3หน่วยงานด้านการศึกษา ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนนวัตกรรม ฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย

3หน่วยงานด้านการศึกษา ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนนวัตกรรม  ฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย

องค์การยูนิเซฟ ร่วมกับกสศ. และสตาร์ฟิช ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนนวัตกรรม -รูปแบบการเรียนการสอน ฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอยของนักเรียนจากสถานการณ์โควิด-19

องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย พร้อมด้วย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) , ศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร และมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมชมและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการ นวัตกรรม

รวมถึง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้ใช้ในการฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอยของนักเรียนจากสถานการณ์โควิด-19 ณ โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง) ภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ในวันที่ 2 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

3หน่วยงานด้านการศึกษา ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนนวัตกรรม  ฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

"Starfish Education" พาทัวร์ห้องเรียนนวัตกรรม@ “ตลาดนัดวิชาการ”

"Makerspace Day" หนุนเด็กไทยคิด ตั้งคำถาม ลงมือทำ สะท้อนคิดผ่าน5 ฐาน

สตาร์ฟิช ดิจิทัล วางใจเลือกใช้ “อมิเลีย” ดูแลด้านการให้บริการทางเทคโนโลยีให้ลูกค้าได้อย่างมั่นใจ

เมื่อเด็กยุคโควิดเผชิญภาวะ "การเรียนรู้ถดถอย" รัฐต้องแก้อย่างไร?

 

ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนนวัตกรรม ฟื้นฟูความรู้ถดถอย

โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้นำโดย H.E. Ms. Maritza Chan Valverde Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary Permanent Representative of Costa Rica to the United NationsVice-President,  พร้อมด้วย Ms. Aarti Saihjee หัวหน้าฝ่ายการศึกษาองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ,ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร ประธานมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม รวมทั้งผู้บริหารการศึกษา

ศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร ได้รายงานถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นโยบายของการลดภาวะความรู้ถดถอยของผู้เรียนในจังหวัดสมุทรสาคร และมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้นำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ในโรงเรียนตามแนวทาง 5 องค์ประกอบในการวางมาตรการฟื้นฟูความรู้ถดถอย เครื่องมือพัฒนาวิชาชีพครูแหล่งเรียนรู้ Online course , Micro Learning และ Learning Box

3หน่วยงานด้านการศึกษา ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนนวัตกรรม  ฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย

จากนั้นโรงเรียนได้รายงานผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ และพาเยี่ยมชมห้องเรียนต้นแบบการสอน Active Learning และการใช้ Learning Box จัดการเรียนรู้พัฒนาผู้เรียนในด้านการอ่านออกเขียนได้ ทักษะการคิดคำนวน และสุขภาพกาย ใจ เพื่อฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ที่ถดถอยของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19

3หน่วยงานด้านการศึกษา ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนนวัตกรรม  ฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย

 

3 ฐานการเรียนรู้เชิงรุกแก่นักเรียน

นอกจากนี้ยังได้เยี่ยมชมห้องเรียนซึ่งได้แบ่งเป็นฐานย่อยสามฐาน ได้แก่

ฐานที่ 1 ห้องอนุบาลศึกษา สภาพการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุกและความร่วมมือ ระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองที่ตอบสนองต่อการฟื้นฟูการเรียนรู้และพัฒนาการรอบด้านของเด็กปฐมวัย

ฐานที่ 2 ห้องเรียนปฐมศึกษา (ประถมต้น) สาธิตการเรียนการสอนเชิงรุกในมิติทางด้านภาษาและการคิดคำนวณ โดยมีการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ ประกอบตลอดจน การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกล่องการ เรียนรู้ (Learning Box) ที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะนักเรียนรายบุคคล

3หน่วยงานด้านการศึกษา ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนนวัตกรรม  ฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย

ฐานที่ 3 กิจกรรมบูรณาการเรียนรู้และสุขภาวะของนักเรียน สาธิตกิจกรรมที่เน้นทางด้านสุขภาวะกายและจิตของนักเรียน เน้นทัศนคติต่อการเรียนรู้และบูรณาการเรื่องสุขภาพ อนามัยและเนื้อหาวิชาเรียนเพื่อพัฒนาบุคลิกลักษณะของผู้เรียน

ช่วงสุดท้ายทางคณะเยี่ยมชมได้ร่วมสะท้อนผลของการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะต่างเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางให้โรงเรียนได้นำไปพัฒนา และต่อยอดในการดำเนินโครงการต่อไป

3หน่วยงานด้านการศึกษา ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนนวัตกรรม  ฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย