วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.เคจีไอฯ BBL มีโอกาสจะกลายเป็นหุ้นปันผลในปี 2568
ภายใต้การลดดอกเบี้ยนโยบายสร้างแรงกดดันต่อส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ดูจะเป็นความกังวลที่มากเกินไป เนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่มองว่าการลดอกเบี้ยจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และการลดดอกเบี้ยครั้งถัดไปก็จะไม่เกิดขึ้นในเวลาอันสั้น
โดยในวัฏจักรดอกเบี้ยรอบนี้น่าจะลดดอกเบี้ยอยู่ในช่วง 50bps เท่านั้น ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้น่าจะทำให้ธนาคารสามารถบริการจัดการ NIM ได้มากขึ้น โดย BBL คาดว่า NIM จะถูกฉุดลงประมาณ 15bps+/- ซึ่ง ณ ระดับนี้ เราคาดว่า NIM ในปี 2568F จะลดลง 13bps
Tier I ที่เพิ่มขึ้นทำให้มีโอกาสจะกลายมาเป็นหุ้นปันผลได้ในปี 2568
ภายใต้ดอกเบี้ยลดลง และการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดทุน ทำให้ BBL บันทึกกำไรจากการลงทุนผ่านงบ
กำไร/ขาดทุน และ ฐานทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 3Q67 ซึ่งกำไรจากการลงทุนดังกล่าวทำให้กำไรสุทธิพุ่ง
ทะยานใน 3Q67 และ ทำให้ CETier I เพิ่มขึ้นเป็น 16.6% (จาก 15.3% ใน 2Q67) และ Tier I เพิ่มขึ้นเป็น
17.4% (จาก 16.1%) เรามองว่า Tier I ที่ระดับนี้ถือว่าแข็งแกร่งมาก และอยู่ในระดับใกล้กับช่วงก่อนที่จะ
เข้าไปซื้อ Permana Bank ในปี 2563 ซึ่งในช่วงนั้น BBL มีการอัตราการจ่ายเงินปันผลอยู่ที่ 35-37% (จาก
32% ในปี 2566) ทั้งนี้ เพื่อบริหารจัดการเงินทุน และ อัตรากำไร BBL อาจเลือกเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผลไปเท่ากับระดับก่อน COVID ระบาด ซึ่งจะทำให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลอยู่ที่ประมาณ 6% จากอัตราการจ่ายเงินปันผลที่ 35% -37% โดยเราใช้สมมติฐานอัตราการจ่ายเงินปันผลปี 2567F-2568F ที่ 34%
แนะนำ ซื้อ และ ขยับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2568F ที่ 185 บาท (จากเดิมที่ 176 บาท)
เรายังคงคำแนะนำซื้อ เพื่อสะท้อนถึงการที่ธนาคารบริหารจัดการ NIM ได้ดีกว่าธนาคารอื่น ๆ และ การปลดล็อกรายได้จากมูลค่าที่ซ่อนอยู่ด้วยการกลับรายการสำรองของ THAI หลังจากที่กลับเข้ามาจดทะเบียนใน SET ในปี 2568 นอกจากนี้ เรายังใช้สมมติฐานว่าสินเชื่อจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ 5% ในปี 2568F ในขณะที่คาดว่า NIM จะลดลง 13bps เหลือ NIM 2.87% และ คาดว่าสัดส่วนต้นทุน/รายได้จะยังสูงอยู่ที่ 48% (สูงกว่าของธนาคารอื่น ๆ ที่ <45%) ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนความเป็นหุ้นธนาคารแบบดั้งเดิม
เราจึงประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี PBV โดยให้ discount อย่างมากจากธนาคารอื่น ๆ ที่ 0.6x ซึ่งทำให้ได้ราคาเป้าหมายปี 2568F ใหม่ที่ 185 บาท (เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 176 บาท)
Risks
NPLs เพิ่มขึ้น และ credit cost เพิ่มขึ้น