เคล็ดลับ ‘ดูแลสุขภาพ’ ช่วง ‘ล็อกดาวน์’
อยู่บ้านหยุดเชื้อ...กันอีกครั้ง ช่วง “ล็อกดาวน์” ไปไหนไม่ได้ แต่ร่างกายก็ต้องแข็งแรงอยู่เสมอ เภสัชกรจาก “บู๊ทส์” แนะนำเคล็ดลับในการ “ดูแลสุขภาพ” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากภายในสู่ภายนอก
ภญ.พิพรรษา แววหงส์ เภสัชกรจาก บู๊ทส์ บอกว่า การ ดูแลสุขภาพ ตัวเองในช่วงล็อกดาวน์ สำคัญมาก ต้องดูแลตัวเอง รับประทานอาหารให้ครบหลักโภชนาการ ดื่มน้ำสะอาด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับให้พอ
บางครอบครัวก็ต้องดูผู้ป่วยที่ติดโควิดด้วย คนรับภาระหน้าที่หนักอย่างนี้จึงต้องเสริมสร้างให้แข็งแรง สร้างภูมิคุ้มกันจากภายในสู่ภายนอก ตอนนี้ แอพฯ สุขภาพครบวงจร Boots app ออกแบบฟีเจอร์ใหม่ให้ใช้ฟรี โดยเข้าไปที่ ปรึกษาเภสัชกรบู๊ทส์ (Talk to Pharmacist) ด้วยแอพพลิเคชั่นผ่านมือถือ ไม่ต้องออกจากบ้าน
ภญ.พิพรรษา แววหงส์ แนะนำว่า “ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 วิธี ดูแลสุขภาพ ที่สำคัญคือต้องรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ โดยเฉพาะตอนนี้เป็นฤดูฝน อาจทำให้เจ็บป่วยง่าย จึงควรดูแลภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรงด้วยการกินวิตามินหรืออาหารเสริมที่ร่างกายของแต่ละคนขาดอยู่ ซึ่งแต่ละบุคคลก็จะไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ถ้าเราเป็นคนที่เป็นหวัดง่าย ก็อาจจะเสริมวิตามินซี เพื่อช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน หรือถ้าเราเป็นคนที่ไม่ค่อยออกไปเจอแสงแดด ตอนนี้ต้องอยู่บ้านช่วงล็อกดาวน์ ก็สามารถหาวิตามินเสริมเป็นพวกวิตามินดี ได้อีกเช่นเดียวกันค่ะ”
สำหรับการดูแลตัวเองถ้าต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโควิด-19 ในบ้าน ทำอย่างไร...
“เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เราไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าใครบ้างที่ป่วยแล้ว เพราะบางคนก็แสดงอาการ บางคนก็ไม่มีอาการเด่นชัด ดังนั้นการเริ่มต้นดูแลป้องกันตัวเองจึงเริ่มได้จากดูแลร่างกายตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ และป้องกันตนเองโดยการ ใส่แมสก์ตลอดเวลา ที่อาศัยอยู่ร่วมกันค่ะ การแยกห้องหรือโซนในที่พักอาศัย เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ออกจากกัน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
ในเรื่องของสุขอนามัยก็จำเป็นต้องรักษาอยู่ตลอดเวลา หมั่นล้างมือบ่อย ๆ การไม่รับประทานอาหารร่วมกัน แยกจาน-ชาม ไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน, การรักษาระยะห่าง รวมถึงการพ่นสเปรย์ฆ่าเชื้อแอลกอฮอลล์ ทุกครั้งที่มีการสัมผัสสิ่งของ เป็นต้น
อีกทั้งสามารถสังเกตอาการตัวเองว่ามีไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย การรับรู้กลิ่นยังปกติหรือไม่ และสามารถ ใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วมือช่วย ถ้าค่าออกซิเจนต่ำกว่า 95% ถือว่าผิดปกติ และถ้าอยากได้ความรู้เพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง (Rapid Antigen Test) ว่ามีการใช้งานอย่างไร ก็สามารถปรึกษาเภสัชกรบู๊ทส์ที่ Boots app ฟีเจอร์ Talk to Pharmacist ได้เลยค่ะ”
นอกจากนี้ยังสามารถถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว เช่น โรคประจำตัว ความกังวลใจเรื่องสุขภาพ ผิวพรรณ รวมไปถึงการดูแลสุขภาพต่าง ๆ โดยเภสัชกรจากบู๊ทส์ที่ได้ผ่านการอบรมความรู้ด้านสุขภาพ และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโควิด-19 จากดับเบิ้ลยูบีเอ เครือข่ายระดับโลก และบู๊ทส์ ประเทศไทย
ล่าสุด บู๊ทส์ ออกแคมเปญ “เสริมภูมิคุ้มกันที่ดีจากภายในสู่ภายนอก” ใน Be Healthy, Be Boots แนะนำสินค้าสุขภาพอาหารเสริม, เวชสำอาง ลดพิเศษ Buy 1 Get 1 Free มีอาทิ
แบลคมอร์ส ฟิช ออยล์ (Blackmore Fish Oil) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา เม็ดเล็ก ทานง่าย ไม่มีกลิ่นคาว (ขนาด 80 แคปซูล ราคา 720 บาท) / บู๊ทส์ วิตามินซี แบบเคี้ยวได้ 50 มิลลิกรัม (Boots Chewable Vitamin C 50 mg) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยให้ไม่เป็นหวัดง่าย (ขนาด 100 แคปซูล ราคา 70 บาท)
ยูเซอริน โปร แอคเน่ โซลูชัน (Eucerin Pro Acne Solution) ซื้อครบ 1,200 บาท รับฟรีครีมกันแดด ขนาด 20 มล. / เซรั่มสูตรเข้มข้น นัมเบอร์เซเว่น แลบบอราทอรีส์ ไลน์ คอร์เร็คติ้ง บูสเตอร์ เซรั่ม 15 มล. ช่วยลดเลือนริ้วรอย (ราคาเริ่มต้น 1,400 บาท)
โปรโมชั่นราคาพิเศษ วันนี้ - 31 ก.ค. 2564 ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่ https://bit.ly/3wbObtD หรือที่ร้านบู๊ทส์ทั่วประเทศ และ FB:/ bootsthailand
คุณหมอเบิร์ท - พ.ญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ แนะแนวทาง ดูแลสุขภาพกาย-ใจ ช่วงล็อกดาวน์
- ถ้าเป็นผู้ติดเชื้อ หรืออยู่ในช่วงกักตัว จะเกิดความวิตกกังวลมาก หมอแนะนำ ให้พักผ่อนเพื่อพักปอด เพราะบางท่านจะโทรศัพท์ไปหาเพื่อนไปปรึกษาแพทย์ ซึ่งถ้าเป็นผู้ติดเชื้อ เมื่อพูดคุยมาก ๆ ปอดจะเหนื่อย จึงขอแนะนำให้ลดการใช้โทรศัพท์ ลดการพูดคุยหรือ คุยเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อให้ปอดได้หายใจอย่างเต็มที่ จะทำให้ปอดฟื้นตัวเร็วขึ้น
- ถ้ากักตัวอยู่ มีบางท่านที่ยังกังวลกับการทำงาน มักจะโทรสั่งงาน หมออยากให้ อันดับแรกคือดูแลตัวเองก่อน พยายามแบ่งภาระให้คนอื่น เราต้องทุ่มเทดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์
- กรณีสงสัยหรือเข้าไปอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ให้กลับมาเช็คการหายใจ เช็คว่าตัวเองมีไข้ มีอาการเวียนหัวมััย
- ถึงอยู่บ้านล็อกดาวน์แต่บางกรณีก็ต้องออกจากบ้านไปทำธุระจำเป็น เมื่อกลับบ้านอยากให้เช็คความเสี่ยงเสมอ สถานที่-ผู้คน
- เช็คสภาพจิตใจของตัวเองด้วย ถ้าวิตกกังวลจนเครียดหรือจิตตก ต้องหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทันที
- กรณีเครียด วิตกกังวลจนทำใจไม่ได้ หมอแนะให้ใช้วิธีการ "พักใจ" ต้องรู้ตัวเองว่าถ้าจิตตกแล้ว จมอยู่อย่างนั้น 2 ชั่วโมงแล้ว สรุปแล้วตัวเองก็ยิ่งเครียด การ "พักใจ" จะค่อย ๆ คลายความวิตกกังวลลงได้