'แบนสุพรรณหงส์' แล้วไงต่อ...อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ชี้ต้องทลายการผูกขาด

'แบนสุพรรณหงส์' แล้วไงต่อ...อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ชี้ต้องทลายการผูกขาด

นอกจาก"แบนสุพรรณหงส์" อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล มีข้อเสนออีกมุมมองในเรื่องการทลายข้อจำกัดและการผูกขาด เพื่อให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยไม่หยุดอยู่กับที่

วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักเกี่ยวกับคุณสมบัติภาพยนตร์ที่จะเข้าชิงรางวัลสุพรรณหงส์ ออกจะเกินไปมากไป จึงมีคนในวงการภาพยนตร์ไทย ทั้งผู้กำกับ คนเขียนบท นักวิจารณ์ ฯลฯ ออกมาใส่แฮชแท็ก #แบนสุพรรณหงส์ 

นอกจากคนบันเทิง ยังมีคนทำงานในแวดวงเศรษฐกินสร้างสรรค์ อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกลด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ชี้ว่า กติกาใหม่สุพรรณหงส์ กีดกันคนตัวเล็กไม่ให้แจ้งเกิด ลดความหลากหลายภาพยนตร์ไทย

จึงขอเสนอนโยบาย ‘ก้าวไกล’ ทลายทุนผูกขาด-ตั้งกองทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุดหนุนคนสร้างหนังทางเลือก-แก้กฎหมายเซนเซอร์

อภิสิทธิ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) กล่าวถึงกรณีสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ออกกติกาใหม่ว่าภาพยนตร์ที่จะเข้าชิงรางวัลสุพรรณหงส์ต้องมีคุณสมบัติ คือ 

  • 1. ต้องฉายในโรงภาพยนตร์ครบทั้ง 5 ภูมิภาค อย่างน้อย 5 จังหวัดใหญ่ ประกอบด้วย กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช ฉายผ่านสตรีมมิ่งอย่างเดียวไม่ได้
  • 2. ต้องมียอดผู้ชมไม่ต่ำกว่า 50,000 คน

 

ข้อจำกัดหนังชิงสุพรรณหงส์

กติกาดังกล่าว อภิสิทธิ์ มองว่าเป็นการจำกัดคนที่เข้ามาแสดงความสามารถในวงการภาพยนตร์ไทย ทำให้ผู้สร้างหนังรายเล็กที่หลายคนทำภาพยนตร์เฉพาะทาง ขาดทรัพยากรและอำนาจต่อรอง แทบไม่มีโอกาสแจ้งเกิดผ่านเวทีประกาศรางวัลด้านภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

"คนในวงการภาพยนตร์ที่ไม่เห็นด้วยกับกติกานี้ ควรรวมตัวกันพูดคุยหาทางออกร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์เเห่งชาติ ขณะเดียวกันสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์เเห่งชาติเอง ก็ควรมีบทบาทเป็นตัวแทนของคนในวงการภาพยนตร์ที่มีความหลากหลายให้มากกว่านี้

ไม่ใช่เป็นเพียงตัวแทนของนายทุนไม่กี่ราย โดยเฉพาะบางรายที่เป็นทั้งผู้ผลิตและเจ้าของโรงฉาย ซึ่งถือเป็นการกินรวบทั้งกระดาน อย่าปล่อยให้เรื่องนี้กลายเป็นบรรทัดฐานของวงการภาพยนตร์ไทย"

ปัญหาหนังไทยระยะยาว

ส่วนในแง่ปัญหาระยะยาว อภิสิทธิ์ เกรงว่า ถ้ายังแบบนี้ต่อไปประเทศไทยจะไม่มีคนตัวเล็กที่ทำภาพยนตร์ดี ๆ ในแง่มุมต่าง ๆ ออกมา โดยเฉพาะภาพยนตร์เฉพาะทาง

"ผมเชื่อว่า หนังเฉพาะทางมีตลาดอยู่ในเมืองไทยและต่างประเทศ เช่น ภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ ‘เจ้ย’ ซึ่งเคยได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปาล์มทองคํา จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์

เป็นที่ทราบกันในแวดวงภาพยนตร์ว่า หนังของเจ้ย ในตลาดเมืองไทยไม่ใช่ตลาดใหญ่ ไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ในตลาดต่างประเทศกลับมีนายทุนอยากส่งเสริม

"แสดงให้เห็นว่าฝีมือผู้กำกับชาวไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล แต่อีกมุมหนึ่งก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย ว่าทำไมหนังแบบนี้ประเทศไทยไม่ส่งเสริม ไม่ได้รางวัล แต่กลับไปได้รางวัลจากประเทศอื่น ทั้งที่คนไทยเป็นผู้ผลิต เป็นเจ้าของเนื้อหา แต่ประเทศไทยและวงการภาพยนตร์ไทยไม่สามารถได้ประโยชน์จากงานของคนไทยเต็มร้อย” อภิสิทธิ์ กล่าว

สุพรรณหงส์ : ต้องทลายการผูกขาด

หากประเทศไทยต้องการให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อภิสิทธิ์ เห็นว่า ไม่อาจหวังพึ่งพาเพียงซีรีย์วาย หรือมุ่งผลิตภาพยนตร์เพียงแนวใดแนวหนึ่งไปตลอด เพราะปัจจุบันตลาดมีความหลากหลายมากขึ้นและผู้กำกับไทยก็มีศักยภาพ

ดังนั้น การแก้ปัญหาเรื่องนี้ ตนเห็นว่ามีนโยบายอย่างน้อย 3 เรื่องที่จะทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยมีความหลากหลายและเป็นธรรม

  • 1. ทลายการผูกขาดในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ บังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าอย่างจริงจัง จัดการผู้ประกอบการที่กินรวบตลอดทุกขั้นตอนการผลิต โดยเสนอให้มีการกำหนดสัดส่วนเวลาฉายขั้นต่ำสำหรับคนทำหนังไทยรายเล็กและหนังอินดี้ เพื่อให้คนทำหนังรายอื่นที่ต้องการสร้างภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาหลากหลายได้มีพื้นที่ในการนำเสนอภาพยนตร์ต่อประชาชน ส่วนจะอยู่รอดหรือไม่ ให้คนดูเป็นผู้ตัดสิน
  • 2. ตั้งกองทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อช่วยอุดหนุนคนตัวเล็กในวงการ ให้สามารถพัฒนาผลงานในแง่คุณภาพการผลิต ซึ่งจะเป็นการยกระดับวงการภาพยนตร์ไทยในภาพรวมด้วย  
  • 3. แก้ไขกฎหมายเซนเซอร์ ให้คนทำมีเสรีภาพในการทำงาน
  •