‘ขัตติยา’กสิกรไทย มอง ‘อาเซียน’เป็นโอกาสสำหรับแบงก์-ธุรกิจไทย

‘ขัตติยา’กสิกรไทย มอง ‘อาเซียน’เป็นโอกาสสำหรับแบงก์-ธุรกิจไทย

ขัตติยา”กสิกรไทย มองอาเซียนยังเป็นตลาดที่น่าสนใจ สำหรับภาคธุรกิจไทย ในการสร้างการเติบโต คาด 5ประเทศอาเซียนในอีก5ปีโต4.6%แซงหน้าเศรษฐกิจโลก มุมแบงก์มองยังเป็นโอกาสในการขยายบริการทางการเงินที่ดีไปสู่อาเซียนเพิ่มขึ้น

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)กล่าวในงาน ASEAN ECONOMIC OUTLOOK 2025 the rise of asean a renewing opportunity ที่จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” ภายใต้หัวข้อ “พลิกเศรษฐกิจไทยผงาดอาเซียน”ว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่า อาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจมากที่สุดในโลกวันนี้ ความน่าสนใจ คือเรามีความเป็นกลาง ท่ามกลางความปั่นป่วน ผันผวนที่เกิดขึ้นทั่วโลก ดังนั้น “อาเซียน” มีความได้เปรียบในเชิงทั้งภูมิศาสตร์ โลจิสติกส์ ทรัพยากร แรงงงาน ค่าจ้าง ที่ไม่สูงเกินไปนัก ที่ทำให้เรามีความน่าสนใจอย่างมากในการเข้ามาลงทุน 

ในบทบาทของนักธุรกิจไทย มีบทบาทในการลงทุนในประเทศไทย และหาโอกาสทางการตลาด ที่ยังไม่เข้าถึงบริการของเรา มีการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงและมีกำไร เพื่อทำธุรกิจในประเทศไทย

และอีกโจทย์หากรัฐบาลสามารถจัดการปัญหาต่างๆที่ทำให้ประเทศไทยเป็นพี่ใหญ่ของอาเซียนได้ ก็เชื่อว่าจะเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจไทย ที่จะไปลงทุนในอาเซียนเช่นเดียวกัน ธุรกิจไทยก็จะเติบโต ประเทศไทยก็จะเติบโตไปด้วยกัน ‘ขัตติยา’กสิกรไทย มอง ‘อาเซียน’เป็นโอกาสสำหรับแบงก์-ธุรกิจไทย

เพราะหากดูภาพรวมของประเทศอาเซียนในด้านต่างๆพบว่า ในกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศ ทั้ง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร และไทย ในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นมหาศาล 

โดยคาดการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียน 5 ประเทศจะเติบโตได้อย่างน้อย 4.6% ใน อีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะแซงเศรษฐกิจโลกที่เติบโตอยู่ที่ 3.1% เวียดนามจะโต 6.4% อินโดโต 5% ในมุมของอินโด ยังมีจุดแข็งจุดเด่นคือทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีจุดเด่นในการทำอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ รถยนต์ไฟฟ้าฯ เวียดนามมีจุดเด่นคือ ค่าแรงที่ต่ำ และมาตรการทางการค้าที่มีทั้งทวิภาคี และพยุหภาคี ขณะที่ธุรกิจไทย มีจุดแข็งความรู้ประสบการณ์ที่พร้อมลงทุน  

อีกมุม ในแง่ของขนาดตลาด หากดูประชากรในปัจจุบัน และในปี 2050 พบว่า เวียดนาม99ล้านคน ในปี 2050 จะมี107ล้านคน อินโดปัจจุบันอยู่ที่ 277 ล้านคน อนาคตจะเพิ่มเป็น 317 ล้านคน ฉะนั้นตลาดเหล่านี้ใหญ่มาก และยังเป็นวัยที่มีกำลังซื้อกำลังใช้ 

ทั้งนี้ ในมุมของการเข้าสู่สังคมสูงวัย พบว่า เวียดนามอีก 10กว่าปี มาเลเซีย อินโดนีเซียจะใช้เวลาอีก 20ปี ดังนั้นตลาดเหล่านี้เป็นตลาดที่ยังมีโอกาสในการทำมาค้าขายเพิ่มขึ้น  

ดังนั้นมองในมุมของธนาคาร ที่จะเป็นโอกาสในการทำธุรกิจของธนาคารมองน้อยอย่างไร หากวัดจากประชากรที่ยังไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการที่ดี ในราคาที่ยุติธรรมพบว่า อินโดนีเซีย 48% เวียดนามมี 43% จีน 11% และประเทศไทย 5% ฉะนั้นถามในมุมของธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารกสิกรไทย มองว่าตลาดหลักคงยังเป็นประเทศไทยแน่นอน แต่จะทำอย่างไรที่ประเทศไทย จะสามารถกระจายบริการทางการเงินที่ดี ไปสู่ประชากรในประเทศต่างๆได้มากขึ้น เพราะมองว่าตลาดอาเซียนยังมีความน่าสนใจ ทั้งจำนวน และการเติบโต 

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภายใต้ การออกไปหาน่านน้ำใหม่ ในการทำธุรกิจ ระหว่างการเดินทางอาจต้องเจอกับพายุ ฝนลมแรงคลื่นลมแรง หรือ เจ้าที่ของประเทศนั้นๆอยู่แล้ว ดังนั้นเราต้องคิดเตรียมตัว วางแผนอย่างไรให้รอบคอบเพื่อจะไปชนะในที่ใหม่ โดยมองว่า การจะออกไปเติบโตอย่างประสบความสำเร็จในประเทศอาเซียนได้ ต้องอาศัยทั้ง 
know How , kno where,Know Who,

know How คือรู้จักธุรกิจของเรา รู้จักผลิตภัณฑ์ และพัฒนาสินค้าตลอด และต้องให้มั่นใจว่าพร้อมปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว 

Know where ไม่ใช่แค่ว่าจะไปตลาดไหน แต่ต้องรู้พฤติกรรมของลูกค้า กฎระเบียบข้อบังคับของประเทศต่างๆว่าจะกระทบต่อการทำธุรกิจอย่างไร 

Know who คือการรู้จัก regulator ผู้กำกับประเทศต่างๆ ที่จะเป็นตัวช่วยในการทำธุรกิจที่ดีขึ้นในประเทศนั้นๆ และสุดท้ายคือ Local strategic partnership  ที่พร้อมทำงานร่วมกัน พร้อมร่วมเป็นร่วมตายไปกับเราไม่ใช่แค่ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 

สุดท้ายมองว่า หากประเทศไทยเรา สามารถ  Leverrage ประเทศไทยออกไปยังอาเซียนได้ ภายใต้การช่วยด้านกฎระเบียบต่างๆของรัฐบาล ดังนั้นหน้าที่ของเรา ของธุรกิจ คือต้องทำให้สำเร็จให้ได้ และถ้าจะไปอาเซียน ก็เชื่ออย่างมากว่า ไม่มีธุรกิจไหน ประเทศไหน ที่จะทำให้สำเร็จเท่ากับประเทศไทยแล้ว 
‘ขัตติยา’กสิกรไทย มอง ‘อาเซียน’เป็นโอกาสสำหรับแบงก์-ธุรกิจไทย