7 แบรนด์แฟชั่นลักชัวรี่ระดับโลก ปูทางสู่ Sustainability ลบคำสบประมาท
เปิดแผน Sustainability 7 แบรนด์แฟชั่นหรูโดดเด่นระดับโลก กุชชี่, เวอร์ซาเช, หลุยส์ วิตตอง, วิเวียน เวสต์วูด, สเตลลา แม็กคาร์ตนีย์, กาเบรียลลา เฮิร์สต์ มุ่งมั่นเปลี่ยนคำสบประมาทอุตสาหกรรมแฟชั่นมักล้มเหลวในการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
เมื่อนึกถึงลักชัวรี่แฟชั่นแบรนด์ หรือ high end fashion brands หรือ ‘แฟชั่นหรู’ คำว่า Sustainability หรือ "ความยั่งยืน" มักจะไม่ใช่คำนิยามแรกๆ ที่อยู่ในใจ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นแบรนด์หรูเพิ่มความใส่ใจและประกาศนโยบายนำแบรนด์สู่ความเป็น ‘Sustainable Fashion’ มากขึ้น เช่น ลดการใช้ขนสัตว์และหนังสัตว์หายาก เพิ่มการใช้วัสดุที่ยั่งยืนมากขึ้น ทบทวนบรรจุภัณฑ์ ขายหรือบริจาคผ้าที่เหลือเพื่อหลีกเลี่ยงขยะ ให้คำมั่นสัญญาว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
ในยุคที่เกือบทุกอุตสาหกรรมกำลังดำเนินการในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อ ลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม แฟชั่นก็ไม่มีข้อยกเว้น
นี่เป็นเพียงแบรนด์หรูหราบางส่วนที่ปัจจุบันเป็นหัวหอกในการใช้วัสดุและหลักปฏิบัติเพื่อ ความยั่งยืน มากขึ้นในการดำเนินกิจการในแต่ละวัน รวมทั้งแผนธุรกิจในอนาคต
Gucci
คอลเลคชั่น Gucci Off the Grid เพื่อความยั่งยืน
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าปัจจุบัน Gucci (กุชชี่) เป็นหนึ่งในแบรนด์แฟชั่นหรูที่โด่งดังแบรนด์หนึ่งของโลก ไม่เพียงแต่ป้ายโฆษณาที่สวยงามทั่วโลกและหน้าฟีดอินสตาแกรมเท่านั้น แต่ กุชชี่ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในเมืองฟลอเรนซ์ยังคงเป็นหนึ่งในฉลากแบรนด์ชั้นนำที่อุทิศตนเพื่อเป็นเกียรติแก่งานฝีมือคลาสสิกของอิตาลี
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กุชชี่ ได้ใช้ความพยายามเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้าน ความยั่งยืน ที่ Kering -บริษัทแม่ของกุชชี่- ประกาศเป็นนโยบายดำเนินธุรกิจลักชัวรี่แบรนด์ของบริษัท
รวมถึงการรับประกันว่าวัตถุดิบ 95% สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ การละเว้นจากการใช้ขนสัตว์ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
กระเป๋าจากคอลเลคชั่น Gucci Off the Grid
กุชชี่ ยังได้นำนโยบายต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติจาก CanopyStyle ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่เป็นพันธมิตรกับแบรนด์แฟชั่นต่างๆ เพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าในห่วงโซ่อุปทานของพวกเขา
หลักเกณฑ์เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่านับจากนี้ไป Gucci จะลดการใช้โครเมียมและสารเคมีอันตรายอื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการฟอกหนัง
นอกจากนี้ ในเดือนมิถุนายน 2563 ทางบริษัทได้เปิดตัวคอลเลคชั่นที่ยั่งยืนเต็มรูปแบบชุดแรกในชื่อ Gucci Off the Grid แคปซูลนี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนที่ทำจากผ้าฝ้ายออร์แกนิค เหล็กรีไซเคิล โพลีเอไมด์ที่สร้างใหม่ และ ECONYL ซึ่งเป็นวัสดุที่ทำจากขยะหลังการบริโภค รวมถึงอวนจับปลาและพรมเก่า
ดังนั้น กุชชี่จึงเป็นหนึ่งในแบรนด์แฟชั่นที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกซึ่งก้าวตามรอยการพัฒนาความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน
Gabriella Hearst
แฟชั่นจาก deadstock 30% ของ Gabriella Hearst
นับตั้งแต่เปิดตัวแบรนด์ Gabriela Hearst ที่มีชื่อเดียวกันในปีพ.ศ.2558 กาเบรียลลา เฮิร์สต์ ดีไซเนอร์หญิงชาวอเมริกันเชื้อสายอุรุกวัยก็กลายเป็นแชมป์ด้านแนวทางปฏิบัติเพื่อ ความยั่งยืน ในอุตสาหกรรมแฟชั่น
พ.ศ.2560 กาเบรียลลานำเสนอรันเวย์โชว์ครั้งแรก ซึ่งใช้ ผ้าที่ถูกกองทิ้งไว้โดยไม่มีใครสนใจ (deadstock) 30% จากนั้นเธอก็เปิดแฟล็กชิปสโตร์แห่งแรกของตัวเองในปี 2561 ซึ่งตั้งอยู่ที่ Madison Avenue ในโรงแรม Carlyle ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับ ‘ความยั่งยืน’ มากมาย
ตัวร้านสร้างขึ้นโดยไม่ใช้สารสังเคราะห์หรือสารเคมี แต่เป็นไม้โอ๊ครีเคลมจากธรรมชาติที่ไม่ผ่านการทำทรีตเมนต์ ยิ่งไปกว่านั้น 90% ของขยะวัสดุที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการก่อสร้างยังนำไปรีไซเคิลอีกด้วย
กระเป๋าถือแบรนด์ Gabriella Hearst
ภายในปีพ.ศ. 2562 แฟชั่นเฮาส์ Gabriela Hearst ซึ่งตั้งอยู่ในนิวยอร์กบรรลุเป้าหมายในการปราศจากพลาสติกโดยสิ้นเชิง ทั้งในส่วนการดำเนินงานส่วนหน้าและส่วนหลังบ้านของ
บริษัทบรรลุความสำเร็จนี้ด้วยการเป็นแบรนด์แรกที่ใช้ พลาสติก TIPA ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ทั้งชิ้นจะย่อยสลายในเวลาประมาณ 180 วันในสภาวะที่เป็นปุ๋ยหมัก
นอกเหนือจากบรรจุภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนสูงแล้ว เสื้อผ้าแต่ละชิ้นของแบรนด์ยังสร้างขึ้นด้วยวัสดุที่คัดสรรอย่างรอบคอบ รวมถึงผ้าไหมออร์แกนิค แคชเมียร์ ผ้าลินิน และขนสัตว์จากฟาร์มปศุสัตว์อุรุกวัยของ Hearst
ด้วยหน้าร้านที่ปราศจากขยะ การดำเนินงานที่ปราศจากพลาสติก และวัสดุที่คัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน กาเบรียลลา เฮิร์สต์ จึงเป็นดีไซเนอร์ผู้ดูแลความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นของแฟชั่นหรูกับโลกอย่างไม่ต้องสงสัย
ดาราฮอลลีวูดและเซเลบริตี้อเมริกันที่เลือกสวมใส่เสื้อผ้าแบรนด์ กาเบรียลลา เฮิร์สต์ มีทั้ง อุมา เธอร์แมน, เดมี มัวร์, เมแกน มาร์เคิล, เกล็น โคลส, โอปราห์ วินฟรีย์ เป็นอาทิ
Stella McCartney
แฟชั่นแบรนด์ Stella McCartney
หากกล่าวถึงแบรนด์แฟชั่นหรูกับ ‘ความยั่งยืน’ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่กล่าวถึงแบรนด์ Stella McCartney (สเตลลา แม็กคาร์ตนีย์) หนึ่งในผู้บุกเบิกดั้งเดิมของการเคลื่อนไหวนำธุรกิจแฟชั่นเข้าร่วมการสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อม
นับตั้งแต่เปิดตัวแบรนด์ที่มีชื่อเดียวกันในปีพ.ศ. 2544 สเตลลา แม็กคาร์ตนีย์ ได้ผสมผสานการออกแบบที่เน้นเทรนด์ของเธอเข้ากับวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างลงตัว
สเตลลาเป็นผู้บุกเบิกในการใช้และพัฒนา วัสดุทางเลือกใหม่ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าชิ้นงานของเธอยังคงรักษาสถานะ ‘สีเขียว’ ไว้ได้ (เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) ขณะเดียวกันก็ยังคงไว้ซึ่งเกียรติและชื่อเสียงด้าน ความทนทาน ที่ป้ายราคาหรูหรามักจะรับประกันได้
ตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือกระเป๋า ฟาลาเบลลา (Falabella) อันเป็นเอกลักษณ์ของเธอ ซึ่งทำจาก หนังมังสวิรัติ มาโดยตลอด
VEGEA ทางเลือกที่ Stella McCartney ใช้องุ่นแทนหนังสัตว์
นอกจากนี้ ป้ายแบรนด์ ยังได้นำวัสดุที่ยั่งยืนอื่นๆ มาใช้ เช่น ผ้าฝ้ายออร์แกนิก ผ้าไหมสังเคราะห์ ขนสัตว์เทียมรีไซเคิล และโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล
ปัจจุบัน แบรนด์ Stella McCartney ทำหน้าที่เป็นสมาชิกที่แข็งขันของ Ethical Trading Initiative ซึ่งรับประกันการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่มีจริยธรรมอย่างรอบคอบ ตลอดจนเป็นผู้ร่วมมือกับองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลายแห่ง รวมถึง Parley for the Oceans และ Code REDD
พูดง่ายๆ ก็คือ Stella McCartney เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและเปลี่ยนเกมธุรกิจ (game changing) มากที่สุดในอุตสาหกรรมแฟชั่นมาโดยตลอด
สเตลลา แม็กคาร์ตนีย์ เป็นนักออกแบบแฟชั่นชาวอังกฤษ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ระดับ Commander of the British Empire (CBE) ของจักรวรรดิอังกฤษในฐานะพลเมืองผู้ทำประโยชน์ให้กับประเทศ
เธอเป็นลูกสาวของนักร้องนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ Paul McCartney สมาชิก ‘เดอะ บีทเทิลส์’ วงดนตรีชื่อก้องโลก กับ Linda ช่างภาพชาวอเมริกันและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสัตว์
Vivienne Westwood
Vivienne Westwood สปริง/ซัมเมอร์ 2017
เมื่อดีไซเนอร์หญิงชาวอังกฤษ Vivienne Westwood (วิเวียน เวสต์วูด) เปิดตัวแบรนด์ที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อของเธอในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ไม่เพียงแต่นำสไตล์พังก์ (punk style) อันเป็นเอกลักษณ์ของเธอมาสู่วงการแฟชั่นระดับไฮเอนด์เท่านั้น
แต่ยังนำแนวทางที่แปลกใหม่และ ความยั่งยืน ในแบบฉบับของเธอมาสู่โลกแฟชั่นอีกด้วย โดยเฉพาะการสร้างสรรค์เสื้อผ้าสไตล์ DIY แบบ ‘ปะติดปะต่อ’ ของเธอนั้นกลับส่งเสริมการใช้วัสดุซ้ำและผลิตชิ้นส่วนน้อยลง
หลายทศวรรษต่อมา แบรนด์ระดับตำนานของอังกฤษแบรนด์นี้ยังคงยึดมั่นต่อแถลงการณ์โดยพฤตินัยที่ว่า “ซื้อให้น้อยลง เลือกให้ดี ทำให้มันคงทน” โดยไม่เพียงแต่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของขบวนการความยั่งยืนในแฟชั่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแสดงความคิดเห็นด้วย
Sustainable Fashion อย่างสวยของ วิเวียน เวสต์วูด
เสื้อผ้าสำเร็จรูปคอลเลคชั่นล่าสุด ทำจากวัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าถึง 90% รวมถึงการใช้ผ้าฝ้ายออร์แกนิค ขนสัตว์ที่ผลิตอย่างมีจริยธรรม และโลหะรีไซเคิล
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงไม่หยุดเพียงเท่านั้น ยังดำเนินการทดลองนวัตกรรมด้านวัสดุและค้นคว้าวิธีการผลิตที่ยั่งยืนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ต่อไป
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของเอกลักษณ์ของแบรนด์ วิเวียน เวสต์วูด ที่แพร่หลาย คือความมุ่งมั่นต่องานฝีมือและมรดกทางวัฒนธรรม ด้วยการร่วมมือกับอุตสาหกรรมในท้องถิ่นในสหราชอาณาจักร ยุโรป อินเดีย และแอฟริกา ในการจัดหาสิ่งทอในปริมาณที่น้อยลง
ป้ายแบรนด์ วิเวียน เวสต์วูด ไม่เพียงแต่ช่วยให้ช่างฝีมือเปล่งประกายเท่านั้น แต่ยังรับประกันได้ว่าจะใช้วิธีการผลิตที่สิ้นเปลืองน้อยลงอีกด้วย
ถุง ผลิตจากกระดาษ remake ที่ได้รับรางวัล FSC
นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ขายปลีกทั้งหมดของแบรนด์ Vivienne Westwood ปลอดจากพลาสติกและผลิตจากกระดาษ Remake ที่ได้รับรางวัลกระดาษที่ได้รับการรับรองจาก Forest Stewardship Council (FSC) ที่ไม่มีการเคลือบผิว และประกอบด้วยเยื่อกระดาษรีไซเคิล 40% เยื่อกระดาษที่ผ่านการรับรอง FSC บริสุทธิ์ 30% และผลพลอยได้จากหนัง 25% อีก 5% เป็นวัสดุที่ยึดเหนี่ยวผลิตภัณฑ์เข้าด้วยกัน และผลิตใน โรงงานที่ใช้พลังงานสีเขียว 100%
วิเวียน เวสต์วูด ได้รับพระราชทานรางวัล OBE- Order of the British Empire หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช ได้รับคำนำหน้าชื่อว่า Dame หรือ “ท่านผู้หญิง” เมื่อปีพ.ศ.2535 และเสียชีวิตอย่างสงบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค.2565
แม้ว่า วิเวียน เวสต์วูด จะไม่ได้เป็นผู้นำแบรนด์ของเธออีกต่อไปแล้ว แต่ความมุ่งมั่นของเธอต่อความยั่งยืนยังคงเป็นหัวใจสำคัญของค่านิยมหลักของแบรนด์
Versace
ร้านเวอร์ซาเช บนถนน Sloane กรุงลอนดอน
แบรนด์ที่มีชื่อเสียงในด้านสไตล์ที่หรูหราและมีเสน่ห์ Versace (เวอร์ซาเช) ได้สร้างนิยามใหม่ให้กับความเย้ายวนใจอีกครั้งโดยมุ่งมั่นที่จะดำเนินโครงการเพื่อ ความยั่งยืน มากมายภายในปีพ.ศ. 2568
เวอร์ซาเชได้เปิดร้านที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวของ LEED (Leadership in Energy & Environmental Design) หรือ ความเป็นผู้นำด้านการออกแบบที่อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม แห่งแรกในลอนดอนบนถนน Sloane เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560
การรับรองดังกล่าวบ่งชี้ว่าร้านค้าแห่งนี้ของเวอร์ซาเชได้รับการออกแบบให้มีประสิทธิภาพ โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้นสำหรับพนักงานและลูกค้า
ในฐานะสมาชิกของ Camera Nazionale della Moda Italiana (สมาคมแฟชั่นอิตาเลียนแห่งชาติ) เวอร์ซาเชเป็นตัวแทนของแฟชั่นอิตาลีโดยการสร้างแบบจำลองการขับเคลื่อนที่แข็งแกร่งต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเชิงบวก
กล่าวคือ แบรนด์ปฏิบัติตามรายการสารต้องห้าม ซึ่งใช้กฎใหม่เกี่ยวกับความปลอดภัยของสารเคมี โดยห้ามสารเคมีมากกว่า 350 ชนิด
ตั้งแต่พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป Versace กำลังลดผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนสัตว์ในคอลเลคชั่นของแบรนด์ โดยให้คำมั่นที่จะให้บริการลูกค้าด้วย "แนวทางที่เป็นนวัตกรรม ความพลิกผันใหม่ และมีความรับผิดชอบ"
Burberry
Burberry คอลเลคชั่น The ReBurberry Edit
Burberry (เบอร์เบอรี) มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากผ้าตาหมากรุกคลาสสิก เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในฐานะสมาชิกของ Sustainable Fiber Alliance ในมองโกเลีย เพื่อส่งเสริมการผลิตแคชเมียร์ที่ยั่งยืน
ด้วยความร่วมมือกับ World Wide Fund for Nature (องค์การกองทุนสัตว์ป่าสากล) เบอร์เบอรี ได้จัดกิจกรรม Kids for Climate การรณรงค์เพื่อปกป้องโลกของเราจากวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน ซึ่งจัดขึ้นในลอนดอนและฮ่องกง
ในฐานะส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อนปี 2020 Burberry ได้เปิดตัว The ReBurberry Edit ผลงานจากคอลเลคชั่นนี้ล้วนทำจากวัสดุที่ยั่งยืนหรือรีไซเคิลได้
วัสดุที่โดดเด่นคือ Econyl ซึ่งเป็นไนลอนรีไซเคิลที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าตัวนอกและกระเป๋า
Burberry ติดอันดับสูงสุดในรายงานความรับผิดชอบด้านแฟชั่นปี 2565 ของ Remake และด้วยเหตุผลที่ดี ความโปร่งใสของแบรนด์นอกเหนือไปจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนและไปสู่แนวทางปฏิบัติในการจัดการที่ดินแบบองค์รวมสำหรับการจัดหาวัสดุ ตั้งแต่การเลี้ยงสัตว์ไปจนถึงการทำฟาร์ม
กองทุนฟื้นฟูของ Burberry ทุ่มเทเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นคาร์บอนลบ
แฟชั่นหรูแบรนด์นี้ตั้งเป้าจัดหาฝ้ายที่ผลิตด้วยกรรมวิธีที่คำนึงถึงความยั่งยืน 100% และวางแผนเลิกใช้พลาสติกภายในพ.ศ.2568
Louis Vuitton
กระเป๋า Louis Vuitton วัสดุรีไซเคิล
นโยบายด้าน สิ่งแวดล้อม ของ LVMH บริษัทแม่ของแบรนด์ Louis Vuitton (หลุยส์ วิตตอง) เป็นเสาหลักของกลยุทธ์การเติบโตตลอด 27 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นส่วนสำคัญของแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์ของ LVMH Maisons ทั้งหมด และสร้างความก้าวหน้าในด้านแฟชั่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นโยบายนี้เร่งตัวขึ้นในปี 2555 ด้วยการสร้าง โครงการ LIFE (LVMH’s Initiatives For the Environment) ซึ่งเป็น ‘แผนลดพลังงาน’ เพื่อลดการใช้พลังงานของกลุ่มบริษัทลง 10% ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงตุลาคม 2566 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงาน 11% และลดการปล่อยก๊าซขอบเขต 3 ลง 15%
หลุยส์ วิตตอง ลดการใช้วัตถุดิบในการจัดแฟชั่นโชว์
หลุยส์ วิตตอง ได้รับรางวัล Butterfly Mark ในปีพ.ศ.2561 รางวัลนี้ขับเคลื่อนโดยองค์กรอิสระ Positive Luxury มีสัญลักษณ์กราฟิกเป็นรูปผีเสื้อ เครื่องหมายรับรองที่ระบุถึงแบรนด์หรูที่ตรงตามมาตรฐานสูงสุดของนวัตกรรมที่ผ่านการตรวจสอบและประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม
“Great design, sustainability and a great business do go hand in hand.” (การออกแบบที่ยอดเยี่ยม ความยั่งยืน และธุรกิจที่ยอดเยี่ยมต้องมาคู่กัน)
Michael Burke ซีอีโอของ Louis Vuitton อธิบายว่า ความยั่งยืน เป็นส่วนสำคัญของธุรกิจของบริษัทอย่างไรด้วยคำพูดดังกล่าวในงานรับรางวัล Butterfly Mark
งาน SUSTAINABILITY EXPO 2023
ผู้สนใจร่วมรักษ์โลกร่วมสร้างสมดุลเพื่อโลกที่ดีกว่า เชิญเปิดประสบการณ์และมุมมองใหม่ที่กำลังอยู่ในประเด็นระดับโลกได้ในงาน SUSTAINABILITY EXPO (SX2023) มหกรรมเพื่อความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 8 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00-20.00 น. ตื่นตาตื่นใจไปกับ 8 โซนหลัก พร้อมเสิร์ฟสาระความรู้ด้านความยั่งยืนแบบย่อยง่ายและเข้าถึงได้จริงให้อย่างเต็มที่
- โซน SEP Inspiration เจาะลึกหัวใจแห่ง SX แรงบันดาลใจจาก Sufficiency Economy Philosophy และ UNSDGs บอกเล่าเรื่องราวของโลกในมิติต่างๆ และความรู้ใหม่จากองค์กรที่เป็นนักปฏิบัติด้านความยั่งยืน
- โซน BETTER ME นวัตกรรมอาหารกู้โลก การดูแลสุขภาพและชีวิตที่ยืนยาวอย่างยั่งยืน
- โซน BETTER LIVING ตัวอย่างธุรกิจยั่งยืนโลก แสดงกระบวนการผลิตใส่ใจสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำที่น้อยคนจะได้เห็น
- โซน BETTER COMMUNITY จำลองสังคมเมืองในฝัน นวัตวิถีเพื่อชีวิตเท่าเทียม น่าอยู่ ปลอดภัย และยั่งยืน
- โซน BETTER WORLD รวบรวมงานศิลป์สะท้อนมุมมองความยั่งยืนในหลากหลายรูปแบบ อาทิ Nat Geo สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย และผลงานนานาชาติ 10 ประเทศ ASEAN ที่ยังไม่เคยชัดแสดงที่ใด จากโครงการ ASEAN SX PHOTO CONTEST และโครงการ Trash to Treasure เปลี่ยนขยะเป็นงานศิลป์ทรงคุณค่า
- SX Food Festival เทศกาลอาหารเพื่อโลกจากเชฟชื่อดัง เสิร์ฟอาหารเลิศรสที่ดีต่อคุณ ดีต่อโลก กับแนว Zero-Waste Cooking
- SX Marketplace พาช็อปสินค้างานคราฟต์โดนใจเพื่อชุมชนและสังคม
- SX Kids Zone สนุกกับการเรียนรู้และความน่าฉงนของโลกแห่งแมลงตัวจิ๋วกับบทบาทที่สำคัญต่อโลกที่ยั่งยืน
อ้างอิง + credit photo :
- gucci.com
- gabrielahearst.com
- eu.louisvuitton.com
- viviennewestwood.com
- versace.com
- stellamccartney.com
- row.burberry.com