วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector - กำไรโตแบบชะลอตัวลง

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector - กำไรโตแบบชะลอตัวลง

คาดกำไรสุทธิของธนาคารส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงใน 3Q67F เนื่องจาก 1.) สินเชื่อหลายกลุ่มโตลดลงจากการใช้นโยบายการปล่อยกู้อย่างระมัดระวัง และ การชำระคืนเงินกู้สินเชื่อธุรกิจ

2.) NIM ลดลงจากการขยายสินเชื่อยีลด์ต่ำในตลาดเงิน 3.) รายได้ค่าธรรมเนียมยังโตต่ำตามสินเชื่อที่หด
ตัวลง 4.) ค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) ของ KBANK SCB TISCO เพิ่มขึ้นเพื่อตัดหนี้สูญ แต่ค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) ของ BBL และ KKP ลดลงจากที่ตั้งไว้สูงเกินไปในงวด 1H67 5.) กำไร FVTPL เพิ่มขึ้น
เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลงช่วยให้มีกำไรพิเศษ และ ตลาดทุนฟื้นตัวขึ้น แต่หากไม่รวมรายการ ค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) และ FVTPL กำไรจากธุรกิจหลักจะลดลง 2% ทั้ง QoQ และ YoY ใน
3Q67F แต่จะเพิ่มขึ้น 5% ในงวด 9M67F

ค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ KBANK SCB TISCO

เราคิดว่าธนาคารส่วนใหญ่นำกำไรส่วนเกินในงวด 1H67 มาตั้งเป็นค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) ตลอด 2 H67F ตามเพื่อบรรลุแผนการล้างหนี้เสียในงบดุล ดังนั้น เราจึงคาดว่า ค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) ของ
เกือบทุกธนาคารจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ KBANK และ SCB ซึ่งตั้งเป้าจะล้าง NPL ค้างเก่า (Legacy NPL)
และ covid-NPL ให้หมดภายในปี 2567 ก่อนที่จะลดค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) ลงในปี 2568F ส่วน KTB จะตั้งสำรองด้อยค่า (Impairment NPA) สูงขึ้น อย่างไรก็ตามว่าแม้จะใช้สมมติฐานว่าอัตราการเติบโตของกำไรจะชะลอลง และค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) จะเพิ่มขึ้น แต่กำไรสุทธิใน 9M67F ยังมีแนวโน้ม
แข็งแกร่งต่อเนื่อง และไม่ได้กระทบประมาณการทั้งปี ทั้งนี้กำไร 9M67F คิดเป็น 80% ของกำไรทั้งปี และโดยคิดเป็น 83% ของประมาณการกำไรเต็มปีของ KBANK และ 74% ในกรณีของ SCB ในขณะเดียวกัน TISCO จำเป็นต้องกำหนด credit cost เพิ่มขึ้น เพราะตั้งไว้ต่ำเกินไปใน 1H67 และ ส่วนรองรับหนี้เสียบางลง

 

 

 

ค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) ของ BBL, KKP, TTB ลดลง

เราคาดว่า BBL จะถูกกดดันในเชิงของ margin แต่กำไร FVTPL ที่แข็งแกร่ง และ ส่วนรองรับหนี้เสียที่มากเกินพอจะทำให้ธนาคารสามารถลด credit cost ลงเพื่อบริหารจัดการแรงกดดันทางด้าน NIM และอัตราการเติบโตของกำไรได้ ส่วนในกรณีของ KKP มีการตั้ง credit cost พิเศษสำหรับผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมาไว้ล่วงหน้าในงวด 2Q67 ในขณะที่ราคารถมือสองทรงตัว และ สินเชื่อโตลดลง ซึ่งน่าจะทำให้ธนาคารลด credit cost ลงได้เช่นเดียวกับ TTB

Risks

NPLs เพิ่มขึ้น และ ตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน

 

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector - กำไรโตแบบชะลอตัวลง

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector - กำไรโตแบบชะลอตัวลง

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector - กำไรโตแบบชะลอตัวลง