LGBTQIA+ โอกาสได้งาน หรือต้องปกปิดตัวตน
หรือเรื่องเพศจะเป็นอุปสรรคต่อโอกาสได้งานทำของ LGBTQIA+ จะต้องปกปิดตัวตน เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ หาคำตอบผ่าน 5 องค์กรในอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์การแพทย์ ยานยนต์ ความงามและสถานพยาบาล คุณสมบัติแบบไหนเลือกคนเข้าทำงาน
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า(ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลพญาไท 2 ร่วมจัดงานเสวนา ภายใต้หัวข้อ "การยอมรับในความแตกต่างและการมีส่วนร่วมในสถานที่ทำงาน (Diversity & Inclusion in the place)" เนื่องในโอกาสเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (Pride Month) ณ วิคคลับ สาทร สแควร์
LGBTQIA+ โอกาสได้งานทำ
ในประเด็นเรื่องของเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในองค์กรนั้น การเป็นเพศหลากหลายเป็นตัวแปรในการพิจารณาผู้สมัครหรือไม่ ทุกองค์กรตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ปัจจุบันไม่ได้มีการมองเรื่องของเพศแล้ว
คุณสุภาพร บัญชาจรุรัตน์ ผู้อำนวยการสายทรัพยากรบุคคล เครือโรงพยาบาลพญาไท และเครือโรงพยาบาลเปาโล กล่าวว่า ปัจจุบันความหลากหลายได้รับการยอมรับและมีการเปิดกว้างทางความคิดของแต่ละบุคคล ทำให้เรามีอิสระในการใช้ชีวิต ทั้งชีวิตประจำวัน และชีวิตการทำงานมากขึ้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเครือโรงพยาบาลพญาท และเครือโรงพยาบาลเปาโล ได้มีการเปิดรับ เปิดใจ มองหาบุคลากรที่มาร่วมงานอย่างเปิดกว้าง เพราะเชื่อว่าทุกคนต้องได้โอกาสโดยพิจารณาจากความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมของตำแหน่งที่สมัครมากที่สุด ไม่ว่าเพศไหนก็ควรได้รับโอกาสและการปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม
“การพิจารณาบุคคลเข้าทำงานสิ่งสำคัญจะดูดเรื่องความรู้ความสามารถ คุณสมบัติเหมาะสมกับงาน แม้บางคนอาจจะไม่ได้มีความรู้ความสามารถแบบ 100 % แต่หากมีmindset เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ ก็จะพิจารณาเช่นกัน ส่วนความรู้ความสามารถจะมาพัฒนากันได้ต่อไป แต่เรื่องเพศไม่ใช่สิ่งที่องค์กรใช้ในการพิจารณา และปัจจุบันพนักงานในเครือพญาไทและเครือรพ.เปาโลมีเพศหลากหลายทำงานร่วมกัน”สุภาพรกล่าว
นายสุทธกานต์ ข้างน้อย ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายสรรหาและพัฒนาศักยภาพบุคลากร ทรัพยากรบุคคล สำนักงานกลาง บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด กล่าวว่า บริดจสโตน ในฐานะผู้ผลิตยางระดับโลก ดำเนินงานโดยความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลและการเคารพสิทธิมนุษยชน พร้อมสนับสนุนแนวคิดด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วมในสังคมการทำงาน โดยในด้านทรัพยากรบุคคล ทางองค์กรได้เปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถเข้ามาร่วมงานอย่างเท่าเทียมผ่านช่องทาง Bidgestone Thaland Careers Facsbookและ Bridgestone Thailand LinkedIn โดยไม่ได้ระบุให้ต้องกรอกเพศ
สนับสนุน LGBTQIA+ ในที่ทำงาน
อรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กรและการสื่อสารสัมพันย์ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ลอรีอัล กรุ๊ป ในฐานะผู้นำด้านความงามในตลาดโลกอายุกว่า 110 ปี มีเป้าหมายหลักในการ 'สร้างความงามที่ขับเคลื่อนโลก (Create the beauty that moves the world)' ผ่านการสร้างผลิตภันฑ์และนวัตกรรมบิวตี้ เทค (Beauty Tech) ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมความงามสำหรับทุกคน (Beauty for Al) และความงามเฉพาะแต่ละคน (Beauty for Each)
การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจะต้องเริ่มจากความหลากหลายของคนในองค์กรเพื่อสามารถให้มุมมองและไอเดียที่ครอบคลุมตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของผู้ปริโภคได้ เราจึงให้ความสำคัญในการส่งความหลากหลาย ความไม่แบ่งแยก และความเสมอภาคขององค์กร เพื่อดูแลพนักงานทุกกลุ่ม
“บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนสวัสดิการที่ทุกคน ทุกเพศสภาพ ทุกสถานภาท สามารถใช้ประโยชน์ได้เท่าเทียมกัน อาทิ การให้วันลา Flex Leave เพิ่มเติม 15 วันจากวันหยุดพักร้อนปกติ 12 วัน เพื่อให้ทุกคนนำไปใช้ทำกิจกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเองโดยไม่จำกัดขอบเขต และ วันลา 15 วันเพื่อการรับบุตรบุญธรรม"อรอนงค์กล่าว
อนาวิล โชคอมรินทร์ ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า แอสตร้าเซนเนก้าเป็นองค์กรที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานและเคารพในอัตลักษณ์ของแต่ละบุคคลเสมอมา บริษัทฯ ส่งเสริมวัฒก่านธรรมองค์กรที่สนับสนุนความเท่าเทียมและความเสมอภาค เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ทำให้พนักงานรู้สึกอยากมาทำงานและรู้สึกปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนคือ การจัดตั้งกลุ่ม AZ Pide ซึ่งเป็นเครือข่ายของพนักงานจากทั่วโลก เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ได้มีส่วนร่วมและแสดงศักยภาพในด้านการทำงานของตนเอง ซึ่งในเดือน Pride Monthพนักงานของแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ก็ได้มีโอกาสร่วมทำกิจกรรมกับพนักงานจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกผ่านช่องทางโซเชียล มีเดีย ของบริษัทฯ รวมถึงการจัดกิจกรรมสนับสนุนการยอมรับและการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ และเปิดมุมมองให้กับพนักงานภายในองค์กรมากขึ้น
นายสุทธกานต์ กล่าวว่า ไทยบริดจสโตน วางแผนพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมและกิจกรรมที่เน้น 3 ด้านหลัก ได้แก่ การพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง (Embrace Change) การข้วชานเชิงรุก (Proactive) และการสื่อสารเชื่อมโยง (Stay Connected) เพื่อทำให้พนักงานมีความสุขกับการทำงาน และมู่ะการเป็นหนึ่งเดียวกัน One Team, One Bridgestone ที่พร้อมส่งมอบคุณค่าแก่สั่งคม ลูกค้า และพันธมิตะต่อไป
ข้อดีขององค์กรที่หลากหลาย
คุณสุภาพร กล่าวว่า การเปิดรับความหลากหลาย ไม่เฉพาะเรื่องเพศ แต่รวมถึงเรื่องวัย หรือGenต่างๆ และการมีส่วนร่วมในสถานที่ทำงาน ไม่ได้เป็นเพียงนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนเท่านั้น แต่แนวคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรสามารถดึงดูดแลปลดล็อกศักยภาพของพนักงาน ซึ่งจะนำไปนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลาก โดยในฐานะองค์กร ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของเราในการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความเคารพและส่งเสริมความแตกต่าง พร้อมสร้างโอกาสที่เท่าเทียม เพื่อเป็นการปูทางสู่อนาคตที่ทุกคนสามารถเติบโตและมีส่วนร่วมกับองค์กรได้อย่างเต็มความสามารถ
อนาวิล มองว่า หากองค์กรเปิดรับความหลากหลาย ก็จะเป็นสถานที่ทำงานที่สร้างความสุขให้กับพนักงาน ทำให้สามารถแสดงศักยภาพในการทำงานได้เต็มที่ ทุ่มเทกับงานได้เต็มกำลัง บริษัทก็จะได้รับประสิทธิผลของงานที่พนักงานลงแรงไป บริษัทก็พัฒนาและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
อรอนงค์ เสริมว่า ความหลากหลายในสถานที่ทำงานจะทำให้บรรยากาศทำงานสนุก แสดงความคิด ไอเดียได้หลากหลาย เกิดเป็นพลังขององค์กร แม้พนักงานจะเจอกับปัญหาแต่ถ้ายังสนุกกับงานและมีความสุขก็อยากทำงานและขับเคลื่อนให้ดีขึ้น
เด็กรุ่นใหม่ใส่ใจสิทธิมนุษยชนมาก
น.ส.ภัททกา เสงี่ยมเนตร อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาทั่วไป หมวดสังคมศาสตร์ และการฝึกงานวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "ในปัจจุบัน คนรุ่นใหม่มีความกระตือรีอร้นในการพัฒนาตนเองและสังคม รวมถึงสนใจศึกษาด้านหลักการสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ดังนั้น องค์กรต่างๆ ที่กำลังมองหาบุคลากรที่มีศักยภาพ ควรต้องมีความชัดเจนในด้านนโยบาย
หากพูดถึงนโยบายด้านความหลากหลายและการมีส่วนร่วมคนรุ่นใหม่จะให้ความสำคัญและวัดระดับความใส่ใจขององค์กร โดยเริ่มต้นจากการสั่งเกตรายละเอียดปลีกย่อยที่ตนเองได้พบเจอ เช่น การกรอกสถานะเพศสภาพในใบสมัครงาน หรือห้องน้ำในองค์กรที่ไม่จำกัดเฉพาะชาย-หญิง เป็นต้น
องค์กรใดสนับสนุนนโยบายด้านนี้ก็จะสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Safe Zone) ให้กับบุคลากรทำให้พวกเขาสามารถเป็นตัวของตัวเอง ปราศจากความกังวลที่จะต้องย้อนความเป็นตัวตน (Gender Identity)ส่งผลให้สามารถดึงศักยภาพของตนเองมาเพื่อพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
“นักศึกษารุ่นใหม่ให้ความสำคัญและใส่ใจเข้าถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และพัฒนาตนเองให้พร้อมกับการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาสังคม แต่สิ่งที่สถาบันการศึกษาต้องเตรียมความพร้อมนักศึกษาคือ ให้ตระหนักเรื่องที่ทุกคนมีสิทธิแน่นอน แต่ไม่ใช่ 100 % ต้องมีกรอบควบคุม เพื่อความสงบสุขและราบรื่นในสังคม” น.ส.ภัททกา