บอร์ดสปสช. เห็นชอบ ‘ 7 แพ็คเกจสุขภาพดี'

บอร์ดสปสช. เห็นชอบ ‘ 7 แพ็คเกจสุขภาพดี'

บอร์ดสปสช. เห็นชอบ 7 แพ็คเกจสุขภาพ พร้อมขับเคลื่อนนโยบายยกระดับบัตรทอง 30บาทรักษาทุกที่ ระยะที่ 4 อีก 31 จังหวัด  ครอบคลุมทั่วประเทศ ขู่ยึกยักใบส่งตัวดิจิทัลดำเนินคดี

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ว่า บอร์ด สปสช. เห็นชอบ การขับเคลื่อนนโยบายยกระดับบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า ระยะที่ 4 ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ขยายการดำเนินการต่อเนื่องในพื้นที่ 31 จังหวัด ขยายความครอบคลุมทั่วประเทศ

พร้อมทั้งเห็นชอบในหลักการแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายฯ ของ สปสช. ทั้งเป้าหมายและกรอบแนวทางการดำเนินการที่สำคัญ 10 ประการ รวมทั้งระบบการเบิกจ่ายและการเชื่อมข้อมูล และมอบ สปสช. ออกประกาศฯ 5 ฉบับตามที่ สปสช. นำเสนอ เพื่อให้หน่วยบริการและประชาชนทราบและดำเนินการ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา นอกจากนี้ ยังให้ สปสช. จัดทำข้อเสนอหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข รองรับการขยายพื้นที่การดำเนินนโยบายฯ ทั่วประเทศด้วย 

“การดำเนินการเรื่องใบส่งตัว ได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจกัน สปสช.ได้ยืนยันว่าใบส่งตัวเป็นดิจิทัล ไม่จำเป็นต้องเป็นเอกสาร หรือกระดาษ แต่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่ออาจจะมีความไม่เข้าใจอยู่บ้าง ก็จะปรับแนวทางในช่วงการดำเนินการ ถ้าหากผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบการยังยึกยักก็จะให้ดำเนินคดี”นายสมศักดิ์กล่าว 

บอร์ดสปสช.ยังเห็นชอบมอบของขวัญเพื่อคนไทย สุขภาพดีถ้วนหน้า 7 แพคเกจ ได้แก่ แพคเกจที่ 1 หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด แพคเกจที่ 2 เด็กแรกเกิด-5 ปี แพคเกจที่ 3 เด็กโต-วัยรุ่น แพคเกจที่ 4 ผู้ใหญ่ 24-59 ปี แพคเกจที่ 5 ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป แพคเกจที่ 6 ชุดตรวจคัดกรองด้วยตนเอง และ แพคเกจที่ 7 สายด่วนสุขภาพจิต ทั้งนี้ ในวันที่ 20 ธันวาคม เวลา 10:00 น. จะมีการคิกออฟฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ในโรคมะเร็งปากมดลูก ชนิด 9 สายพันธุ์ให้กับนักเรียนหญิง อายุ 11 ปีขึ้นไป หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนวัดเขียนเขต ต.บึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้เห็นชอบโครงการเกี่ยวกับการป้องกันโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งโครงการดังกล่าวจะต้องผ่านความเห็นชอบจากอนุกรรมการชุดที่เกี่ยวข้อง

ด้าน นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สำหรับกรอบแนวทางการดำเนินการที่สำคัญ 10 ประการ ที่บอร์ด สปสช. เห็นชอบให้ขับเคลื่อนในวันนี้ มีดังนี้ 1. ประชาชนไปรับบริการได้ทุกที่ตามความจำเป็น โดยใช้บัตรประซาชนและไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว หรือใช้ใบส่งตัวอิเล็กทรอนิกส์ 2. สนับสนุนให้หน่วยบริการแต่ละระดับจัดบริการตามศักยภาพ โดยเฉพาะบริการระดับปฐมภูมิ และบริการระดับตติยภูมิ/ขั้นสูงเพื่อกระจายการรับบริการ ลดความแออัดในหน่วยบริการขนาดใหญ่ 3.เพิ่มหน่วยบริการนวัตกรรมรปแบบต่างๆ (บริการปฐมภูมิ) ครอบคลุมทั่วถึง ทุกพื้นที่ รวมทั้งหน่วยบริการทติยภูมิ รองรับการส่งต่อ 4. ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ผ่านระบบ One stop service ลดขั้นตอน สะดวก 5. เชื่อมโยงข้อมูลบริการสุขภาพของหน่วยบริการทุกแห่ง กับระบบเบิกจ่ายขดเชยค่าบริการของ สปสช.ผ่าน API ลดภาระงานหน่วยบริการในการบันทึกและส่งข้อมูล


6. พัฒนาและใช้ AI ตรวจสอบก่อนจ่ายและหลังจ่าย เบิกจ่ายถูกต้อง รวดเร็วขึ้น 7. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของหน่วยบริการในการตรวจสอบกับกันเอง 8. พัฒนาระบบตรวจสอบและการกำกับติดตามประเนินผล เพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายและมีข้อมูลหลักฐานในการปรับปรับปรน/พัฒนา 9. ยกระดับบริการสายด่วน contact center 1330 อำนวยความสะดวกและช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ประชาชนและหน่วยบริการ และ 10. สื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก และการแสดงสัญลักษณ์ของหน่วยบริการที่ให้บริการตามนโยบาย

สำหรับในส่วนของประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 5 ฉบับ เพื่อรองรับขับเคลื่อนตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ มีดังนี้ 1.จังหวัดที่ดำเนินงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2567 โดยกาหนดรายชื่อจังหวัดเพิ่มเติมจานวน 31 จังหวัด เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล

 2. การกำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการให้บริการของหน่วยบริการตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่

3. การกำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการในการรับบริการของประชาชนตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่

 4.การกำหนดตราสัญลักษณ์และหลักเกณฑ์การใช้ตราสัญลักษณ์สาหรับหน่วยบริการที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่

และ 5.การกำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของผู้รับบริการในหน่วยบริการที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการตามนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ และเสนอคณะอนุกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนพิจารณา ก่อนเสนอคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไป

 “มติบอร์ด สปสช. ที่ได้เห็นชอบนี้ สปสช. จะเร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายใน 31 จังหวัดเพื่อให้ครอบคลุมทั้งประเทศ เป็นการยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และยกระดับบริการเพื่อดูแลประชาชนทั่วประเทศ” นพ.จเด็จ กล่าว

 

นพ.จเด็จ กล่าวด้วยว่า ในประเด็นของใบส่งตัวนั้น ท่านรัฐมนตรีฯ ให้นโยบายว่าถ้าพื้นที่ไหนมีประเด็น ท่านจะลงไปดูด้วยตนเอง ซึ่งทาง สปสช.ก็จะต้องไปทำความเข้าใจกับหน่วยบริการต่างๆ ต่อไป ส่วนในประเด็นการจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ นั้น ท่านรัฐมนตรีฯ ย้ำว่าเรามีกติกาอยู่แล้ว ถ้ามีความจำเป็น แล้วหน่วยบริการไม่มียาตามบัญชียาหลักที่ต้องใช้ ทางหน่วยบริการจะต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว