EIC ปรับจีดีพีไทยพุ่ง3.9% จาก3.4% ชี้วิกฤติแบงก์ล้ม ไม่สะเทือนถึงแบงก์ไทย
อีไอซี ปรับจีดีพีไทย ผงาดเป็น 3.9% จาก3.4% หลังคาดนักท่องเที่ยวแตะ 30 ล้านคน จับตา 4 ความเสี่ยงด้านต่ำกดดันเศรษฐกิจไทย
ดร.ฐิติมา ชูเชิด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐกิจและตลาดการเงิน Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า อีไอซี ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2566 จากเดิม 3.4% เพิ่มเป็น 3.9%
โดยมาจากภาคการท่องเที่ยว ที่คาดจะมากกว่าที่คาด สู่30 ล้านคน และมาจากจีน 3.8 ล้านคน และนักท่องเที่ยวไทยกลับมดีเทียบเท่าช่วงก่อนโควิด-19
รวมไปถึง การบริโภคเอกชนที่คาดขยายตัวต่อเนื่องใกล้เคียงกับการเติบโตจีดีพี มาจากภาคการบริการแล่ท่องเที่ยว ขณะที่รายได้ภาคเกษตรเติบโตได้ดี จากปีก่อนขยายตัว 13% แม้ว่าปีนี้จะลดลงแต่เป็นเพราะฐานที่สูง และอัตราเงินเฟ้อปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมาย เนื่องจากภาครัฐมีการอุดหนุนพลังงานต่อเนื่อง ทั้งค่าไฟและก๊าชหุงต้ม รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวลง
ส่งผลให้เงินทั่วไปลดลงอยู่ที่ 2.7% แต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ระดับสูงที่ระดับ 2.4% ขณะที่การส่งออกเป็นบวกเล็กน้อย 1.2%
ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น แต่ยังเผชิญความเสี่ยงด้านต่ำที่สำคัญ คือ (1) ปัญหา Geopolitics รุนแรงขึ้นอาจกระทบ Global supply chain และการส่งออกไทย (2) นโยบายการเงินโลกตึงตัวแรงขึ้นจากเงินเฟ้อโลกลดลงช้า
(3) หนี้ครัวเรือนกลับมาเร่งตัวส่งผลกดดันการบริโภค (4) ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจกระทบความเชื่อมั่นในการลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐในระยะข้างหน้าได้
รวมถึงความเสี่ยงใหม่จากวิกฤตเสถียรภาพระบบการเงินโลก ถือเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องติดตามใกล้ชิดโอกาสที่จะลุกลามจนเกิดวิกฤตการเงินโลกยังมีน้อยตราบใดที่ธนาคารกลางให้ความมั่นใจได้ว่าสามารถให้ความช่วยเหลือสภาพคล่องได้เพียงพอและทันการณ์ ทำให้ความเชื่อมั่นในเสถียรภาพระบบธนาคารทั่วโลกยังเข้มแข็งอยู่
ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ในสหรัฐฯ และธนาคารเครดิต สวิส (Credit Suisse) ในยุโรป นั้น มองว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความเสี่ยงแบบเฉพาะเจาะจง (Specifc Risk) ของภาคการเงิน ซึ่งเบื้องต้นมองว่าในท้ายที่สุดความเสี่ยงที่จะลุกลามจนเกิดวิกฤตการเงินโลกเหมือนในปี 2551 ยังคงมีน้อย และสิ่งที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นกับไทยคงไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ธนาคารไม่ได้นิ่งนอนใจและยังคงติดตามสถานการณ์อยู่
ทั้งนี้ สาเหตุที่มองว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นกับไทย จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ 1.ฐานะเงินกองทุนของไทยอยู่ในระดับสูง 2.ธนาคารไทยไม่ได้ทำธุรกิจในลักษณะดียวกับสถาบันการเงินที่มีปัญหา
และ 3.การลุกลามจะไม่เกิดขึ้น เพราะ Capital ของไทยถือว่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับยุโรป
อย่างไรก็ดี หากดูภายใต้ปัจจัยที่จะส่งผลให้สถานการณ์เกิดการลุกลามได้นั้น จะต้องเกิดขึ้น 2 ข้อ คือ 1.เกิดภาวะ Bank Run ต่อเนื่อง 2.ความช่วยเหลือเพียงพอหรือไม่ ซึ่งหากมองไปข้างหน้า So Far ปัจจุบันถือว่าออกมาค่อนข้างเร็ว โดยหากทั้ง 2 ข้อเกิดขึ้นจะส่งผลให้สถานการณ์ลุกลามต่อได้
และหากเกิดการลุกลามของสถานการณ์จะเห็นผลกระทบ 4 ช่องทางด้วย คือ 1.เงินทุนไหลออกรุนแรงจากภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk off) เทขายสินทรัพย์และไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย ราคาสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น high yield bond ลดลงรุนแรง
2.นโยบายการเงินมีความแตกต่างกันมากขึ้น โดยจะเห็นธนาคารกลางบางประเทศเร่งขึ้นดอกเบี้ย บางประเทศลดดอกเบี้ย ซึ่งปัจจัยนี้จะสร้างความผันผวน และไทยจะทนได้หรือไม่
3.ภาวะการเงินตึงตัวขึ้น โดยเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อในประเทศมีความเข้มงวดมากขึ้นตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น การขาดสภาพคล่องในตลาดการเงินโลก ซึ่งจะมีผลต่อการเติบโตของสินเชื่อและการลงทุน
และ 4.การส่งออกหดตัวตามอุปสงค์การนำเข้าโดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่จะลดลงตามภาวะการเงินตึงตัวและเศรษฐกิจถดถอย