"3A" ความท้าทายAI ทางการแพทย์ของประเทศไทย

"3A" ความท้าทายAI ทางการแพทย์ของประเทศไทย

ปรึกษาสมาคมเฮลท์เทคไทย ชี้AIทางการแพทย์ยังไม่ 100 % อนาคตช่วยลดช่องว่างความเชี่ยวชาญแพทย์ ระบุความท้าทายของประเทศไทย มี 3A

นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์  โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่ปรึกษาสมาคมเฮลท์เทคไทย กล่าวในการเสวนา : Creative AI : Community นวัตกรรม ยกระดับความคิดสร้างสรรค์ ภายในงาน AI  REVOLUTION 2024 :  TRANSFORMING THAILAND ECONOMY  จัดโดยกรุงเทพธุรกิจว่า  เรื่องความคิดสร้างสรรค์กับวงการแพทย์ เป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะถูกสอนมาให้ทำตามกฎ ถ้าออกนอกแนวทางการรักษาแล้วมีปัญหาจะถูกฟ้องร้อง จึงเป็นเหตุว่าจะทำเรื่องความคิดสร้างสรรค์กับนวัตกรรมใหม่ในรพ. เรื่องเฮลท์แคร์ยากที่สุด เพราะกว่าจะนำมาใช้ต้องมีงานวิจัยที่ชัดเจน ถึงจะเปลี่บนแปลงแนวทางการรักษาได้


“การจะมีความคิดสร้างสรรค์เรื่องนวัตกรรมเกี่ยวกับเฮลท์แคร์  ควรเริ่มจากสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับคนไข้มากนักก่อน  อาจจะแบ่งเป็นระยะก่อนมารพ.คนไข้จะผ่านกิจกรรมอะไรบ้าง  ระยะรับบริการที่รพ. ต้องลงทะเบียน พบแพทย์ เจาะเลือด ฟังผลแล็ป และระยะหลังออกจากรพ.จะต้องติดตามอะไรบ้าง” นพ.โอฬาริกกล่าว 

\"3A\" ความท้าทายAI ทางการแพทย์ของประเทศไทย

ณ ปัจจุบัน AIยังไม่ใช่ 100 % เพราะอย่างไรก็ต้องอาศัยองค์ความมรู้ แต่การมีAIที่ดี ในอนาคตจะช่วยลดช่องว่างของความเชี่ยวชาญลง โดยแพทย์จบใหม่มีความเชี่ยวชาญไม่เท่าอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ แต่การมีระบบสนับสนุนที่ดี  จะทำให้แพทย์จบใหม่มีคำตอบในการดูแลคนไข้ ถูกต้องแม่นยำระดับหนึ่ง และนำข้อมูลไปใช้ดูแลคนไข้ เช่น AIบอกคนไข้เป็นมะเร็ง แต่ทักษะในการบอกข่าวร้าย เป็นทักษะมนุษย์ ซึ่งอาจารย์แพทย์ที่ผ่านการดูแลและบอกคนไข้เป็นมะเร็ง 1,000 คน กับแพทย์ที่จบใหม่จะมีความต่างกัน ดังนั้น AI จะเข้ามาเป็นผู้ช่วยแพทย์ ไม่ใช่เข้ามาทดแทน

นพ.โอฬาริก กล่าวอีกว่า ความท้าทายของประเทศไทย ในเรื่องAIทางการแพทย์ ต้องมี 3  A ประกอบด้วย Awareness การตระหนักรู้  ,Adoption การนำมาใช้  ซึ่งการที่จะทำนวัตกรรมใหม่ๆทางการแพทย์ ไม่ได้ทะลวงกลางใจบุคลากรแพทย์ได้ง่ายๆ และต้องประเมินความคุ้มค่าในการนำAIมาใช้ และ Adaption การประยุกต์ใช้ ซึ่งเมื่อยังไม่มีประสบการณ์ใช้งาน จะปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทยได้อย่างไร อีกทั้ง ประเทศไทยอาจจะมีกำลังซื้อไม่มาก และการนำเข้ายังมีมากกว่าจะมาพัฒนาในประเทศ

“เรื่องAIช่วยวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้นช่วยในการตัดสินใจของแพทย์ AIช่วยบอกว่าน่าจะเป็นโรคนี้  แต่คนตัดสินใจจริงยังเป็นแพทย์ เพราะเป็นเรื่องของความรับผิดชอบ ถ้าAIตัดดสินใจผิดใครจะเป็นคนรับผิดชอบ” นพ.โอฬาริกกล่าว