คาด ‘พาวเวลล์’ คงดอกเบี้ย แม้ทรัมป์กดดันให้ ‘ลด’ ท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน

คาด ‘พาวเวลล์’ คงดอกเบี้ย แม้ทรัมป์กดดันให้ ‘ลด’ ท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน

คาด ‘พาวเวลล์’ ไม่ลดดอกเบี้ย แม้ ‘ทรัมป์’ กดดันให้ ‘ลด’ ท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน หวั่น 3 นโยบายทรัมป์ดันเงินเฟ้อ FedWatch บ่งชี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 97.3% คงดอกเบี้ย และอาจคงดอกเบี้ยนานถึงเดือน มิ.ย.

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานถึง ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ “เฟด” มีการจัดการประชุมนโยบายการเงิน FOMC ในสัปดาห์นี้  ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ประธานาธิบดี "โดนัลด์ ทรัมป์" เข้ารับตำแหน่งในวาระที่สอง ซึ่งมีท่าทีชัดเจนถึงความต้องการให้มีการ “ลดอัตราดอกเบี้ย

แต่หากพิจารณาปัจจัยหลายด้านที่อาจส่งผลให้การกำหนดนโยบายในปีนี้มีความซับซ้อน และมีความเป็นไปได้สูงที่จะทำให้เฟดต้องชะลอการดำเนินนโยบายออกไปก่อน  FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 97.3% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมวันที่ 28-29 ม.ค. 

นอกจากนี้คาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงเดือนมิถุนายน เพื่อรอให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายต่างๆ ภายใต้รัฐบาลทรัมป์มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายด้านภาษี กฎระเบียบต่างๆ และนโยบายเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐาน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก แม้ว่าทรัมป์จะออกมาเรียกร้องให้เฟดลดอัตราดอกเบี้ย แต่ในความเป็นจริงแล้ว เฟดมีอิสระในการตัดสินใจและไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของประธานาธิบดีโดยตรง

คาดเฟดไม่ ‘ลดดอกเบี้ย’

นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางอาจจะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมากกับคำพูดของ “เจอโรม พาวเวลล์” ประธานธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ เพราะอัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาถ้อยแถลงของพาเวลล์ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดหุ้น ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องการทราบว่าเฟดมองแนวโน้มอัตราเงินเฟ้ออย่างไร เพราะหากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น เฟดอาจจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น

จับตาตัวเลข ‘เงินเฟ้อ’

โรเบิร์ต สตีเวน คาปลาน รองประธานบริษัทโกลด์แมน แซคส์ให้ความเห็นว่า การที่ธนาคารกลางสหรัฐไม่ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอัตราเงินเฟ้อซึ่งอาจมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น นโยบายของรัฐบาลใหม่ที่อาจส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของรัฐบาล การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และสงครามการค้า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในอนาคต

คาปลานได้ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลง 3 ประการที่อาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ได้แก่ การปรับลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล การทบทวนกฎระเบียบจากคณะที่ปรึกษาที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ซึ่งมีชื่อว่า กระทรวงประสิทธิภาพของรัฐบาล และแนวทาง “drill baby practice” ของทรัมป์ในด้านพลังงาน ตลอดจนความพยายามที่คาดว่าจะทำให้โครงสร้างของภาคส่วนนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น