เหงือกบวม เหงือกอักเสบ ดูแลให้ดี ก่อนสูญเสียฟัน
เมื่อพูดถึงสุขภาพในช่องปาก คนส่วนใหญ่มักนึกถึงแต่สุขภาพฟัน อย่างเช่น ฟันผุ หรือมีหินปูนเกาะ โดยลืมไปว่า “ฟันจะอยู่ดีไม่ได้ หากไม่มีสุขภาพเหงือกที่ดีมารองรับ”
KEY
POINTS
- เหงือกอักเสบเกิดจากพฤติกรรมบางอย่างในการดูแลสุขภาพภายในช่องปาก เช่น การเปลี่ยนยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก ซึ่งอาจไปกระตุ้นปฏิกิริยาหรือแพ้สารประกอบบางอย่างจนระคายเคือง เป็นแผลได้
- แปรงฟันวันละสองครั้งด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มบาง เพื่อให้แปรงสามารถเข้าถึงซอกใต้ขอบเหงือกและไม่ทำร้ายเหงือกให้ระคายเคือง
- สุขภาพในช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะสุขภาพฟันและเหงือก ดังนั้นเราจึงควรรู้จักวิธีการดูแลที่ถูกต้อง และเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ ขูดหินปูนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เมื่อพูดถึงสุขภาพในช่องปาก คนส่วนใหญ่มักนึกถึงแต่สุขภาพฟัน อย่างเช่น ฟันผุ หรือมีหินปูนเกาะ โดยลืมไปว่า “ฟันจะอยู่ดีไม่ได้ หากไม่มีสุขภาพเหงือกที่ดีมารองรับ”
เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกเจ็บเหงือก มีอาการบวม แดง หรือมีเลือดออกขณะแปรงฟัน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของการอักเสบ อันจะนำไปสู่การสูญเสียฟันที่ยังดีๆ แบบที่ไม่ควรเสียก็เป็นได้
"เหงือก" เป็นอวัยวะที่ใครหลาย ๆ คนมองข้ามและไม่ได้ให้ความสำคัญสักเท่าไหร่ แต่ใน ความเป็นจริงแล้วเหงือกถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญไม่แพ้อวัยวะอื่นเลย เพราะเหงือกมีหน้าที่ สำคัญคือคอยยึดฟันไว้ให้ติดกับกระดูกขากรรไกรและเป็นอวัยวะที่ช่วยรองรับแรงในการบด เคี้ยว ซึ่งรูปร่างและลักษณะของเหงือกจะมีสีชมพูขอบเรียบเต็มไปด้วยเส้นเลือด
ซึ่งนั่น หมายความว่าหากมีความผิดปกติที่เหงือก มีอาการเหงือกบวม เลือดออกตามไรฟัน หรือเหงือกอักเสบอยู่บ่อยครั้ง แบบนี้ก็สันนิษฐานไว้เลยว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคเหงือกอักเสบเข้าแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
'กลิ่นปาก' ไม่ใช่เรื่องตลก อาจเป็นสัญญาณบอกโรค
เลือก 'แปรงสีฟัน' อย่างไร ให้ได้คุณภาพ ลดความเสี่ยงฟันสึก เหงือกร่น
รู้จักเหงือกอักเสบ เหงือกบวม
ถ้าจะให้พูดถึงความเจ็บปวดนั้นเราทุกคนต่างก็รู้ดีว่ามันเป็นสิ่งที่ทรมาน ไม่ว่าจะเป็น ความเจ็บปวดทางใจหรือทางกาย อย่างการเกิดอุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วย แต่เราเชื่อว่ามีอีก สิ่งหนึ่งที่ทุกคนเคยเผชิญ และรับรู้ได้ถึงความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส นั่นก็คือความ เจ็บปวดจากการปวดฟัน ปวดเหงือก นั่นเอง ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้เป็นอุบัติเหตุร้ายแรงหรือเกิดโศกนาฏกรรม แต่ความเจ็บปวดจากการปวดฟัน หรือปวดเหงือก
ที่ไม่ว่าจะเป็นฟันคุด ฟันผุทะลุโพรงประสาท เหงือกเป็นหนอง เหงือกบวมหรือเหงือกอักเสบมันก็เจ็บปวดรวดร้าวไปถึงแกนสมอง สะเทือนไป ถึงหัวใจเลยทีเดียว ซึ่งนั่นหมายความว่าก่อนที่อาการปวดฟันจะมาถึง เหงือกของเราก็มีอาการ สาหัสมาพอสมควร
สัญญาณสุขภาพฟัน เหงือกบวมอักเสบ
เหงือกบวม อักเสบ เป็นอาการที่พบได้บ่อย ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น เช่น มีเลือดออกขณะแปรงฟัน สีของเหงือกเปลี่ยนไปจากสีชมพูอ่อนหรือจากสีเดิมกลายเป็นสีแดงเข้ม หรือมีอาการบวม
- อาการเหงือกบวมประเภทต่าง ๆ
หลายคนอาจจะสงสัยว่าถ้าหากเรามีเหงือกบวม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเหงือกเรากำลังจะ อักเสบหรือเกิดความผิดปกติ เพราะส่วนใหญ่แล้วอาการเหงือกบวมจะแสดงออกมาไม่มากหรือ อาจจะไม่แสดงอาการปวดใด ๆ ออกมา ถ้าหากเป็นเช่นนั้นเรามาคอยสังเกตกันดีกว่าค่ะ ว่า อาการเหงือกบวมหรือเหงือกเป็นหนองจะมีลักษณะเป็นอย่างไร
- อาการเหงือกบวมแดงอักเสบ
เหงือกจะเปลี่ยนสีจากชมพูอ่อนเป็นแดงเข้มถึงม่วงและจะมีอาการบวมโตขึ้นเรื่อย ๆ จน บิดเนื้อฟัน หากจับหรือสัมผัสบริเวณที่บวมจะมีอาการเจ็บ หรือมีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรง ฟันและอาจมีฟันผุร่วมด้วย
- อาการเหงือกบวมเป็นหนอง
อาการเหงือกบวมเป็นหนองซึ่งนอกจากเหงือกจะบวมโตแล้ว ยังมีของแถมมาด้วยคือ หนอง เพราะหากเหงือกอักเสบหรือติดเชื้อ เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีม่วงและมีความคล้ำโดย เฉพาะบริเวณขอบเหงือก และเมื่อเรากดหรือสัมผัสบริเวณที่อักเสบก็จะมีหนองออกมา
- อาการรากฟันอักเสบ
รากฟันอักเสบจะเป็นอาการที่เส้นเลือดในโพรงประสาทฟันเกิดการอักเสบและมีปัญหา ส่งผลให้มีตุ่มหนองที่เหงือก สีของฟันจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำขึ้น หรือหากเคี้ยวอาหารก็จะรู้สึกเจ็บ และเสียวฟัน
อาการเหล่านี้หากปล่อยไว้ก็จะเป็นอันตราย เช่นอาจเกิดการสูญเสียฟันที่ถึง กับต้องใส่ฟันปลอม หรืออาจจะร้ายแรงกว่านั้นคือเป็นโรคที่เกี่ยวกับเหงือกหรือลามไปจนถึงเป็น มะเร็งในช่องปาก
เมื่อเหงือกอักเสบก็จะส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เกิดการระคายเหงือก เจ็บหรือปวดเหงือก เสียวฟัน ปวดฟัน จนไม่อยากดื่มน้ำหรือเคี้ยวอาหาร ทำให้เสียสุขภาพ และอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การสูญเสียฟันได้ ดังนั้นหากรู้สึกว่าเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับเหงือก ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ ป้องกันการลุกลามและวางแผนการรักษาทันที
เหงือกบวม เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ?
มีสาเหตุมากมายที่ทำให้เหงือกบวม เหงือกอักเสบ โดยมีทั้งแบบรุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมากจนลุกลามอันตรายได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้น หากมีอาการหรือข้อสงสัยดังต่อไปนี้ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ วินิจฉัย และรักษาอย่างทุกต้องตรงจุดจะดีกว่า ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น
- เกิดจากเหงือกอักเสบ ที่เรียกว่า “โรคปริทันต์อักเสบ” (Periodontal disease) เพราะคราบจุลินทรีย์ที่สะสมในช่องปากทำให้เกิดคราบหินปูนเกาะ เมื่อเวลาผ่านไปจึงเกิดการระคายเคืองต่อเหงือก และเกิดการอักเสบในเวลาต่อมา
- เกิดการติดเชื้อในช่องปาก เพราะการทำความสะอาดฟันและเหงือกไม่ถูกสุขลักษณะ
- เกิดจากการมีฟันผุ โดยเฉพาะหากลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟัน จะทำให้เหงือกบวมเป็นตุ่มเล็กๆ มีหนอง และเกิดหลุมกว้าง อาการแบบนี้ต้องรีบรักษาก่อนลุกลามจนสูญเสียฟัน
- เกิดจากการมีฟันคุด และมีการระคายเคืองติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง
- เกิดจากการมีกระดูกงอก ทำให้มีการดันเหงือกออกมาจนเกิดอาการอักเสบ
- เกิดการบาดเจ็บของเหงือกจากแผลร้อนในที่ตรงกับบริเวณเหงือกพอดี
- เกิดภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น วิตามินบีและซี ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของฟันและเหงือก
- เกิดจากผลข้างเคียงของการกินยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิดบางอย่าง ยากันชักบางชนิด
- เกิดจากการระคายเคืองในการติดอุปกรณ์ทางทันตกรรม เช่น เหล็กจัดฟัน รีเทนเนอร์ ฟันปลอม
- เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดคราบจุลินทรีย์ในช่องปากง่ายขึ้นและมากขึ้น โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์
- เกิดจากก้อนมะเร็ง ซึ่งอาจสังเกตได้จากลักษณะเหงือกบวมฟูคล้ายดอกกะหล่ำ มีอาการชา และลุกลามอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ เหงือกอักเสบยังเกิดจากพฤติกรรมบางอย่างในการดูแลสุขภาพภายในช่องปาก เช่น การเปลี่ยนยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก ซึ่งอาจไปกระตุ้นปฏิกิริยาหรือแพ้สารประกอบบางอย่างจนทำให้เกิดการระคายเคือง กลายเป็นแผลในช่องปาก รวมถึงการใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งเกินไป หรือใช้ไหมขัดฟันผิดวิธี
โรคที่เกี่ยวกับเหงือกมีอะไรบ้าง
โรคที่เกี่ยวกับเหงือกเป็นสิ่งที่อาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้ ไม่ว่า จะเป็น วัยเด็ก ผู้ใหญ่หรือแม้กระทั่งวัยผู้สูงอายุ ดังนั้น สิ่งที่ควรรู้และตระหนักคือโรค ที่เกี่ยวกับเหงือกนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่ไกลตัวเราสักนิด
- โรคปริทันต์
โรคปริทันต์หรือที่เรียกกันว่าโรครำมะนาด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะ ภายในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นเหงือก ซี่ฟัน รากฟัน ที่เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่มากับอาหารและ น้ำลาย ซึ่งโรคปริทันต์จะมีความรุนแรงมากกว่าโรคเหงือกอักเสบ เพราะโรคนี้เกิดจากการ อักเสบเรื้อรังที่ค่อย ๆ ทำลายกระดูกเบ้าฟันและเนื้อเยื่อของเหงือกไปเรื่อย ๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว หรือรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่เหงือกบวมและติดเชื้อไปเสียแล้ว ซึ่งในบางคนอาจจะมีอาการที่ร้ายแรง กว่านั้นเช่น มีเลือดออกตามไรฟัน ปวดฟัน มีกลิ่นปาก ฟันโยกหรือเกิดการแยกกันของซี่ฟันจน เกิดเป็นช่องว่าง บางรายต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อถอนฟันซี่นั้นออก
อย่างที่ทราบกันไปแล้วเบื้องต้นว่าโรคโรคปริทันต์นั้นมีสาเหตุมาจากคราบจุลินทรีย์ ที่มากับอาหารและน้ำลาย ดังนั้นวิธีรักษาคือต้องกำจัดเชื้อแบคทีเรียด้วยการเกลารากฟันและ การขูดหินน้ำลายที่เกาะอยู่ตามตัวฟัน แต่เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดขาย เพราะเมื่อเราทานอาหารแบคทีเรียก็จะกลับมาอีก ฉะนั้นแล้วสิ่งที่เราควรทำคือการดูแลรักษา ความสะอาดสุขภาพช่องปากด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟันขัดบริเวณซอกฟัน อย่างสม่ำเสมอ
- โรคเหงือกอักเสบ
โรคเหงือกอักเสบเป็นโรคที่เกิดขึ้นบริเวณเหงือก ซึ่งในระยะยะแรกเหงือกจะมีการระคาย เคือง จนเกิดการบวม และเมื่อเราปล่อยทิ้งไว้นานอาการเหงือกอักเสบก็จะตามมา แล้วเราจะรู้ ได้อย่างไรว่าเหงือกกำลังจะอักเสบ จากที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าให้สังเกตจากสีของเหงือก ซึ่งปกติแล้วเหงือกจะมีสีชมพู แต่ถ้าหากเปลี่ยนสีเป็นสีแดงเข้มถึงม่วง เหงือกบวมและมีเลือด ออกร่วมด้วยนั่นก็หมายความว่าโรคเหงือกอักเสบกำลังถามหาคุณแล้ว
การรักษาเมื่อมีปัญหาเหงือกบวม เหงือกอักเสบ
แม้อาการเหงือกบวมจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่หากเป็นอาการในระยะเริ่มแรกก็สามารถรักษาให้กลับมาหายดีได้ โดยเฉพาะเมื่อทำการรักษาก่อนที่กระดูกและเนื้อเยื่อโดยรอบที่พยุงและโอบรัดฟันอยู่นั้นยังไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งการรักษาสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
ทำการขูดหินปูน เกลารากฟันด้วยเครื่องขูดหินปูนไฟฟ้าและเครื่องมือเฉพาะด้านทันตกรรม เพื่อกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะลึกลงไปยังผิวรากฟันในร่องเหงือก เหนือเหงือกและใต้เหงือก เพื่อให้ผิวรากฟันสะอาดและเรียบเนียน เป็นการกำจัดคราบจุลินทรีย์และหินปูนเหนือเหงือกและใต้เหงือกให้หมดไป
เมื่อรักษาเสร็จแล้ว ต้องดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง เช่น แปรงฟันวันละสองครั้งด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มบาง เพื่อให้แปรงสามารถเข้าถึงซอกใต้ขอบเหงือกและไม่ทำร้ายเหงือกให้ระคายเคือง ทั้งนี้ควรวางแปรงสีฟันโดยทำมุม 45 องศากับขอบเหงือก แปรงจากล่างขึ้นบนและจากบนลงล่าง
รวมถึงการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี ด้วยการสอดไหมขัดฟันเข้าไประหว่างซี่ฟัน แล้วพันไหมขัดฟันให้เป็นรูปตัว C ขัดถูแนบไปกับผิวฟันเบาๆ และให้ลงไปถึงใต้ขอบเหงือก โดยทำให้ครบทุกซี่ เพื่อป้องกันการสะสมของคราบจุลินทรีย์และการเกิดหินปูนเกาะใหม่ ทั้งนี้คนไข้อาจเข้ารับการขูดหินน้ำลาย (คราบแข็งที่ติดตามตัวฟัน) ปีละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการกลับมาของโรค
วิธีรักษาเหงือกอักเสบด้วยตนเอง
วิธีรักษาได้ด้วยตัวเองอย่างวิธีง่าย ๆ เช่น
- ใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและคราบจุลินทรีย์ที่ตกค้างจากเศษอาหาร
- ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย วันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลาย
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภทน้ำตาลที่เป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุ
- หากเหงือกมีอาการบวมสามารถใช้น้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นมาประคบเพื่อบรรเทา อาการปวด
- ทานยาแก้ปวดหรือยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวด ซึ่งเราขอแนะนำให้อ่าน ทำความเข้าใจ วิธีกินยาพาราเซตามอลให้ปลอดภัย
สำหรับบางคนที่มีอาการเหงือกบวมเกินขีดจำกัดของระยะแรกแล้ว หรือมีอาการปวด บวมเรื้อรังจนยากที่จะรักษาเอง ทางเราก็ขอแนะนำว่าควรไปพบทันตแพทย์จะดีที่สุดค่ะ และไม่ ควรซื้อยาแก้เหงือกอักเสบมาทานเอง
ป้องกันอาการเหงือกบวมเหงือกอักเสบ
ในเมื่อเรากลัวที่จะเป็นสิ่งแรกที่เราต้องทำคือสร้างปราการป้องกันนี่แหละค่ะ ดังนั้นเรา ไปดูกันดีกว่าว่าโรคเหงือกบวมหรือเหงือกอักเสบจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร
- ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือหลังมื้ออาหาร และควรแปรงฟันอย่างถูก วิธี
- ทานอาหารทีมีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ หรือเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินซีสูง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เหงือกและฟัน
- ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก ๆ 6 เดือน เพื่อขอคำปรึกษาและ คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
- คอยสังเกตอาการผิดปกติของฟันและเหงือก เพื่อที่จะได้รักษาอย่างทันท่วงที หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมและอาหารที่มีรสหวานที่เป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุ
- ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์อ่อน ๆ เพื่อลดการระคายเคือง หรือใช้ไหมขัดฟันทำความ สะอาดคราบสกปรก
สุขภาพในช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะสุขภาพฟันและเหงือก ดังนั้นเราจึงควรรู้จักวิธีการดูแลที่ถูกต้อง และเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ ขูดหินปูนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะเราคงไม่อยากเหงือกบวม ปวดฟัน หรือต้องสูญเสียฟันไป ซึ่งนอกจากจะทำให้การบดเคี้ยวอาหารไม่ดีแล้ว ยังทำให้เสียบุคลิกภาพและสูญเสียความมั่นใจไปอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทุกปัญหาสุขภาพเหงือกและฟัน สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการพบทันตแพทย์เป็นประจำ
อ้างอิง: โรงพยาบาลพญาไท ,smileandcodentalclinic