วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector Virtual banks 101
ตามกรอบเวลาที่ ธปท. เปิดให้ยื่นขอใบอนุญาต Virtual bank ในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามี 5 กลุ่มที่รวมตัวกันยื่นขอใบอนุญาต
ได้แก่ 1.) กลุ่ม KTB (ประกอบด้วย KTB AIS GULF PTTOR) 2.) CP 3.) SCB 4.) BBL VGI Group และ กลุ่มบริษัทในประเทศ (Saha Patanapibul) และ 5.) Lightnet Group และ WeLap ทั้งนี้ ตามแนวทางที่ ธปท. เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้ ธปท. มีความต้องการเห็นผู้ประกอบการแบงก์รายใหม่ที่เน้นการทำธุรกิจบนระบบฐานข้อมูลที่เปิด และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน (financial inclusion) โดยธปท.จะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้น virtual bank m ได้ใบอนุญาตต้องเปิดดำเนินงานในช่วงทดลอง (trial period) เป็นเวลา 3- 5 ปี โดยจะต้องปีเงินทุนชำระแล้วเริ่มต้น 5.0 พันล้านบาท จากนั้นต้องเพิ่มเป็น 1.0 หมื่นล้านบาทหลังผ่านช่วงทดลองไปแล้ว เรามองว่าในห้ากลุ่มที่ยื่นขอใบอนุญาต KTB CP และ BBL น่าจะได้ใบอนุญาต ในขณะที่ SCB และ Lightnet Group น่าจะต้องแข่งขันกัน
Virtual bank – ยังเป็นธุรกิจที่ขาดทุนในช่วง 5 ปีแรก
ในส่วนของสิงคโปร์ ธนาคารกลางออกใบอนุญาต virtual bank จำนวน 5 ใบ เมื่อปี 2562 ส่วนของมาเลเซียออกใบอนุญาต 6 ใบเมื่อปี 2565 โดยผู้เล่นหลักในสิงคโปร์ และ มาเลเซียเป็นกลุ่มเดียวกันคือ “Grab และ Singtel” ส่วนผู้เล่นรายอื่น ๆ มาจาก fintech startup ในประเทศ อย่างไรก็ตาม virtual bank ในอินโดนีเซีย (ใบอนุญาต 9 ใบ) นำโดยธนาคารต่างประเทศ และ fintech startup ในประเทศซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นในทุกประเทศยังไม่มีกิจการไหนที่ทำกำไรได้เลย อย่างไรก็ตาม vitual bank ในเกาหลีใต้ (ใบอนุญาต 3 ใบ) สามารถทำกำไรได้ภายใน 3 ปีหลังเปิดดำเนินการ โดยเน้นธุรกิจเฉพาะ และ cryptocurrency โดยไม่มีข้อจำกัดในการขยายธุรกิจ และ ขอบเขตของธุรกิจ
Virtual bank จะส่งผลดีกับ KTB และ BBL แต่อาจจะไม่ส่งผลดีกับ SCB
ในสามธนาคารใหญ่ที่ยื่นขอใบอนุญาต (KTB BBL SCB) เราคิดว่า virtual bank จะส่งผลดีกับ KTB และ BBL แต่อาจจะไม่ส่งผลดีกับ SCB ถ้าธนาคารนำ virtual bank ไปใช้ให้บริการด้านการธนาคารสำหรับรายย่อยเพราะถือว่าทับซ้อนกัน ส่วนในกรณีของ BBL เนื่องจากธุรกิจรายย่อยของธนาคารมีสัดส่วนต่ำดังจะเห็นได้จากสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยที่ <15% การเข้ามาของ BBL ยังมีโอกาสจะขยายฐานลูกค้ารายย่อยได้จากฐานลูกค้ารายย่อยที่มีขนาดใหญ่ของพันธมิตร ในขณะเดียวกัน KTB และ พันธมิตรมีแนวโน้มจะได้อานิสงส์มากที่สุดในแง่ของการใช้ข้อมูลทางเลือก (alternative data) จาก AIS และ PTTOR ส่วนที่นอกระบบธนาคาร การปรับปรุงยอดเก็บเงินสด และ คุณภาพสินทรัพย์ รวมถึงการขยายสินเชื่อเพิ่มในอนาคตด้วย
Risks
การแข่งขันสูงขึ้น