8 แนวทางสุขภาพดี ชีวิตสูงวัยยืนยาว อย่างมีคุณภาพ
เมื่อเร็วๆนี้สำนักงานเอ็มไอที สโลน ประจำภูมิภาคอาเซียน (MSAO) จัดการประชุมครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ในกรุงเทพฯ ภายใต้หัวข้อ “Beyond Years: The Future of Longevity”
KEY
POINTS
- การมีอายุยืนยาวไม่ใช่เพียงแค่การมีชีวิตที่ยาวนานเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ
- 8 ปัจจัยที่ทำให้สุขภาพดีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพ ต้องดูแลสุขภาพพื้นฐาน ไลฟ์สไตล์ การแพทย์เฉพาะทาง ชุมชน ฝึกอบรม ดูแลแบบบูรณาการ สุขภาวะทางจิต และงานวิจัย นวัตกรรม
- อยากให้ภาครัฐเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับส่งเสริมป้องกันให้ผู้สูงอายุให้มากขึ้น เช่น การตรวจคัดกรองโรค การเพิ่มการฉีดวัคซีนอื่นๆ สนับสนุนให้มีสิ่งแวดล้อมเกื้อหนุนต่อการมีสุขภาพที่ดี
เมื่อเร็วๆนี้สำนักงานเอ็มไอที สโลน ประจำภูมิภาคอาเซียน (MSAO) จัดการประชุมครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ในกรุงเทพฯ ภายใต้หัวข้อ “Beyond Years: The Future of Longevity” โดยมีศาสตราจารย์ โรเบิร์ต ซี. เมอร์ตัน (Robert C. Merton) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี 2540 และยังเป็นศาสตราจารย์ด้านการเงินจากสถาบันบริหารธุรกิจ เอ็มไอที สโลน บรรยายในหัวข้อ “Toward a Good Longevity Experience: Addressing the Global Retirement Funding Crisis การรับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรสูงวัยได้อย่างเหมาะสม
โดยมีบุคลากรทางการแพทย์มาร่วมเสวนาในหัวข้อ “Healthcare Practitioner Perspective” ที่นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความท้าทายด้านการดูแลสุขภาพของประชากรสูงวัยในภูมิภาคอาเซียน ที่หลากหลายเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลกระทบต่อการมีอายุยืนยาวของประชากรในภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นนางอัญชลี สาสติ อาจารย์อาวุโสของสถาบันบริหารธุรกิจ เอ็มไอที สโลน ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และผศ.นพ.พลกฤต ทีฆคีรีกุล Chief Executive Officer ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
3I Model ดูแลสุขภาพสูงวัย ตามสูตร 'นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ'
การมีอายุยืนยาวไม่ใช่เพียงแค่การมีชีวิตที่ยาวนาน
ได้ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายในปัจจุบันและแนวโน้มความต้องการของประชากรในอนาคต รวมถึงเผยข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภูมิภาคนี้ก้าวข้ามความท้าทายด้านสุขภาพ เพื่อการมีอายุยืนยาว รวมทั้งมุ่งเน้นการศึกษาบทบาทที่สำคัญของระบบสาธารณสุข ในการเตรียมพร้อมรับมือกับประชากรสูงวัยของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านความต้องการทางการแพทย์ สุขภาวะและความท้าทายที่บุคลากรทางการแพทย์กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ผ่านการวิเคราะห์ความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ในระบบสาธารณสุข ควบคู่ไปกับการศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการมีอายุที่ยืนยาวของประชากร พร้อมทั้งนำเสนอผลการวิจัยและข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการมีชีวิตที่ยืนยาวและสุขภาวะที่ดีในภูมิภาคอาเซียน
โดยการเสวนาครั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญในด้านการดูแลเชิงป้องกัน การมีส่วนร่วมของชุมชน และกลยุทธ์ด้านสุขภาพที่ปรับให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การมีอายุยืนยาวไม่ใช่เพียงแค่การมีชีวิตที่ยาวนานเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อให้เราสามารถทำกิจวัตรประจำวันและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มที่และเหมาะสมกับช่วงอายุของเรา สิ่งเหล่านี้คือการยืนยันว่าเรายังคงรักษาสุขภาพทั้งกายและใจในช่วงเวลาชีวิตที่เหลือได้เป็นอย่างดี
ปัจจัยทำให้สุขภาพดี ชีวิตยืนยาว
สำหรับปัจจัยที่ทำให้สุขภาพดีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพ สรุปได้ดังนี้
1. ความสำคัญของการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน: การดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการได้ยินและการมองเห็น ความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว และปัจจัยในชีวิตประจำที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น การดื่มแอลกอฮอล์ โรคเบาหวาน และโรคอ้วน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในอย่างยิ่งต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กล่าวคือ ผู้คนควรให้ความสำคัญกับ “อายุขัยที่มีสุขภาพสมบูรณ์” (Health Span) หรือ การมีช่วงเวลาที่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี ปราศจากความทุพพลภาพและโรคเรื้อรัง มากกว่าการมุ่งความสนใจไปที่ “อายุขัย” (Lifespan) เพื่อให้เรามีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพควบคู่กันไป
2. ปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์: การเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และสภาพแวดล้อมทางสังคม ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อการมีอายุที่ยืนยาว โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีโภชณาการครบถ้วน และมีผักเป็นส่วนประกอบหลัก รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมสูงวัย ดังนั้น เวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) จึงกลายเป็นเทรนด์ทางการแพทย์ที่โดดเด่นและควรได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน
3. การแพทย์เฉพาะบุคคล: แนวโน้มในอนาคตของระบบสาธารณสุขจะมุ่งเน้นไปที่การแพทย์เฉพาะบุคคล โดยการผสานความรู้ทางด้านพันธุกรรมและปัจจัยวิถีชีวิตในการออกแบบการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การบรรลุถึงอายุที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) หรือ การวางแผนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างมีคุณภาพ และเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Medicine) เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และผลลัพธ์ที่ดีรอบด้าน
4. แนวทางที่มีฐานจากชุมชน: การมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบสาธารณสุข รวมถึงการสร้างระบบที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับการคัดกรองและ มากไปกว่านั้น การเสวนานี้ยังมีเป้าหมายสำคัญในการชี้ให้เห็นถึงความต้องการเฉพาะของประชากรสูงวัยในภูมิภาค รวมถึงกลยุทธ์ที่เป็นรูปธรรมสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ โดยแนวทางนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนานโยบายที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่เพิ่มขึ้น และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทั่วทั้งภูมิภาค การดูแลอย่างต่อเนื่อง มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแนวทางในการส่งเสริมการมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพ
5. การฝึกอบรม และการศึกษา: การเพิ่มทักษะ (Upskilling) การเรียนรู้ทักษะใหม่ (Reskilling) ของผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข รวมถึงการให้ความรู้แก่ครอบครัวเกี่ยวกับการจัดการด้านสุขภาพ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในระยะยาว เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านศาสตร์แห่งการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน
6. การดูแลแบบบูรณาการ: การจัดการด้านการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการจำเป็นต้องครอบคลุมทุกระดับ เริ่มตั้งแต่การบริการขั้นปฐมภูมิ ไปจนถึงการบริการเฉพาะทาง ซึ่งการเติบโตของการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เป็นตัวอย่างที่ดีของการดูแลแบบบูรณาการ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพจากระยะไกลได้ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในประเทศไทย
7. การมีสุขภาวะทางจิตที่ดี: สุขภาวะทางจิตและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม นับเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับประชากรสูงวัย เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มักจะเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว และแยกตัวออกจากสังคม ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยการส่งเสริมความตระหนักรู้และการสนับสนุนด้านสุขภาวะทางจิตจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
8. งานวิจัยและนวัตกรรม: งานวิจัยที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและตัวชี้วัดสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาแนวทางการมีชีวิตที่ดีและยืนยาว ซึ่งรวมถึงความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในการส่งเสริมนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและสุขภาพของคนในสังคม
ยืดอายุขัยที่ยังสุขภาพดี สู่สูงวัยอย่างมีคุณภาพ
ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยสมบูรณ์ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ ผู้สูงวัยมักมีโรคต่างๆตามอายุที่มากขึ้น การรับมือสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพจึงต้องขยายช่วงชีวิตที่มีสุขภาพดี (Healthy Aging) ให้ได้ยาวที่สุด หมั่นควบคุมอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลี่ยงความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เป็นการป้องกันเชิงรุก และพยายามทำให้ช่วงที่เจ็บป่วย พึ่งพิง ในยามอายุมากให้สั้นที่สุด ปัจจุบันอายุคาดเฉลี่ยของคนไทยในเพศหญิงอยู่ที่ราว 80 ปี และเพศชายอยู่ที่ 72 ปี
การยืดอายุด้วยการมีวิถีสุขภาพที่ดี ยังเป็นการทำให้ช่วงอายุขัยที่ยังสุขภาพดี (healthy life expectancy) ยืนยาวขึ้น ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี ทำงานได้ อาจจะทำให้มีการขยายเวลาเกษียณอายุจากการทำงาน หรือผู้สูงอายุบางกลุ่มก็จะมีอาชีพเสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้น รวมไปถึงสายงานที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่กำลังขยายตัว เช่น งานผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) ผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับผู้สูงอายุ ตลอดจนการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงวัยที่ยังแข็งแรง ช่วยเพิ่มโอกาสการประกอบอาชีพที่เกิดจากตัวผู้สูงอายุเอง และเกิดจากสิ่งที่จะมาตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุ
อย่างไรก็ตาม การรองรับสังคมผู้สูงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีองค์ประกอบหลายส่วนไม่จะเป็นองค์ความรู้ สังคมและการบริการ ต้องให้สอดคล้องไปด้วยกัน เนื่องจากพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี คือ วิถีการใช้ชีวิต (อาหาร ออกกำลังกาย) เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ด้านจิตใจและอารมณ์ที่จะมีผลต่ออายุที่ยืนยาว มีกิจกรรมทางสังคมที่เกื้อหนุน การส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการดูแลตนเองเป็น (self-care) จะช่วยให้การมีสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ
“อยากให้ภาครัฐเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับส่งเสริมป้องกันให้ผู้สูงอายุให้มากขึ้น เช่น การตรวจคัดกรองโรค การเพิ่มการฉีดวัคซีนอื่นๆ สนับสนุนให้มีสิ่งแวดล้อมเกื้อหนุนต่อการมีสุขภาพที่ดี สนับสนุนเงินให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุและหน่วยบริการเยี่ยมบ้านที่ทำการประเมินคัดกรองสุขภาพ รวมถึงเพิ่มจำนวนผลิตแพทย์ด้านเวชศาสตร์ป้องกัน ในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคในระดับบุคคลและชุมชน รวมทั้งเพิ่มการผลิตแพทย์ด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ มาช่วยสนับสนุนประชากรไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะเป็นการเตรียมพร้อมในการรับมือสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ"