ThaiBMA ขึ้นเครื่องหมาย IC เตือนระวังลงทุนหุ้นกู้ MK 5 รุ่น จ่อขอขยาย D/E Ratio

ThaiBMA ขึ้นเครื่องหมาย IC เตือนระวังลงทุนหุ้นกู้ MK 5 รุ่น จ่อขอขยาย D/E Ratio

ThaiBMA เครื่องหมาย IC เตือนระวังลงทุนหุ้นกู้ MK จำนวน 5 รุ่น หลังบริษัทแจ้งปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ดังกล่าว 31 ม.ค. 67 และเตรียมเปิดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ 14 ก.พ. 67 ขอขยาย D/E Ratio

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยข้อมูลผ่านเว็บไซต์สมาคมฯ วานนี้ (18 ม.ค.) ขึ้นเครื่องหมาย IC  หรือ Investor Caution ให้แก่หุ้นกู้ MK249A MK252A MK253A MK256A และ MK263A

หลังจาก บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน)หรือ MK  ในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ ได้แจ้งการกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้จัดส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อพิจารณาเรื่องการขอแก้ไขข้อกำหนดสิทธิในส่วนของข้อกำหนดด้านการเงิน ของหุ้นกู้ 5 รุ่น โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียน  31 ม.ค.2567 และวันจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ 14 ก.พ. 2567  


โดยมีรายละเอียดดังนี้ บริษัทประสงค์จะจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 ในวันพุธ ที่  14 ก.พ. 2567สำหรับหุ้นกู้ ต่อไปนี้  
1. หุ้นกู้ของบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2565 ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2567 (MK249A)


2.หุ้นกู้ของบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 22565 ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2568 (MK256A)


3.หุ้นกู้ของบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 32565 ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2568 (MK253A)


4.หุ้นกู้ของบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2566 ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2569 (MK263A)


5. หุ้นกู้ของบริษัท มั่นคงคหะการ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 22566 ครบกำหนดไก่ถอนปี พ.ศ. 2568 (MK252A)
 

เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ของบริษัทในฐานะผู้ขึ้นทะเบียนตราสารหนี้และตามชัอกำหนดว่าด้วยสิทธิและ หน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้สำหรับหุ้นกู้ดังกล่าว บริษัทขอเรียนว่า บริษัทจะจัดให้มีการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้เพื่อจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัท ครั้งที่ 1/2567 ในวันพุธที่ 31 ม.ค. 2567

ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการส่งสำเนาหนังสือเชิญประชุมให้ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นกู้ต่อไป


รายงานข่าวจากสมาคมตราสารหนี้ฯ กล่าวว่า การขึ้นเครื่องหมาย IC ของสมาคมฯ เป็นการแจ้งเตือนนักลงทุน  ให้ระมัดระวังการลงทุนหุ้นกู้

สำหรับกรณี MK มีการขอแก้ไขข้อกำหนดสิทธิ ซึ่งเป็นการขอแก้ไขข้อกำหนดสิทธิ โดยเพิ่มอัตราส่วน DE/Ratio เพื่อให้บริษัทสามารถมีหนี้้เพิ่มเติมได้จากที่ตกลงไว้ก่อนหน้า