ทุกคนช่วยได้ พบ "ผู้ป่วยจิตเวช' แจ้งระบบรับรักษา หลังพบตัวเลขเพิ่ม

ทุกคนช่วยได้ พบ "ผู้ป่วยจิตเวช' แจ้งระบบรับรักษา หลังพบตัวเลขเพิ่ม

สสส. - กรมสุขภาพจิต – กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ – กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ – มูลนิธิกระจกเงา ลงนาม MOU พัฒนาระบบเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง  หวังนำพากลับสู่บ้าน หลังพบแนวโน้มป่วยขยับจาก 10 % เป็น 19 % และคงอยู่ในรพ.จิตเวช-สถานสงเคราะห์สูง

ข้อมูลคนไร้บ้าน ปี  2566  จากการที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ร่วมกับเครือข่าย ลงพื้นที่แจงนับคนไร้บ้านช่วงกลางปี 2566 พบทั่วประเทศ 2,499 คน อยู่ในกทม. 1,271 คน ที่เหลือต่างจังหวัด จังหวัดที่พบในจำนวนที่น่าสนใจ คือ จ.ชลบุรี 106 คน ส่วนใหญ่จะพบในจังหวัดท่องเที่ยวหรือจังหวัดใหญ่มีรอยต่อเรื่องระบบเศรษฐกิจ และเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่เห็นชัด 19% เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มี 10 % 

            เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2567  ที่กรมสุขภาพจิต  มีการลงนามความร่วมมือ (MOU) “การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง และดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง”ร่วมกันของ 5 องค์กร ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และ มูลนิธิกระจกเงา เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลคนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน และผู้รับบริการในสถานพยาบาล และข้อมูลคนหาย/ผู้ป่วยข้างถนน เพื่อติดตามสืบค้นประวัติ ครอบครัว และภูมิลำเนาเดิม ต่อยอดสู่การบูรณาการเพื่อป้องกันการเข้าสู่ภาวะไร้บ้านของผู้ป่วยทางจิต

       นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากผลการดูแลและงานวิจัยผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน พบว่ายังมีผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่งจำนวนหนึ่งเร่ร่อนในที่สาธารณะและขาดโอกาสเข้าถึงบริการสาธารณสุข ซึ่งมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนพัฒนาระบบและจัดให้บริการผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มดังกล่าว ช่วยให้สามารถระบุตัวตนของผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนในที่สาธารณะได้ และนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา รวมถึงการตามหาญาติหรือส่งกลับสู่บ้านได้
ทุกคนช่วยได้ พบ \"ผู้ป่วยจิตเวช\' แจ้งระบบรับรักษา หลังพบตัวเลขเพิ่ม

กระบวนการเข้ารับรักษา

      “หากทุกหน่วยได้ประสานและดำเนินงานร่วมกัน จะช่วยให้ดำเนินงานมีความคล่องตัว ประสานและแลกเปลี่ยนข้อมูลการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างไร้รอยต่อ ออกแบบระบบเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง และร่วมผลักดันการทำงานให้เป็นประโยชน์ต่อระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชของประเทศไทย เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ป่วยจิตเวชต่อไป”

      ทั้งนี้  ผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง   ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต เจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายปกครอง พนักงานตามกฎหมาย และประชาชนทั่วไป หากพบผู้ป่วยจิตเวชที่ มีอาการรุนแรง มีภาวะอันตราย หรือมีความจำเป็นต้องรับการรักษา สามารถแจ้งหรือส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ทั้งรพ.จิตเวชทั่วประเทศ 20 แห่ง หรือรพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไปที่มีหอผู้ป่วยจิตเวชครบทุกแห่งแล้ว  หลังเข้าสู่สถานพยาบาล แพทย์จะตรวจเบื้องต้น หากเกินศักยภาพจะส่งสถานบำบัดรักษาต่อไป  เมื่อหายทุเลาส่งต่อไปรับการดูแลที่สถานสงเคราะห์ ฉะนั้น หากพบเห็นส

หลุดจากครอบครัวเพราะหวาดกลัว

    ขณะที่พิสิฐ พูลพิพัฒน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กล่าวว่า  สถานสงเคราะห์ของกรม 2  แห่ง รับดูแลได้ทั้งหมดราว 1,300 คน ซึ่งคนกลุ่มนี้ถูกผลักออกมาจากครอบครัว ไม่ใช่ไม่รัก ไม่ดูแล แต่หวาดกลัวในการอยู่ร่วมกันว่าจะถูกทำร้ายหรือเป็นอันตราย  MOUเป็นการทำงานร่วมกันว่า เมื่อพ้นออกมาจากบ้านแล้ว ต้องดูแลให้กลับไปเหมือนคนปกติ และต้องทำให้อยู่กับครอบครัวและชุมชนได้ จึงต้องไปเติมพลัง และมีความรู้ถูกต้อง การดูแลผู้ป่วยการรับประทานยาต่อเนื่อง คุมอาการก็อยู่ร่วมครอบครัวชุมชนได้ตามปกติ

    สุชาดา หมื่นกล้า รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ   กล่าวว่า  ปัจจุบันจะมีคนเร่ร่อนจิตเวชเพิ่มมากขึ้น ต้องมาช่วยกันที่จะขับเคลื่อนงาน โดยที่ภาคเอกชนและรัฐเข้ามาร่วม เนื่องจากสถานสงเคราะห์ภาครัฐมีไม่มาก ไม่สามารถรับคนจำนวนมากได้ ชุมชนต้องช่วยกันดูแลคนในชุมชน หากไม่สามารถช่วยได้จึงส่งมาถึงภาครัฐ ที่อยากเห็นคือการประสานงานร่วมกันในการรับคนเข้ามาในสถานสงเคราะห์

      นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า จากการทำงานของเครือข่ายด้านคนไร้บ้าน พบข้อมูลที่ตรงกันว่าคนไร้บ้านที่มีปัญหาสุขภาพจิตส่วนใหญ่ เป็นผู้ป่วยทางจิตอยู่เดิมก่อนจะเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน สาเหตุ เกิดจากการหลุดหายจากครอบครัว และขาดกระบวนการดูแลในระยะยาว  

     ซึ่งสสส. และภาคีเครือข่าย ได้เน้นประเด็นป้องกันการเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน ทำให้จำนวนคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นไม่มาก และมีอัตราค่อนข้างคงที่ แต่ความท้าทายสำคัญในปัจจุบัน คือ คนไร้บ้านที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่เห็นได้ชัด มีแนวโน้มเพิ่มจากประมาณ 10% ในปี 2559 มาเป็น 19% จึงจำเป็นต้องมีวิธีการทำงานเพื่อป้องกันในอีกรูปแบบที่มีความเฉพาะ

      “MOUมีความสำคัญที่จะเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างมูลนิธิกระจกเงา ที่ดูแลข้อมูลคนหายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยทางจิต ข้อมูลผู้รับบริการในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และสถานสงเคราะห์คนพิการบ้านกึ่งวิถี ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงข้อมูลผู้ป่วยของสถานพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต เพื่อสืบค้นประวัติ ครอบครัว ภูมิลำเนาเดิมของคนไร้บ้าน/คนไร้ที่พึ่ง สร้างกระบวนการส่งกลับ ดูแล และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเพื่อสังคมในอนาคต” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

ทุกคนช่วยได้ พบ \"ผู้ป่วยจิตเวช\' แจ้งระบบรับรักษา หลังพบตัวเลขเพิ่ม
หวังพัฒนาสู่ตัดวงจรป่วยซ้ำ

         นายสิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา กล่าวว่า มูลนิธิฯ ทำงาน 2 เรื่องเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวช คือ ติดตามคนหาย และช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนข้างถนน ทั้งสองเรื่องเป็นปัญหาหนักและเกี่ยวพัน โดยการให้ความช่วยเหลือออกจากข้างถนนเพื่อเข้าระบบการรักษาอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ สิ่งที่จะตัดวงจรปัญหา คือ ทำให้เขามีโอกาสกลับคืนสู่บ้านมากขึ้น ยิ่งให้ความช่วยเหลือรวดเร็วมาก เข้าสู่การรักษาได้รวดเร็ว ยิ่งมีโอกาสจะกลับคืนสู่ครอบครัวเร็วมากเท่านั้น

           "คาดหวังมากกว่าที่ลงนามร่วมมือว่าระบบที่เกี่ยวเนื่องกันจะต้องมีความแข็งแรง เพื่อเป็นโซ่ที่นำตัวผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาและฟื้นฟูหลังการรักษา เพราะผู้ป่วยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะตัดเงื่อนไขไปสู่วงจรการป่วยซ้ำ แต่สิ่งที่ยังเป็นปัญหาคือยังไม่มีพื้นที่ให้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในฐานะมนุษย์ที่ให้ยืนด้วยศักดิ์ศรี ตรงนี้ยังขาดอย่างมาก MOU นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่สิ่งนี้ได้" นายสิทธิพลกล่าว

สถานสงคราะห์ดูแลจิตเวชมากกว่า80%

            นพ.ขวัญประชา  เชียงไชยสกุลไทย คณะกรรมการกำกับทิศทางการสร้างเสริมสุขภาวะคนไร้บ้านและคนจนเมือง สสส. กล่าวว่า สถานสงเคราะห์ภายใต้กรมพัฒนาสังคมฯ ดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่งมากถึง 80%ของจำนวนที่สถานสงะคราห์รองรับได้   อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยดเหล่านี้หลุดหายจากครอบครัวจาก มี 2 ลักษณะ คือ ค้างอยู่ในรพ.จิตเวชทั่วประเทศ และ2.อยู่กับครอบครัววันดีคืนดีหลุดหายจากสาเหตุต่างๆ

     “MOUจะพยายามมองหากลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่มีโอกาสออกมากเร่ร่อน เพื่อหาทางป้องกันที่ต้นเหตุ  ซึ่งครอบครัวอาจไม่มีศักยภาพมากพอดูแล เพราะปัญหาใหญ่กว่าครอบครัว โดยนวัตกรรมที่เคยทดลองทำคือ ชุมชนร่วมดูแลในชุมชน จึงต้องMapping ให้ชุมชนดูแลก่อนจะมาเป็นคนเร่ร่อนเพื่อลดต้นเหตุ”นพ.ขวัญประชากล่าว