บริการที่คุณค่าสำคัญสุด หัวใจบริหารโรงพยาบาลยุคปัจจุบัน

บริการที่คุณค่าสำคัญสุด  หัวใจบริหารโรงพยาบาลยุคปัจจุบัน

ปัจจุบันธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนถูกมองว่าเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง แต่ในมุมมอง "​ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์" กลับมองว่าการแข่งขันไม่ใช่กุญแจที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน

KEY

POINTS

  • หัวใจสำคัญของการบริหารโรงพยาบาลยุคปัจจุบัน ไม่ว่ารัฐหรือเอกชน คุณค่าที่สำคัญสุด คือ คุณค่าที่ส่งมอบให้คนไข้ และต้องกำหนดคุณค่าที่จะมอบให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายควบคู่กันไปด้วยเสมอ
  • พัฒนาศูนย์ตรวจสุขภาพองค์รวม หรือ Integrative Check Up Center ที่สามารถดูแลต่อเนื่องทั้งชีวิตตั้งแต่เกิด ประเมินได้ว่าบุคคลนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอะไรตั้งแต่ยังไม่ป่วยเพื่อป้องกันแทนการรักษา
  • กายภาพผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยมะเร็งแม้เป็นชนิดเดียวกัน แต่การตอบสนองต่อยาก็ไม่เหมือนกัน การรักษาต้องทำเฉพาะบุคคล

ปัจจุบันธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนถูกมองว่าเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง แต่ในมุมมอง "​ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์" กลับมองว่าการแข่งขันไม่ใช่กุญแจที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน

หลังจากเกษียณจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล “ศิริราช” มารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลธนบุรี เพราะแท้จริงแล้วการแข่งขันไม่ใช่กุญแจที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน การมองโรงพยาบาลอื่นเป็นคู่เทียบในการพัฒนาคุณค่าการให้บริการ เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีของประชาชนต่างหากถึงจะเป็นคำตอบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

คดีหมอบุญสะเทือนครั้งใหญ่ ดึง “บิ๊กเนม“ – การเมือง –ตระกูลดัง” ปล่อยกู้

THG พลิกขาดทุนหนัก 352 ล้าน ตั้งสำรองหนี้สูญพุ่ง 284 ล้าน

มองรพ.อื่นเป็นคู่เทียบพัฒนาคุณค่าบริการ

จะว่าไปแล้วโรงพยาบาลธนบุรี กับ  "​ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ มีความผูกพันธ์กันมานานตั้งแต่สมัยเรียนแพทย์ เพราะ “ศ.เกียรติคุณ นพ.อำนวย อุนนะนันทน์” ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะแพทย์ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี เป็นบุคคลที่ "​ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์" ให้เคารพตั้งแต่สมัยเรียนแพทย์ และเป็นคนชวนให้มาทำงานพิเศษที่โรงพยาบาลแห่งนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ปีแล้ว การทำหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลธนบุรี หลังจากเกษียณเพียง 2  เดือนจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพราะทุกอย่างคุ้นเคยกันมานานแล้ว

"การจะเป็นโรงพยาบาลทางเลือกที่ดีของประชาชน ถ้าเริ่มต้นด้วยการมองโรงพยาบาลอื่นเป็นคู่แข่งก็ผิดตั้งแต่แรกแล้ว นับจากนี้โรงพยาบาลธนบุรีจะไม่เป็นคู่แข่งกับใคร แต่จะมองที่อื่นเป็นคู่เทียบในการพัฒนาคุณค่าการให้บริการ เน้นการพัฒนาเพื่อเป็นทางเลือกที่ดีหัวใจสำคัญของการบริหารโรงพยาบาลยุคปัจจุบัน ไม่ว่ารัฐหรือเอกชน คุณค่าที่สำคัญสุด คือ คุณค่าที่ส่งมอบให้คนไข้ และต้องกำหนดคุณค่าที่จะมอบให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายควบคู่กันไปด้วยเสมอ" 

บริการที่คุณค่าสำคัญสุด  หัวใจบริหารโรงพยาบาลยุคปัจจุบัน

 

ลงทุนสร้างอาคารสีเขียวประหยัดพลังงาน

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลธนบุรี กล่าวว่าแรกเริ่มเป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง ปัจจุบันเพิ่มเป็น 435 เตียง มีห้องตรวจผู้ป่วยนอกจำนวน 77 ห้อง  ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารผู้ป่วยนอกแห่งใหม่และเพิ่มจำนวนเตียง เพื่อขยายศักยภาพในการรองรับผู้ป่วยให้ได้มากยิ่งขึ้น ปี 2568 จะเปิดอาคารผู้ป่วยนอก (OPD) แห่งใหม่ที่เป็นการลงทุนเทคโนโลยีการแพทย์ทันสมัย พร้อมออกแบบภายใต้แนวทางอาคารสีเขียว ประหยัดพลังงาน เราตั้งเป้าการเป็นโรงพยาบาลเอกชนทางเลือกที่คนทุกช่วงวัย สามารถเข้ารับการรักษาที่ดีมีคุณภาพ ในราคาเหมาะสมเข้าถึงได้     

ปัจจุบันให้การรักษาทางด้านโรคยากและ.ซับซ้อนแต่จากนี้ไปจะปรับแนวทางการให้บริการมากขึ้นโดยให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างเช่น เปิดพื้นที่ให้บริการสำหรับกลุ่ม LGBT หรือให้บริการดูแลคุณแม่ให้ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ให้คำปรึกษาการมีบุตรยาก โดยจะมีใช้เครือข่ายการทำงานกับรพ.อื่นๆในเครือ และเพิ่มยอดผู้ใช้บริการจากที่เป็นคนไทย 95 % ต่างชาติ 5 % โดยเพิ่มยอดผู้ใช้บริการต่างชาติให้มากขึ้น   

แนวคิดการบริหาร 4 แกนหลัก

ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ กล่าวว่าเป้าหมายการบริหาร รพ.ธนบุรีจะต้องเป็น The Most trusted and valued คนไข้ไว้ใจการดูแลรักษาได้ สามารถให้การรักษาที่มีมาตรฐาน คุ้มค่า มีจริยธรรมการแพทย์และจริยธรรมทางธุรกิจ ขณะเดียวกันก็พัฒนาศักยภาพทั้งด้านทีมแพทย์ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแพทย์ต่อเนื่อง เป็นโรงพยาบาลที่ “คุ้มค่า คุ้มราคา เข้าถึงได้” ตามปณิธานของคณะแพทย์ผู้ก่อตั้ง ดังนั้น สิ่งที่จะเข้ามาต่อยอดคือ คุณภาพการบริการ ระบบงาน และสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล โดยใช้แนวคิดการบริหาร 4 แกนหลัก คือ “ปลอดภัยมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น ประสิทธิภาพมากขึ้น และต้องมีนวัตกรรม”

โดยเน้นความปลอดภัย ดูแลคนไข้และบุคลากรที่ดี คนไข้มาพบแพทย์ต้องตรวจวินิจฉัยถูกโรค จ่ายยาถูกต้อง ผ่าตัดตรงจุด บุคลากรต้องไม่บาดเจ็บจากการทำงาน  คุณภาพ การรักษาพยาบาลต้องดีภายใต้มาตรฐานการแพทย์ งานบริการต้องสร้างความพึงพอใจให้ทั้งคนไข้และบุคลากร ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต้องสามารถบริหารจัดการให้ราคาคุ้มค่า ตรวจรักษาได้ฉับไวภายใต้การทำงานที่เหมาะสม และนวัตกรรม ที่มิได้จำกัดเฉพาะเทคโนโลยีและดิจิทัล แต่รวมถึงความคิดใหม่ ความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ เพื่อการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น

ลขณะเดียวกันต้องให้ความสำคัญกับ “คน” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารองค์กร เพราะเป็นเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนองค์กร บุคคลากร ทั้ง 2,000 คนแพทย์ 100 คน ส่วนใหญ่เป็น เจน Yและกลุ่มคนรุ่นใหม่ ต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ทำให้พวกเขาเติบโตในหน้าที่การงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทำงานอย่างมีความสุข  โดยปี 2025 จะจัดทำแผนพัฒนาบุคคล โดยเฉพาะ เจน Z จะต้องมีช่องทางในการเติบโตและเปิดโอกาสให้มีความหน้าในสายงานอย่างชัดเจน 

"เจน Z ต้องการโอกาส การบริหารกลุ่มนี้ก็ต้องให้โอกาสในการเรียนรู้ โอกาสในการก้าวหน้า และโอกาสในการพัฒนาบุคลากรในการเลื่อนระดับในการเติบโตในหน้าที่ในการสายงาน  ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร"

เพิ่มความสะดวกนัดพบแพทย์-จัดคิว

โดยจะนำ Medical Advancement หรือ วิทยาการความก้าวหน้าทางการแพทย์ และ Digital มาผสานกับมาตรฐานทางการแพทย์ที่เป็นจุดแข็งเดิมของที่นี่ เพื่อขยายขีดความสามารถในการดูแลตั้งแต่ก่อนป่วย และดูแลเฉพาะรายบุคคลได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงผู้ป่วยที่อยู่ช่วงวาระสุดท้าย ที่สำคัญระบบใหม่จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านบริการ ลดการเสียเวลาทุกขั้นตอนสำหรับผู้ป่วย หรือ ญาติผู้ป่วย

ระบบที่นำมาใช้ คือ Patient Management System ช่วยเพิ่มความสะดวกในการนัดพบแพทย์และการจัดการคิวรอตรวจสำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่ต้องพบแพทย์หลายด้าน และมีโครงการพัฒนาศูนย์ตรวจสุขภาพองค์รวม หรือ Integrative Check Up Center ที่สามารถดูแลต่อเนื่องทั้งชีวิตตั้งแต่เกิด ประเมินได้ว่าบุคคลนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอะไรตั้งแต่ยังไม่ป่วยเพื่อป้องกันแทนการรักษา

​การรักษาแบบมุ่งเป้า หรือ เฉพาะเจาะจง 

“เป็นอีกแนวทางหนึ่งในแผนบริหาร เพราะกายภาพผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยมะเร็งแม้เป็นชนิดเดียวกัน แต่การตอบสนองต่อยาก็ไม่เหมือนกัน การรักษาต้องทำเฉพาะบุคคลโดยจะใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูลเข้ามาช่วยวิเคราะห์ หรือ การผ่าตัดข้อเทียมที่จะลงลึกเฉพาะบุคคลได้มากขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติมาช่วยในการออกแบบข้อเทียมที่เหมาะกับโครงสร้างกระดูกของผู้ป่วยรายนั้นได้พอดี”

รพ.เอกชนแห่งแรกของฝั่งธนบุรี

โรงพยาบาลธนบุรี เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของฝั่งธนบุรี (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา) พื้นที่เดิมของรพ.เคยเป็นโรงเรียนแสงศึกษา เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2520 ขนาด 60 เตียงปัจจุบันเพิ่มเป็น 435 เตียง และมีห้องตรวจผู้ป่วยนอกจำนวน 77 ห้องปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารผู้ป่วยนอกแห่งใหม่และเพิ่มจำนวนเตียง เพื่อขยายศักยภาพในการรองรับผู้ป่วยให้ได้มากยิ่งเพื่อเป็นทางเลือกที่คนทุกช่วงวัย สามารถเข้ารับการรักษาที่ดีมีคุณภาพ ในราคาเหมาะสมเข้าถึงได้

การรักษามีการนำหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด Da Vinci Xi Surgical System และ Mako Robot เข้ามาช่วยศัลยแพทย์ในการผ่าตัดที่มีความซับซ้อน ลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ทั้งการผ่าตัดข้อเข่า ข้อสะโพก ผ่าตัดมะเร็ง ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ รวมถึง หุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินสำหรับกายภาพบำบัด การลงทุนเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องกระดูกสันหลังแบบเอนโดสโคป (Endoscopic Spine Surgery)

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองโดยไม่ต้องผ่าตัดด้วยเทคโนโลยี Bi-Plane DSA (Biplane Digital Subtraction Angiograph) การตรวจหลอดเลือดโดยการใช้รังสีวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดชนิด 2 ระนาบที่ให้ความแม่นยำมากกว่าการเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT) หรือ การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นต้น