หุ้น KKP - KBANK กอดคอร่วง เหตุตั้งสำรองสูง งบต่ำคาด
ความเคลื่อนไหวของหุ้น KKP และ KBANK (24 ก.ค.66 เวลา 11.30 น.) KKP อยู่ที่ระดับ 56.50 บาท หรือลดลง 4.00 บาท หรือ -6.61% ด้าน KBANK อยู่ที่ระดับ 125.00 บาท หรือลดลง 4.00 บาท หรือ -3.10% เหตุตั้งสำรองสูงและงบไตรมาส 2/66 ต่ำกว่าคาด
หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์เริ่มทยอยประกาศงบไตรมาส 2/66 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่มีการตั้งสำรองเพิ่ม โดยเฉพาะหุ้น KBANK จากกรณีหุ้น ล่าสุด STARK ล่าสุด หุ้น KKP มีการตั้งสำรองเพิ่มเช่นกัน บวกกับผลประกาศต่ำคาด ส่งผลให้ วันนี้ (24 ก.ค.66) หุ้น KBANK และ KKP ปรับตัวลงมากว่า 6%
ความเคลื่อนไหวของหุ้น KKP และ KBANK (24 ก.ค.66 เวลา 11.30 น.)
- หุ้น KKP อยู่ที่ระดับ 56.50 บาท หรือลดลง 4.00 บาท หรือ -6.61%
- หุ้น KBANK อยู่ที่ระดับ 125.00 บาท หรือลดลง 4.00 บาท หรือ -3.10%
ณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) เปิดเผยกับกรุงเทพธุรกิจว่า หุ้น KKP ที่วันนี้ปรับตัวลดลงมาเนื่องจากงบต่ำคาด เพราะมีเรื่องของการขาดทุน รถยนต์โดนยึดมากขึ้นเพราะราคารถยนต์มือสองปรับตัวลดลงมาด้วย ขณะเดียวกันมีการตั้งสำรองมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอีก ในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วน KBANK คล้ายกันคือมีแนวโน้มการตั้งสำรองสูงในครั้งปีหลังเช่นกัน แม้ว่า งบไตรมาส 2/66 ไม่ได้แย่เหมือน KKP
แนะนำนักลงทุนถ้าจะเข้ามาลงทุนในหุ้นกลุ่มแบงก์ หุ้น SCB น่าจะมีความปลอดภัยมากกว่า และการตั้งสำรองของ STARK จบไปแล้ว ขณะที่ KBANK ผลของ STARK อาจจะต้องมีความเข้มงวดในการตั้งสำรองมากขึ้น เลยทำให้ภาพครึ่งปีหลังตั้งสำรองยังไม่ลด ซึ่งไม่เหมือนกับ SCB ที่ตั้งสำรองมีแนวโน้มลดลง
สำหรับผลการดำเนินงานของธนาคารเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP ไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.66 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ระดับ 1,408.29 ล้านบาท ลดลง 30.74% เมื่อเทียบกับงวดเดียวของปีก่อนก่อนมีกำไรสุทธิอยู่ที่ระดับ 1,408.29 ล้านบาท ลดลง 30.74% เมื่อเทียบกับงวดเดียวของปีก่อนก่อนมีกำไรสุทธิ 2,033.28 ล้านบาท
โดยธนาคารเน้นการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง และมีการพิจารณาสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างระมัดระวัง ส่งผลให้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นปรับเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของสินเชื่อและเพื่อเป็นการรองรับคุณภาพของสินเชื่อภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวเฉพาะส่วนและการแข่งขันที่ปรับตัวรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ธนาคารมีการสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับไตรมาส 2/66 เป็นจำนวน 1,878 ล้านบาท
ทั้งนี้ ไตรมาส 2/66 ธนาคารสร้างรายได้ในระดับที่ดี โดยรายได้รวมจากการดำเนินงานปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 โดยหลักจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณสินเชื่อ ทางด้านรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ13.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/65 ส่วนผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรก สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 66 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ระดับ 3,493 ล้านบาท ลดลง 14.56% เมื่อเทียบกับงวดเดียวของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 4,089 ล้านบาท