รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

มูลนิธิออทิสติกไทย เผยมีผู้เป็นออทิสติกกว่า 3 แสนคน หรือทุกๆ 1,000 คน พบผู้ป่วยออทิสติก 6 คนแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงขึ้นกลุ่มอายุไม่เกิน 5 ปีพบ 1 : 161 คน คาดว่าทั่วประเทศมีประมาณ 18,220 คน 10% ของจำนวนที่พบมีความเป็นอัจฉริยะด้านวาดภาพหรือเล่นดนตรี 

Key point:

  • “ออทิสซึม” เป็นโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางสมอง ด้านสังคม ภาษาและพฤติกรรม มีลักษณะโดดเด่นสำคัญคือ เด็กไม่ยอมสบตา ไม่ชอบมองหน้าคนอื่น ไม่สนใจมองตามเมื่อเรียกชื่อ ไม่สนใจผู้อื่น พูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ
  • ปัจจุบันจำนวนบุคคลที่มีภาวะออทิซึมทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยสถิติจากการสำรวจของหลายประเทศ พบว่า สัดส่วนเด็กที่มีภาวะออทิซึม ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น สัดส่วนในเด็ก 59 คน จะพบเด็กที่มีภาวะออทิสซึม 1 คน หรือ สัดส่วน 1:59
  • ไทยมีผู้เป็นออทิสติกกว่า 3 แสนคน หรือทุกๆ 1,000 คน พบผู้ป่วยออทิสติก 6 คน กลุ่มอายุไม่เกิน 5 ปี จะพบ 1 : 161 คน คาดว่า ทั่วประเทศมีประมาณ 18,220 คน
  • 10% ของจำนวนที่พบมีความเป็นอัจฉริยะในบางด้าน เช่น การวาดภาพหรือเล่นดนตรี 20% มีไอคิวต่ำที่ระดับน้อยถึงปานกลางสามารถเรียนร่วมและฝึกอาชีพได้ ที่เหลือ (70%) ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง 200 คนมีงานทำ และมีรายได้ เลี้ยงดูตนเอง

องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นวันตระหนักรู้ออทิสติกโลก (World Autism Awareness Day) ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2550  เพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมรณรงค์ให้สังคมได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของโรคออทิสติก ให้เกิดความเข้าใจ เกิดการยอมรับ สร้างความเท่าเทียม และสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เลี้ยงลูกเด็กพิเศษ ให้กลายเป็น“ศิลปิน”ดิจิทัลอาร์ท

“งานศิลปะ” เด็กพิเศษ โลกของ “อเล็ก ชนกรณ์”

ดูซีรีส์ ทำความเข้าใจ "ออทิสติก สเปกตรัม" ผ่านทนายสาวอัจฉริยะ "อูยองอู"

สัญญาณเตือนอาการออทิสติก

 

จำนวนเด็กออทิสติกทั่วโลก 1:59

ที่ผ่านมาการรับรู้เกี่ยวกับ ออทิสซึม (autism awareness ) ถือว่าเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะรูปแบบของออทิสซึม ที่เด็กแต่ละคนที่เป็นออทิสติกก็มีความแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ 'สิบคนก็สิบแบบ ร้อยคนก็ร้อยแบบ'

โดยปีนี้ยูเอ็นเน้นเรื่อง ภายใต้แนวคิด“Toward a Neuro-Inclusive World for All” คือ ความพร้อมก้าวสู่โลกที่ยอมรับความหลากหลายและความแตกต่างของทุกคน  สังคมควรเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะออทิสติกใช้ชีวิตในฐานะพลเมืองของประเทศนั้น และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมต่างๆอย่างเท่าเทียมทั่วถึง รวมถึงสิทธิมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วย

ปัจจุบันจำนวนบุคคลที่มีภาวะออทิซึมทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสถิติจากการสำรวจของหลายประเทศ พบว่า สัดส่วนเด็กที่มีภาวะออทิซึม ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น สัดส่วนในเด็ก 59 คน จะพบเด็กที่มีภาวะออทิสซึม 1 คน หรือ สัดส่วน 1:59

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

'ออทิสซึม' เป็นโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางสมอง ด้านสังคม ภาษาและพฤติกรรม มีลักษณะโดดเด่นสำคัญคือ เด็กไม่ยอมสบตา ไม่ชอบมองหน้าคนอื่น ไม่สนใจมองตามเมื่อเรียกชื่อ ไม่สนใจผู้อื่น พูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ ให้นึกถึงโรคนี้

'วรัท จันทยานนท์'  กรรมการบริษัท ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และผู้จัดการแบรนด์ Artstory เปิดเผยว่า ในส่วนของประเทศไทย มีข้อมูลจากมูลนิธิออทิสติกไทย ระบุว่า มีผู้เป็นออทิสติกกว่า 3 แสนคน หรือทุกๆ 1,000 คน พบผู้ป่วยออทิสติก 6 คน และดูเหมือนว่า...แนวโน้มจะเพิ่มขึ้นสูงขึ้นมากเรื่อยๆ เช่นกัน เด็กออทิสติกกลุ่มอายุไม่เกิน 5 ปี จะพบ 1 : 161 คน คาดว่า ทั่วประเทศมีประมาณ 18,220 คน และระดับความรุนแรงของโรคแต่ละคนไม่เท่ากัน

 

 บ.ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม

ทั้งนี้ 10 % ของจำนวนที่พบมีความเป็นอัจฉริยะในบางด้าน เช่น การวาดภาพหรือเล่นดนตรี   20% มีไอคิวต่ำที่ระดับน้อยถึงปานกลาง และอาจมีปัญหาพฤติกรรมร่วมด้วย แต่สามารถเรียนร่วมและฝึกอาชีพได้  ส่วนที่เหลือ (70%) ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การบำบัดรักษาต้องผสมผสาน ทั้งด้านการส่งเสริมพัฒนาการ การจัดรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสม การส่งเสริมอาชีพ การมีงานทำ-การอยู่ร่วมกันในสังคมของเด็กออทิสติก

"ในบ้านเรา บุคคลที่เป็นออทิสติกมีไม่ถึง 200 คนที่มีงานทำ และมีรายได้ เลี้ยงดูตนเอง  ฉะนั้น การพัฒนาศักยภาพเด็กและบุคคลออทิสติก ให้ได้เรียนรู้ ฝึกทักษะด้านอาชีพให้สามารถพึ่งตนเองและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ The Sustainable Development Goals (SDGs) จึงเป็นก้าวอย่างที่สำคัญ" 

โดยปี 2560 ที่ผ่านมามูลนิธิออทิสติกไทยและกลุ่มทรูและเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้สนับสนุนทุน1,000,000 บาท จดทะเบียนตั้งบริษัท ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัดเพื่อดําเนินงานด้านการ พัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติก ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การเตรียมเข้าสู่การทํางานและการประกอบอาชีพที่ถึ่งพาตัวเองได้ต่อมาในปี 2562 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5,000,000 บาท โดยบริษัทได้รับการรับรองเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามพรบ. วิสาหกิจเพื่อสังคมแล้ว

กรรมการบริษัท ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด  กล่าวว่าปัจจุบันภาคธุรกิจหลายแห่งเปิดโอกาสให้บุคคลที่เป็นออทิสติก เข้ามาทำงาน เรียนรู้ เติมประสบการณ์ และใช้ความสามารถ ทั้งที่ร้านกาแฟ For All Thai ร้าน Art Story By Autistic Thai อย่างร้าน True Coffee นั้น True Coffee ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทยพัฒนา “บาริสต้า ออทิสติก ” บรรจุเข้าทำงาน ใน True Coffee Shop ร้าน True Coffee   หรือภาคราชการ ก่อนหน้านี้ก็มีประกาศของกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตก็ประกาศ เปิดรับสมัครผู้พิการทางออทิสติกเข้าทำงาน 

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

     "ปัจจุบันบริษัท ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด เป็นต้นแบบระบวนการวิสาหกิจเพื่อ สังคมแก่ให้ภาคีเครือข่าย ผู้ปกครองบุคคลออทิสติก และบุคคลที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษในประเทศไทย ART STORY คือธุรกิจเชิงสังคมของกลุ่มเด็กและบุคคลออทิสติก ที่ร่วมกันรังสรรค์ผลงานจากจินตนาการผ่านภาพและลายเส้นผลงาน ศิลปะสู่ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ ให้เด็กพิเศษเข้าสู่การประกอบอาชีพและมีรายได้อย่างยั่งยืนเป็นศิลปินหรือนักสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะ จํานวน40 คน"

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจกาแฟภายใต้แบรนด์ For All Coffee มีบุคคลออทิสติกและบุคคลที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ จํานวน 10 คน เข้ากลุ่มอาชีพบาริสต้า นอกจากนี้ยังเป็นธุรกิจกาแฟ ต้นแบบแห่งแรกสําหร้บเครือข่ายบุคคลออทิสติกทั่วประเทศ มีแผนขยายธุรกิจแฟรนไชส์ให้กับเครือบุคคล ออทิสติกทั่วประเทศที่สนใจทําธุรกิจกาแฟ ปัจจุบัน For All Coffee มี 4 สาขาได้แก่ สาขาธนาคาร SME สาขากระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สาขากระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสาขามูลนิธิออทิสติกไทย ให้บริการ delivery ด้วย

"เราเชื่อว่า “ถ้าบุคคลออทิสติก มีอาชีพ มีงานทํา และมีรายได้ แล้วคุณภาพชีวิตของเขาและครอบครัวจะมั่งคงขึ้น”

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

แบรนด์ ARTSTORY ยังมีการจําหน่ายภาพวาด เช่น เสื้อผ้า หมวก กระเป๋า ผ้าพันคอ เคสโทรศัพท์ สมุดโน้ต การ์ด สติ๊กเกอร์ แก้วต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะออก Collectionใหม่ทุกๆ 4 เดือน หรือ Collection พิเศษที่มีการร่วมมือระ หว่างแบรนด์ หรือองค์กรต่างๆ เช่น Collection พิเศษ True x artstory, B-Quick, DHL x artstory,รูปภาพที่ศิลปินออทิสติกวาดออกมา ได้นําไปจดเป็น ลิขสิทธิ์และลวดลายเหล่านั้น จะถูกนําไปนําเสนอต่อลูกค้าที่ สนใจและต้องการนําลายเหล่านั้นไปใช้ไม่วาจะเป็นลวดลายบน Café amazon x artstory เป็นต้น สินค้า packaging หรือการหยิบยืมไปใช้ในโปรเจคต่างๆ

ทีมศิลปินArtstory รับจัดทํา Workshop ด้วยศิลปะ บําบัดให้องค์กร หรือตาม Event ต่างๆ เพ่ือให้บุคคลากรใน องค์กรหรือผู้ที่มาร่วมงานได้มีส่วนร่วมกับบุคคลออทิสติก ซึ่งกระบวนการนี้เปนกระบวนการฟื้นฟูทางอ้อมให้พวกเขาอีกด้วย จําหน่าย ในPlatform อาทิ WeloveShopping,Shop@24,Shopeeและเว็บไซต์Artstory OflineArtstory  ที่มูลนิธิออทิสติกไทย, ห้างไอคอนสยาม ชั้น 4 โซน ICONCRAFT, ห้างสยาม Discovery ชั้น3โซนODSและสินค้าบางประเภทได้นําไปจัดจําหน่ายที่ร้านTrueCoffeeในบางสาขา

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

 

ออทิสติกก็เป็นอัจฉริยะ-ศิลปินได้

อเล็ก-ชนกรณ์ พุกะทรัพย์ อายุ 17 ปี  เป็นออทิสติก และแอลดี หรือ Learning Disabilities (LD) ความบกพร่อการเรียนรู้ แต่แรงสนับสนุนของครอบครัวเลี้ยงดูฝึกฝน พัฒนาให้สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ผนวกกับความสนใจ ความสามารถในตัวเองที่ได้ค้นพบ สนใจ เรียนรู้การเป็นนักเขียนในโลกออนไลน์ บอกเล่าเรื่องราว เขียนนิยายแชต ด้วยผลงานเรื่องแรก คือ Paper Heart (หัวใจกระดาษ)นิยายแชทรูปแบบใหม่บนแอปพลิเคชั่น Joylada “จอยลดา” 

นอกจากนี้ยังมีผลงาน โลกของอเล็ก Creator ดิจิทัลอาร์ต  จัดแสดงไปเมื่อวันที่ 12-14 มกราคม 2566 ณ ศูนย์การค้าแอมพาร์ค ได้รับผลตอบรับจากผู้เข้าชมเป็นอย่างดี เห็นได้จากการจัดจำหน่ายภาพได้ 17 ภาพ โดยภาพที่ชื่อว่า You can do it I can do it. ต้องจัดทำซ้ำถึง 5 ครั้ง เพราะมีผู้สนใจซื้อเป็นจำนวนมาก

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด ผู้พัฒนา JNFT Marketplace ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อ-ขาย NFT สัญชาติไทย ให้การสนับสนุน และนำผลงานเชื่อมโยงจัดทำในรูปแบบแสตมป์ดิจิทัล I-Stamp พิเศษ! มีการจำหน่าย I-Stamp รายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายแสตมป์ของอเล็ก มอบให้แก่ มูลนิธิออทิสติกไทย เพื่อนำรายได้ไปส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิเศษ

"เขามีความสุขกับการวาดภาพบนหน้าจอ มีความสุขกับการเล่นเกม ดูการ์ตูนและวาดภาพบอกเล่าจินตนาการ ตอนนี้ ผมได้เป็น Creator ที่แม้จะเป็นออทิสติก แอลดี และทำมันได้ ฝากถึงเพื่อนที่เป็นเหมือนกับผมว่าการจะมีความสุขได้ต้องใช้เวลาในการค้นหาตัวเอง ค้นให้พบว่าความสุขของเราคืออะไร จริง ๆ และลงมือทำ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องอายเลยครับ You can do it I can do it. # อย่ายอมแพ้” อเล็กกล่าว

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

 

 

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

2เมษาวันตระหนักรู้ออทิสติกโลก

สำหรับวันรณรงค์เพื่อการตระหนักรู้ออทิสติกโลก (Autism Awareness Day) 2 เมษายนปีนี้เครือข่ายสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซืม (ไทย) และ มูลนิธิออทิสติกไทย ร่วมกันจัดงานรณรงค์วันตระหนักรู้ออทิสติกโลก World Autism Awareness Day 2023ภายใต้แนวคิด“Toward a Neuro-Inclusive World for All” หรือการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่โลกที่ยอมรับความหลากหลายและความแตกต่างของทุกคนทั้งระดับครอบครัว, ระดับชุมชน, ระดับสถานที่ทำงานจัดงานนิทรรศการทั้งหมด 16 บูธ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตของบุคคลออทิสติก ที่มูลนิธิออทิสติกไทย (มีการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊ก)

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

โดยภายในงานจะมีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ: นำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เครื่องหนัง, กระเป๋าสาน และพวงกุญแจทำมือ สินค้าฝีมือคนพิการ

-สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร: ฝึกหรือสาธิตอาชีพเสริมสำหรับผู้พิการ ซึ่งสามารถขอเข้าฝึกอบรมได้ที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานครทุกแห่ง

-สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ: จัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องช่องทางต่างๆ ในการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพคนพิการ

-สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม (ไทย): จัดแสดงและนำเสนอนิทรรศการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สมาคม 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)

-สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดราชาธิวาส: จัดนิทรรศการชุดความรู้ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนต้นแบบการเรียนเด็กพิเศษ

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

-นวัตกรรมออทิสติกไทย: จัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องช่องทางการหารายได้ด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น การทำสติกเกอร์ไลน์ เป็นต้น

-ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก ภาคเหนือ, ภาคอีสาน, ภาคกลาง และภาคใต้: นำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากชมรมในเครือข่าย เช่น AuJaa’ Craft แบรนด์ผ้าฝ้ายมัดย้อมและงานถักโครเชต์, Scrubpy doo แผ่นล้างจานแห้งไว เป็นต้น

-มูลนิธิออทิสติกไทยและบริษัท ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด: จัดแสดงนิทรรศการและสาธิตโครงงานที่พัฒนาร่วมกับกศน.ตลิ่งชัน ว่าด้วยการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับบุคคลออทิสติก, สาธิตอาชีพงานปั้น และนำเสนอสื่อนวัตกรรมที่พัฒนาจากแอปพลิเคชันเพื่อบุคคลออทิสติก รวมถึงผลงาน digital art by Artstory ที่พัฒนาภาพวาดบนเฟรมผ้าใบในห้องศิลปะ ให้กลายเป็นสินทรัพย์ดิจิตอลจำหน่ายในตลาด NFT ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายผลงาน NFT ด้วยเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีได้

-โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์: นำเสนอ SNOEZELEN TECHNIC หรือการจัดห้องบำบัดด้วยแสงและสี ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบำบัดรักษาพฤติกรรมของบุคคลออทิสติกจากเนเธอร์แลนด์

-ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน): นำเสนอ App, STS ,ธนาคารชุมชม และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ความรู้เรื่องการอยู่ร่วมกับผู้อยู่ในภาวะออทิซึม

-เครือข่ายต้นแบบfor All coffee: จำหน่ายกาแฟและน้ำชงจากฝีมือของบาริสต้า ซึ่งได้รับการฝึกอบรมจากมูลนิธิฯ เพลิดเพลินทั้งรสชาติและเสพความอาร์ตไปในคราวเดียวกันกับเมนูที่ช่วยเติมพลังให้เช้าวันใหม่ของทุกคนไม่จำเจ

รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน

-JNFT Marketplace: แนะนำ JNFT ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายและประมูล ผลงานศิลปะที่เป็นดิจิทัล บนระบบบล็อกเชนแบบไร้ศูนย์ (Decentralized) ผ่านการยืนยันสิทธิ์แทนการเป็นเจ้าของด้วยเหรียญที่ไม่สามารถแทนค่าหรือทำซ้ำได้ (Non-Fungible Token)

และวันที่ 3 เมษายน 2566จะมีงานเสวนาแลกเปลี่ยนหัวข้อ “การดูแลเด็กออทิสติกในครอบครัว”ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ รัชดา กรุงเทพมหานครบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าเยี่ยมชมงานนิทรรศการวันที่ 2 เมษายน ซึ่งจัดขึ้นที่มูลนิธิออทิสติกไทย ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00 น.