สรรพากรดันบริจาคผ่าน e-donation ลดหย่อนภาษีสองเท่า
สรรพากรเตรียมให้การบริจาคที่จะได้รับการหักค่าลดหย่อนได้เป็นสองเท่าจะต้องผ่านระบบ e-donation เท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริจาคสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้โดยไม่ต้องเก็บหลักฐานการบริจาคมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่
นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากรเปิดเผยว่า กรมสรรพากรเตรียมจะกำหนดให้การบริจาคที่จะได้รับการหักค่าลดหย่อนได้เป็นสองเท่าจะต้องผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า e-donation เท่านั้น เพื่อเป็นแนายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากรเปิดเผยว่า กรมสรรพากรเตรียมจะกำหนดให้การบริจาคที่จะได้รับการหักค่าลดหย่อนได้เป็นสองเท่าจะต้องผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า e-donation เท่านั้น เพื่อเป็นแรงจูงใจให้การบริจาคเป็นไปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ซึ่งผู้บริจาคไม่ต้องเก็บหลักฐานการบริจาคที่เป็นกระดาษ ขณะที่ ข้อมูลการบริจาคในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จะถูกลิงค์เข้า My Tax Account ทันทีงจูงใจให้การบริจาคเป็นไปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ซึ่งผู้บริจาคไม่ต้องเก็บหลักฐานการบริจาคที่เป็นกระดาษ ขณะที่ ข้อมูลการบริจาคในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จะถูกลิงค์เข้า My Tax Account ทันที
ทั้งนี้ ในปัจจุบันเงินบริจาคที่ให้แก่หน่วยงานหรือองค์กร มีการหักค่าลดหย่อนที่แตกต่างกัน เป็น 4 กรณีคือ 1. เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/กีฬา/พัฒนาสังคม หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน 2.เงินบริจาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
3.เงินบริจาคทั่วไป หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น 4.เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
“เพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร เตรียมที่จะกำหนดว่า กรณีที่เป็นเงินบริจาคให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่สามารถนำรายจ่ายที่บริจาคมาหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษีได้สองเท่า นั้น จะต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e-donation เท่านั้น เพื่อโน้มน้าวให้คนบริจาคหันมาบริจาคผ่าน e-donation ให้มากขึ้น”
ทั้งนี้ การบริจาคผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน ผู้บริจาคสามารถทำได้ในสองวิธีคือ การสแกน QR code ของหน่วยรับบริจาค และการบริจาคเป็นเงินสดที่หน่วยรับบริจาค โดยแจ้งเลขที่บัตรประชาชนของตนเอง ให้หน่วยรับบริจาคนำไปลงในระบบ e-donation ซึ่งผู้บริจาคสามารถตรวจสอบการบริจาคของตนได้บน web site ของกรมสรรพากร
ทั้งนี้ ในปี 2565 การบริจาคผ่านหน่วยรับบริจาคและให้หน่วยรับบริจาคลงระบบให้ และการบริจาคผ่าน QR code รวมเป็นจำนวนราย 2.26 ล้านราย คิดเป็นรายการที่บริจาค ( Transaction) 5.09 ล้านรายการ รวมเป็นวงเงินที่บริจาค 1.19 หมื่นล้านบาท เทียบกับปี 2564 มีจำนวนรายที่บริจาค 1.37 ล้านราย จำนวนรายการที่บริจาค 2.93 ล้านรายการ และจำนวนเงินที่บริจาค 9.72 พันล้านบาท
สำหรับระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการรองรับข้อมูลการรับบริจาคของ สถานศึกษา ศาสนสถาน สถานพยาบาล องค์กรสาธารณกุศล และหน่วยรับบริจาคอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนด ให้สามารถนำการบริจาคมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริจาค ให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้โดยไม่ต้องเก็บหลักฐานการบริจาคมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะช่วยให้ ผู้บริจาคได้รับเงินคืนภาษีได้รวดเร็วขึ้น