MFC รุกปรับโฉมการตลาด ลุยธุรกิจกองทุน มั่นใจAUMปีนี้โตเด่นกว่าอุตสาหกรรม
บลจ.เอ็มเอฟซี เผย 8 เดือนแรกปีนี้ AUMแตะ 4.49 แสนล้านโต 4.5%จากสิ้นปีก่อน รุกปรับโฉมธุรกิจกองทุน ลุยการตลาดเต็มสูบ และพร้อมออกกองทุนนวัตกรรมใหม่ อีก1-2กองโค้งท้ายปี มั่นใจAUMปีนี้โตเด่นกว่าอุตสาหกรรม พร้อมรักษาผู้นำธุรกิจกองทุนรวมที่ไม่มีแบงก์แม่
นายเกษตร ชัยวันเพ็ญ ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด สายการขายและการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอ็มเอฟซี หรือ MFC กล่าวว่า สำหรับผลการดำเนินธุรกิจในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ(AUM) รวมทั้งสิ้น 449,166.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้น4.5% จากสิ้นปี 2565 อยู่ที่ 429,811.62 ล้านบาท โดยในช่วงที่เหลือของปีนี้มั่นใจว่าผลการดำเนินงานยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่องมีAUMทั้งปีนี้สามารถเติบโตได้มากกว่าอุตสาหกรรมกองทุนรวม
สำหรับกลยุทธ์ช่วงที่เหลือของปีนี้ บริษัทเดินหน้าปรับโฉมธุรกิจบลจ. โดยแยกทีมงานการตลาดออกจากงานการขาย เพื่อทีมการตลาดสามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในภาคอุตสาหกรรมกองทุนและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าและแสวงหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ นอกจากนี้ ศึกษาผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระยะข้างหน้า
เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของทั้ง3ธุรกิจหลัก คือ กองทุนรวม (MF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนส่วนบุคคล(PF)
สำหรับกองทุนการธุรกิจกองทุนรวม(MF) มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุนหลากหลายและธีมการลงทุนใหม่ไม่ใช่การลงทุนแบบดั้งเดิม (Traditional ) ล่าสุด เตรียมออกกองทุนรวมใหม่ ในรูปแบบ innovation product ที่ไม่เคยมีมาก่อนในไทย อีก 1-2 กองทุน ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ถือมองว่าเป็นช่วงเวลาเหมาะสมของการลงทุนและสามารถสร้างผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ และพัฒนาแอพพลิเคชั่นการลงทุนที่สามารถตอบโจทย์การลงทุนได้ทุกช่วงวัย “MFC เพื่อนสนิททางการลงทุน” และให้ความสำคัญ กับความยั่งยืน (ESG) ทั้งการบริหารองค์กรและการลงทุน วางเป้าหมายเป็นรักษาผู้นำ AUM ธุรกิจกองทุนรวม ในกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ภายใต้แบงก์แม่( Non-Bank ) ปัจจุบันอยู่ที่ 200,000 ล้านบาท มั่นใจว่ายังสามารถเติบโตได้ในปี2567
ทางด้านธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD) มุ่งพัฒนาเพิ่มจุดเด่นสินทรัพย์การลงทุนมากกว่า20 แบบให้องค์กรเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับแต่ละองค์กร เป็นจุดเด่นเมื่อเทียบกับตลาดมีราว 10 แบบ พร้อมกับขยายฐานกลุ่มลูกค้าองค์กรเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ควบคู่กัน รวมถึงใช้แอพพลิเคชั่นตอบโจทย์การลงทุนเป็นหลัก ปัจจุบันธุรกิจPVD มีAUM ที่ 100,000 ล้านบาท อยู่ในอันดับ 1 ใน5 ของตลาด หวังขยับอันดับขึ้นในปี2567 จากการที่กลุ่มรัฐวิสาหกิที่มีกองทุน PVDครบกำหนดแล้วต้องการเปลี่ยนการลงทุนค่อยข้างมากกว่าปีนี้
ในส่วนธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล (PF) เน้นขยายฐานลูกค้ากลุ่มมหาวิยาลัย องค์กรอิสระ และมูลนิธิ ที่มีเงินเหลือต้องการแบ่งเงินเป็นหลัก 100 ล้านบาท กระจายการลงทุนหาผลตอบแทนเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ยังหาโอกาสช่องทางตัวแทนขายและแบงก์พันธมิตร ซึ่งปัจจุบันมีพันธมิตรแบงก์ครบแล้ว โดยจะนำเสนอผลิตภัณฑ์กองทุนความที่หลากหลายและแข่งขันได้ เพื่อเลือกกองทุนของ MFC เป็นรายแรกในดิจิทัลวอลเลทการลงทุนของแบงก์
ทางด้านความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ (กบข.) นายเกษตร กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติ กบช. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ส่งให้สำนักงานคณะกรรมกฤษฏีกา ตรวจสอบแก้ไขนั้น ล่าสุดพร้อมแล้ว ซึ่งกระบวนการหลังจากนี้ รอประกาศกระทรวงการคลัง นำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) และนำเสนอเข้สภาฯพิจารณาต่อไป คาดว่าเร็วที่สุด ร่าง พ.ร.บ. กบช. น่าจะประกาศได้ปลายปี 2567 และเริ่มมีผลบังคับใช้ได้ ปลายปี 2568