ศูนย์การเป็นเลิศด้านถั่วเหลือง สร้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านโปรตีนรุ่นใหม่
สภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐ (USSEC) เปิดศูนย์ความเป็นเลิศด้านถั่วเหลือง (Soy Excellence Centers) สร้างผู้เชี่ยวชาญการผลิตโปรตีนยุคใหม่ในไทยและภูมิภาคเอเชีย
ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นผู้ผลิต น้ำมันถั่วเหลือง รายใหญ่ในภูมิภาค รวมถึงเป็นผู้ส่งออกไก่รายใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลกอีกด้วย ทั้งนี้ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้เล่นหลักในตลาดอาหารโลก จึงจำเป็นต้องมีการวางกลยุทธ์การผลิตอาหารเพื่อตอบรับกับความต้องการที่ขยายตัวมากขึ้นในภูมิภาค ซึ่งเห็นได้ชัดจากการเติบโตของกำลังการผลิตสัตว์ปีกที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดอาหารและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสร้างความมั่นคงทางโภชนาการ แนวโน้มดังกล่าวรวมถึงการเพิ่มขึ้นของความเป็นเมือง การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการยกระดับมาตรฐานการอยู่อาศัยเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้เกิดการขยายการผลิตอาหารสัตว์ให้เพิ่มมากขึ้น
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกถั่วเหลืองจากสหรัฐที่มีความสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศไทยได้ร่วมมือกับสภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐ (USSEC) ร่วมด้วยผู้ผลิตอาหารและเกษตรกรรายใหญ่ในไทยตั้งแต่ปี 2537 เพื่อส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดหาวัตถุดิบที่ยั่งยืนในการผลิตอาหารและอาหารสัตว์ ซึ่งถั่วเหลืองจากสหรัฐมีข้อได้เปรียบทางด้านการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำเมื่อเทียบกับแหล่งผลิตในภูมิภาคอื่นๆ ดังนั้นจึงเชื่อมั่นได้ว่า ถั่วเหลือง ของสหรัฐจะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญระดับโลกในการผลิตอาหารและอาหารสัตว์ที่ยั่งยืน มีคุณภาพ และมีความน่าเชื่อถือ
อย่างไรก็ดี การตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่เพียงแต่ต้องการ ถั่วเหลือง จากสหรัฐฯ ที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังต้องมีการพัฒนาครั้งใหญ่ในห่วงโซ่คุณค่าของโปรตีนทั้งหมด ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของการผลิตอาหารและการศึกษาทางด้านอาหารเช่นกัน
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านถั่วเหลือง หรือ Soy Excellence Centers (SEC) จึงเป็นสถาบันที่ตอบโจทย์ในการบ่มเพาะผู้เชี่ยวชาญการผลิตโปรตีนรุ่นใหม่ ที่จะมาร่วมพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าโปรตีนทั้งระบบ ด้วยเครือข่ายและองค์ความรู้ของสภาส่งออกถั่วเหลืองสหรัฐ
ศูนย์ความเป็นเลิศฯ ในเอเชีย มีคอร์สเรียนในรูปแบบออนไลน์ใน 5 กลุ่มวิชา ได้แก่ การเพาะเลี้ยงสัตว์ปีก, การเพาะเลี้ยงสุกร, การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, อาหารสัตว์ และ ผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและประสบการณ์ในภาคการเกษตร ซึ่งเป็นนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อันดับต้นในสหรัฐและทั่วโลก
ทั้งนี้ ในคอร์สเรียนจะมีทั้งการวิจัย หลักสูตรสัตวแพทย์ การให้คำปรึกษาและแนะนำจากประสบการณ์ตรง และการทำเวิร์กช็อป โดยคอร์สเรียนออนไลน์ตั้งใจออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามขีดความสามารถของตัวเอง ขณะที่ยังคงสร้างคอนเนกชันกับเพื่อนร่วมรุ่นและผู้เชี่ยวชาญระดับโลก
นอกจากนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศฯ ยังมีคอมมูนิตีออนไลน์ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแชร์ประการณ์เพื่อการพัฒนาต่อไปในอนาคต ตามจุดมุ่งหมายของสถาบันในการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตโปรตีน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตโปรตีนให้เพียงพอกับความต้องการในระยะยาว
Teoh Huey Lee ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตอาหารสัตว์ บริษัท FFM Group ผู้ผลิตแป้งสาลีรายใหญ่ในมาเลเซีย เปิดเผยว่า การให้คำปรึกษาและคำแนะนำจากอาจารย์ในศูนย์ความเป็นเลิศฯ เป็นประสบการณ์ที่ประเมินค่าไม่ได้ และการเรียนที่นั่นทำให้ตนพัฒนาและสามารถคิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาประยุกต์ใช้ในสายการผลิตได้จริง นอกจากนั้นยังทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งในข้อกำหนดและแนวปฏิบัติสำหรับมาตรฐานการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งนำไปสู่การสื่อสารกับลูกทีมอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการการผลิตเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิผลมากขึ้น
"การให้คำปรึกษาและการแนะนำที่ตนได้รับจากผู้สอนของ Soy Excellence Center Asia นั้นมีค่ามาก มันช่วยให้ตนสามารถพัฒนาวิธีแก้ปัญหาที่มุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ในโรงงานของเรา" Huey Lee กล่าว
ด้วยทักษะใหม่ที่ได้รับ Huey Lee กำลังปรับปรุงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพที่ดีขึ้นของการเลี้ยงสัตว์และส่งผลในทางบวกต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร
Chan Lee Chen ผู้จัดการฝ่ายเทคนิคด้านโภชนาการอาหารสัตว์ ที่ Farmsfield Sdn. Bhd., เปิดเผยว่า การเรียนที่ศูนย์ความเป็นเลิศฯ ในหลายหลักสูตรที่ผ่านมาทำให้มีการพัฒนาพื้นฐานความรู้ในงานเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหารสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์ปีก และสุกร ทำให้ตรวจสอบและป้องกันได้อย่างฉับไวเมื่อพบโรคปศุสัตว์ รวมทั้งยังได้ความรู้ใหม่ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับปศุสัตว์ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี รวมทั้งพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ที่มีโภชนาการที่เหมาะสม นำมาซึ่งผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ
จากการอบรมของ SEC Asia ทำให้ Lee Chen สามารถวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียดทางโภชนาการ สภาพแวดล้อม และความเครียดทางสังคม ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงที่ชัดเจนในด้านสุขภาพสัตว์และผลผลิตในฟาร์ม
Lee Chen มีเป้าหมายที่จะใช้ประโยชน์จากความรู้ที่ได้รับจาก SEC Asia อย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพของสัตว์ ซึ่งจะมีส่วนพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของอาหาร ตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยทางอาหารและความยั่งยืนในการผลิตอาหารสัตว์
Lee Chen กล่าวเพิ่มเติมว่า Soy Excellence Center Asia ได้มอบความรู้และทักษะที่มีคุณค่าแก่ตน ซึ่งสามารถนำมาใช้เปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตอาหารสัตว์ของตนได้อย่างสิ้นเชิง ตนตั้งใจที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและพยายามปรับปรุงผลลัพธ์ในอุตสาหกรรมอยู่เสมอ
ความทุ่มเทของ Lee Chen ในการพัฒนาและปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาเชิงรุกของตน ทำให้ตนเป็นผู้บุกเบิกที่แท้จริงในสาขานี้
ภายใต้การแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร SEC กำลัง "สร้างทักษะให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านโปรตีนรุ่นใหม่" โดยมีมืออาชีพอย่าง Huey Lee และ Lee Chen มีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าของโปรตีน
สำหรับใครที่สนใจเรียนรู้วิธีขับเคลื่อนนวัตกรรมและตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับโปรตีนที่มีคุณค่าทางโภชนาการและยั่งยืนได้ ที่นี่