CBDC หนุนโอนเงินระหว่างประเทศ ตอบโจทย์การใช้งานยุค "ดิจิทัล"

CBDC หนุนโอนเงินระหว่างประเทศ  ตอบโจทย์การใช้งานยุค "ดิจิทัล"

“คริปโทเคอร์เรนซี” (cryptocurrency) หรือที่รู้จักในชื่อว่า “สกุลเงินดิจิทัล” ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายว่าจะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าที่จะมาทดแทนการใช้เงินสด หรือแม้แต่เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money) เป็นที่นิยมในปัจจุบันได้หรือไม่ และด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ที่อยู่เบื้องหลังอย่างบล็อกเชน (blockchain) ที่มีความปลอดภัย และสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้งาน

ขณะที่เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยลดบทบาทตัวกลางอย่างสถาบันการเงิน ที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ธนาคารกลางทั่วโลกจึงหันมาศึกษาความเป็นไปได้ในการนำบล็อกเชนมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงิน และการออกใช้ Central Bank Digital Currency  หรือ “CBDC” สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าที่จะเป็นตัวแทนของเงินได้จริงๆ

 รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น อาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนตั้งคำถาม ในรายการ คริปโทฯ 101 ซีซั่น 3 โดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ว่า “ทำไมธนาคารกลางจึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกดิจิทัลเคอร์เรนซี ?” จากในปัจจุบัน ประชาชนคุ้นเคยการใช้เงินบาทในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น

และการใช้เงินบาทในรูปแบบดิจิทัลที่ใช้งานผ่านโมบายแบงกิ้ง หรือผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ทรูมันนี่ และวอลเล็ตต่างๆ ซึ่งนับเป็นเงินบาทในรูปแบบดิจิทัล แล้วทำไมจึงต้องพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “ดิจิทัลบาท”

CBDC หนุนโอนเงินระหว่างประเทศ  ตอบโจทย์การใช้งานยุค \"ดิจิทัล\"

รู้หรือไม่ว่าเงินบาทในรูปแบบดิจิทัลของธนาคารพาณิชย์ ที่อยู่บนแพลตฟอร์มโมบายแบงกิ้ง ไม่ใช่เงินบาทดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง จากการใช้เงินบาทที่ออกโดยแบงก์ชาติ ในรูปของธนบัตรไปฝากไว้ที่ธนาคาร และเปลี่ยนสู่รูปแบบดิจิทัลแบงกิ้งโดยมีเงินบาทของประชาชนไปรองรับมูลค่า ซึ่งมีความเสี่ยงเมื่อแบงก์เหล่านั้นล้มเงินบาทนั้นอาจจะหายไปเลย ซึ่งอาจอยู่ในบัญชีแต่ไม่สามารถเรียกร้องได้ รวมถึงอีมันนี่ และดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ออกโดยอีมันนี่โพรไวเดอร์ ซึ่งไม่ใช่ธนาคารกลาง

นั้นหมายความว่าเงินดิจิทัลที่ออกโดย “ธนาคารพาณิชย์” อาจไม่ปลอดภัยเท่ากับเงินที่ออกโดย “ธนาคารกลาง” ในสถานการณ์ที่ธนาคารเกิดวิกฤติทางการเงิน ที่เราเรียกว่า “แบงก์รัป” หรือล้มละลาย ซึ่งมูลค่าของเงินที่ฝากไว้ในธนาคารนั้นๆ หายไปเลย แม้ว่าอีมันนี่ และดิจิทัลวอลเล็ต ทำให้เมื่อเวลาที่ธนาคารพาณิชย์ประสบปัญหา ส่งผลให้ประชาชนหวาดกลัว จึงถอนเงินออกจากธนาคารพาณิชย์มาเป็นเงินของธนาคารกลางในรูปแบบธนบัตรนั่นเอง

“ธนบัตร” คือ ตัวกลางทางการเงิน หรือเงินเพียงอย่างเดียว ที่ออกโดยธนาคารกลางในตอนนี้ ที่การถือธนบัตร หรือเงินสด สามารถสร้างความมั่นใจได้เพียงอย่างเดียว

 ตอบโจทย์ยุคดิจิทัลด้วย “CBDC”

ถ้าหากในอนาคต สังคมไทยมุ่งที่จะเป็น “แคชเลส โซไซตี้” ธนาคารไม่สามารถปล่อยให้ประชาชนใช้เงินดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันโมบายแบงกิ้งจากธนาคารได้เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น เนื่องจากไม่ใช่เงินบาทที่ออกโดยธนาคาร ทำให้ CBDC จึงเป็นการออกดิจิทัลเคอร์เรนซีที่เป็นสกุลเงินที่ออกโดยธนาคารกลางอย่างแท้จริง และเป็นเงินดิจิทัลที่ออกมาตอบโจทย์การใช้งานของประชาชนในปัจจุบันที่ใช้งานดิจิทัลพร้อมเพย์ แบงก์แอคเคาท์กันอย่างแพร่หลาย

นอกจากนี้เวลาที่พูดถึง CBDC คนทั่วไปจะมองว่าเป็นเทคโนโลยีทางการเงินที่ต้องมี “บล็อกเชน” คล้ายกับบิตคอยน์ และคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ ในตลาดคริปโทฯ ซึ่งไม่มีความจำเป็นสำหรับ CBDC เนื่องจากจะเลือกใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน หรือ Centralife System ก็ได้

โดยธนาคารกลางจะออก CBDC และสร้าง Payment System แบบบล็อกเชน หรือ Teer payment system ที่เป็นการวางระดับชั้นของการเงินในระดับประชาชน ธนาคาร ซึ่งแล้วแต่ประเทศที่ต้องการออกแบบรูปแบบทางการเงินแบบDecentralized Finance ระบบการเงินแบบกระจายศูนย์หรือCentralized Financeการเงินแบบรวมศูนย์

เพิ่มประสิทธิภาพโอนเงินระหว่างประเทศ

ประเทศไทยถือเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกในการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงิน (wholesale CBDC) ใน“โครงการอินทนนท์-ไลออนร็อก” ที่มีการทดลองจากธนาคารกลางร่วมสถาบันการเงินในไทย และธนาคารกลางฮ่องกง ที่ทำให้การชำระเงินระหว่างประเทศในอนาคตจะมีความง่ายมากขึ้น และสำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคธุรกิจ และประชาชน (retail CBDC)

อย่างไรก็ตามการพัฒนา CBDC ในกลุ่มรายย่อย ยังไม่ต้องรีบเร่งเพราะการเงินดิจิทัลในปัจจุบันของไทยยังติดอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งไทยควรออกโฮลเซล CBDC ออกมาก่อน เพื่อสนับสนุนการเงินระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เร็วขึ้น ต้นทุนต่ำ

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์