วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมวันนี้
โมเมนตัมการเติบโตทางเศรษฐกิจมีสัญญาณที่ดี สภาพัฒน์ฯ รายงาน GDP ไตรมาส 3/67 ที่ 3.0% YoY สูงสุดในรอบสองปี และสูงกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 2.6% โดยมีปัจจัยบวกมาจากภาคบริการ (+21.9%), ส่งออก (+8.3%) และการใช้จ่ายภาครัฐ (+6.3%)
เมื่อมองเป็นรายอุตสาหกรรม การเติบโตที่ดีมาจากสาขาก่อสร้าง (+15.5%), ขนส่ง (+9.0%), ที่พักแรมและอาหาร (+8.4%) ขณะที่การเติบโตไม่ดีนักในสาขาเกษตร (-0.5%), อุตสาหกรรม (+0.1%) และการเงิน (+1.8%) ทั้งนี้สภาพัฒน์คงคาดการณ์ GDP ปี 2567 ที่ 2.6% (ช่วง 2.3-2.8%) และ 2568 ที่ 3.0% (ช่วง 2.3-3.3%) อย่างไรก็ตามด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแก้ปัญหาหนี้ รวมถึงมุมมองที่รมว.คลังให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อที่คาดการณ์ GDP ปี 2568 ที่ 3.5% ทำให้เรามองตัวเลขการเติบโตมีอัพไซด์ ซึ่งจะเป็นแรงส่งเชิงบวกต่อ รับเหมาก่อสร้าง, ท่องเที่ยว และธนาคาร
ติดตามการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม คณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ มีการประชุมสำคัญในวันนี้ (19 พ.ย.) ซึ่งจะพิจารณานโยบายหลัก 4 ข้อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ดังนี้ 1) แจกเงินผู้สูงอายุ 10,000 บาท สำหรับผู้มีอายุ 50-60 ปีที่มีรายได้ต่ำ 2) แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน จัดสรรเงินจากกองทุน FIDF เพื่อช่วยปรับโครงสร้างหนี้ โดยลูกหนี้จะจ่ายเฉพาะเงินต้นในช่วง 3 ปีแรกและสามารถปลดชื่อออกจากเครดิตบูโรได้ตามเงื่อนไข 3) บ้านเพื่อทุกครอบครัว ผ่อนชำระเริ่มต้นเพียงเดือนละ 4,000 บาท โดยไม่ต้องมีเงินดาวน์ เพื่อสนับสนุนครอบครัวที่มีรายได้น้อยให้มีบ้านเป็นของตนเอง 4) ปรับค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 400 บาทต่อวันทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.68 มกราคม 2025 และมีแผนปรับเงินเดือนขั้นต่ำจาก 15,000 บาทเป็น 25,000 บาทในระยะต่อไป
เลือกเก็งกำไรรายตัวในภาวะที่ตลาดผันผวน คาดตลาดหุ้นไทยจะยังคงผันผวนในเดือน พ.ย. จากแรงขายทำกำไรหุ้นที่ปรับขึ้นมามาก และการปรับพอร์ตจากความเสี่ยงนโยบายที่เปลี่ยนไปของสหรัฐฯ หลังการเปลี่ยนประธานาธิบดี ทำให้เราแนะนำเลือกเก็งกำไรรายตัว เน้นกลุ่มที่มีแนวโน้มผลประกอบการแข็งแกร่งและได้ประโยชน์จากโมเมนตัมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจรวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ได้แก่ 1) รับเหมา
ก่อสร้างและการใช้จ่ายภาครัฐ (STEC, CK, SAMART, SAMTEL, CSS) 2) ท่องเที่ยว (AOT,ERW,VRANDA) 3) การบริโภคที่ดีในช่วงปลายปี (CPALL, CPAXT, TNP) 4) ได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้แก่ การเงิน (MTC, TIDLOR, KTC, AEONTS) และกลุ่มโรงไฟฟ้า (BGRIM, RATCH, EGCO)
ภาพรวมกลยุทธ์ “กรอบการเก็งกำไร 1,440-1,470 จุด เลือกเก็งกำไรรายตัว สะสมหุ้นที่เข้าสู่ช่วง high season อย่างท่องเที่ยว การแพทย์ เราชอบ AOT, ERW, CENTEL, SPA, VRANDA, BCH, BDMS 2) หุ้นได้ประโยชน์การ Relocation : WHA,TRUE, INSET, ITEL, MFEC, AIT, ICN, LTS 3) หุ้นต่ำมูลค่าทางบัญชี FLOYD, IND, BC
แนวรับ: 1,440 แนวต้าน : 1,470 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• SAMART* (9) : ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนในช่วง 2567-68 ทั้งจากการใช้จ่ายภาครัฐ และการกลับมาเริ่มมีกำไรของบ.ลูกอย่าง SDC ตัดขาดทุน 7.45 บาท
• ERW* (4.60) : ผลการดำเนินงานเข้า high season และได้ประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ตัดขาดทุน 4.02 บาท
• VRANDA* (7) : ผ่านจุดที่แย่สุดในไตรมาส กำไรสุทธิ 3Q67 อยู่ที่ 5 ล้านบาท พลิกจากขาดทุนไทย 3Q66 จากทั้งรายได้ และอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้น ตัดขาดทุน 5.10 บาท
• MENA* (1.60) : กำไรสุทธิ 3Q67 เพิ่มขึ้น 58% qoq จากความต้องการคอนกรีตที่เพิ่มขึ้น ตัดขาดทุน 1.20 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- เฟดเผยแบบจำลอง GDPNow บ่งชี้ GDP สหรัฐ +2.5% ใน Q4/67
- เศรษฐกิจอังกฤษ โตต่ำคาด ในไตรมาส 3 ปมภาคบริการซบเซา การผลิตร่วง
- ตลาดอสังหาฯ ไทย Q3 ยังติดลบ แต่เริ่มเห็นสัญญาณฟื้น รับอานิสงส์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
- แพทองธาร หารือ สี จิ้น ผิง เตรียมเปิดการนำเข้าสินค้าไทยเพิ่ม
- ยอดขายรถยนต์ไทย ร่วง 28% ในไตรมาส 3 ตลาดชะลอตัวต่อเนื่อง 16 เดือน
- บลูบิค ผลงาน Q3/67 เด่น กำไรพุ่ง 115% รายได้ 9 เดือนทะลุพันล้าน
- CCET กำไร 9 เดือนกว่า 1.9 พันลบ.ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ทะลุผลงานทั้งปี 66
- BEM แนะนำ “ซื้อ” เป้า 10.60/ KCE แนะนำ “ถือ” เป้า 28.00 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
22 พ.ย. – JP Inflation Rate (OCt