมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ถูกกระทบจาก COVID สิ้นสุดลงในปี 2564
นอกจากนี้ การขาย NPL ไปให้กับ AMC และ การตัดหนี้สูญ (write-off) หนี้เสียยังทำให้สินเชื่อ CDR ลดลงไปด้วย แต่การจะลดเพิ่มจากนี้ไปอาจจะไม่ง่ายแล้ว เพราะภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้นของ JV AMC และ แรงกดดันจากราคาขาย NPL ในตลาด เรามองว่า ณ ระดับนี้ KBANK จำเป็นต้องตั้ง JVAMC ใหม่ร่วมกับพันธมิตรอีกราย หรือไม่ก็ต้องจัดการเองเป็นการภายในด้วยการ write-off หนี้เสีย
ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2567F 6% แต่คงกำไรปี 2568F และ ปรับ TP-67F เป็น 152 บาท
เนื่องจากมีการบันทึกกำไร MTM จากการลงทุนทำให้กำไรสุทธิในงวด 1H67 สูงกว่าประมาณการ และ มี
สัญญาณว่ากำไรส่วนนี้จะยังคงเพิ่มขึ้นอีก เราจึงปรับเพิ่มประมาณการรายได้รายการนี้เป็น 1.1 หมื่นล้านบาทในปี 2567 และ ในปี 2568 นอกจากนี้ เรายังปรับเพิ่มสมมติฐานอัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมปี 2567/2568 เป็น 4%/5%, ปรับเพิ่มส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทในเครือเป็น 300 ล้านบาท/500 ล้านบาท (จากเดิม -Bt100 ล้านบาท/+500 ล้านบาท), ปรับลดสมมติฐานเบี้ยประกัน, และ ปรับลดสมมติฐาน NIM ปี 2568F ลง 10bps ทั้งนี้ หลังจากปรบสมมติฐานดังกล่าวแล้ว กำไรสุทธิในงวด 1H67 จะคิดเป็น 57% ของประมาณการกำไรเต็มปีของเรา ทั้งนี้ ในสมมติฐานของเรายังใส่สมมติฐานว่ามีการ write-off หนี้เสียก้อนใหญ่ และ มีการกำหนด credit cost เพิ่มขึ้นใน 2H67F ในขณะที่คาดว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจะสูงตามฤดูกาลใน 4Q67F และ ใช้สมมติฐานว่าอัตราการจ่ายเงินปันผลในปีนี้ยังอยู่ในระดับเท่าเดิมที่ 36% ซึ่งเมื่อใช้ PBV ที่ 0.6x ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายปี 2567F ใหม่ที่ 152 บาท (เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 141 บาท) ดังนั้น เราจึงยังคงคำแนะนำถือ KBANK
Risks
NPLs และ credit cost เพิ่มขึ้น.