วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector จากความมีเสถียรภาพสู่ความไม่แน่นอน

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector จากความมีเสถียรภาพสู่ความไม่แน่นอน

รายได้ของธนาคารส่วนใหญ่มีทิศทางลดลงใน 3Q67 โดยเฉพาะรายได้ดอกเบี้ย (NII) เพราะส่วนต่างดอกเบี้ยลดลง โดย NII รวมลดลง 3% QoQ และ YoY 3Q67 และเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงที่ 5% ในงวด 9M67

ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายธนาคาร พบว่า NII ของ KTB เพิ่มขึ้น 8% ใน 9M67, ของ SCB เพิ่มขึ้น 6%,ของ BBL เพิ่มขึ้น 4% และ ของ KBANK เพิ่มขึ้น 3% แต่ของธนาคารขนาดกลาง-เล็กทุกแห่งมี NII ลดลงมาตลอด โดยของ TTB ลดลง 10% ของ KKP ลดลง 9% และ ของ TISCO ลดลง 2% ในขณะเดียวกันอัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมยังเป็นเช่นเดียวกับแนวโน้มของ NII โดยเพิ่มขึ้น 3% QoQ และ4% YoY ใน 3Q67 และ เพิ่มขึ้น 3% ในงวด9M67 ทั้งนี้ รายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน ทิศทางรายได้ที่ลดลงจะส่งผลต่อเนื่องถึง 4Q67 จากการลดดอกเบี้ยเงินกู้

คุณภาพสินทรัพย์จากทรงตัว กลายเป็นทิศทางเพิ่มขึ้น

โดย NPL มีการปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในสินเชื่อหลายกลุ่ม โดยเพิ่มขึ้น 1% QoQ และ 5% YoY เพราะมีการขาย และ write-off NPL น้อยลง โดย NPL ของ BBL เพิ่มขึ้นมากที่สุด แต่ทั้งนี้ NPL มีแนวโน้มจะเร่งตัวขึ้นใน 4Q67F จากการที่สินเชื่อ stage 2 (ค้างชำระ <3 เดือน) ของธนาคารส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งอาจจะทำให้สถานการณ์ NPL แย่ลงไปอีก โดยเฉพาะ SCB และ KBANK ทั้งนี้ จากข้อมูล NPL ทั้งระบบและสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (หรือ SM/loan ที่ค้างชำระ <3 เดือน) แยกตามประเภทสินเชื่อของธปท. สินเชื่อผิดนัดชำระ ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย, สินเชื่อบุคคล และ สินเชื่อ SME จากตัวเลขดังกล่าวทำให้ตึความได้ว่า สินเชื่อค้างชำระ 1-3 เดือน (SM) ของ SCB เพิ่มขึ้นมากที่สุดที่ 5% QoQ และ 27% YoY ใน 3Q67 (มากที่สุดเทียบกับคู่แข่ง) เป็นผลจากหนี้เสียกลุ่มบ้าน และบุคคล ซึ่ง SCB มีสัดส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากที่สุดถึง 32% และ สินเชื่อปลอดหลักประกัน 8% ในขณะที่สินเชื่อค้างชำระ (SM) ของ KBANK และ KTB ก็เริ่มจะขยับเพิ่มขึ้นใน 3Q67 ด้วย

 

 

มาตรการช่วยเหลือจะช่วยยืดระยะเวลาการเปลี่ยนสถานะหนี้มีปัญหาเป็น NPL

รัฐบาลกำลังพิจารณาออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มีปัญหาในส่วนของสินเชื่อ SM และ NPL ที่มีอายุ <1 ปี (ใช้ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567) เพื่อช่วยลูกหนี้ 2.3 ล้านบัญชีที่มีมูลหนี้ 1.3 ล้านล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย และ สินเชื่อผู้บริโภค (figure 2) ซึ่งตามมาตรการนี้ โดยรัฐยอมให้ธนาคารลดค่าใช้จ่ายคุ้มครองเงินฝาก และอุดหนุนอีก รวมเงินที่ได้ 8 หมื่นล้านบาท การออกมาตรการนี้บ่งบอกว่าสถานการณ์หนี้อาจจะอ่อนแอกว่าที่ประเมินเอาไว้ก่อนหน้านี้ และแรงกดดันให้จ่ายเงินช่วยเหลือลูกหนี้ เพื่อแลกกับการชะลอปัญหา NPL และการตั้งสำรองฯ

Risks

NPLs เพิ่มขึ้น และ ตั้งสำรองเพิ่มขึ้น

 

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector จากความมีเสถียรภาพสู่ความไม่แน่นอน

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector จากความมีเสถียรภาพสู่ความไม่แน่นอน

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector จากความมีเสถียรภาพสู่ความไม่แน่นอน

 

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector จากความมีเสถียรภาพสู่ความไม่แน่นอน

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector จากความมีเสถียรภาพสู่ความไม่แน่นอน

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector จากความมีเสถียรภาพสู่ความไม่แน่นอน

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector จากความมีเสถียรภาพสู่ความไม่แน่นอน