คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”

“Keepers of The Quaich” คือตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์” ในปี 2022 จักรกฤต เบเนเดทตี้ คนไทยหนึ่งเดียว ได้รับคัดเลือกเป็น “Keeper”

Keepers of The Quaich คือ ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าของประเทศสกอตแลนด์ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ มอบให้กับผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมสกอตช์ วิสกี้ 

ในปี 2022 เป็นครั้งที่ 63 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 43 คนจากทั่วโลก

ในเมืองไทยมีผู้ได้รับการคัดเลือกคนเดียวให้เป็น Keeper คือ จักรกฤต เบเนเดทตี้ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิตาเลเซีย เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ทายาทรุ่นที่ 3 และดำเนินธุรกิจนี้มาร่วม 60 ปี

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”

    ชุดและถ้วยของ Keeper

ในแต่ละปีจะจำกัดจำนวนผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นคีปเปอร์ (Keeper) ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการอย่างเคร่งครัด ต้องมีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น จะต้องมีหลักฐานความสัมพันธ์ทางการค้าในอุตสาหกรรมสกอตช์ วิสกี้ อย่างน้อย 7 ปี ฯลฯ

พิธีมอบตำแหน่งจัดที่ ปราสาทแบลร์ (Blair Castle) เมืองเพิร์ทไชร์ (Perthshire) ประเทศสกอตแลนด์ คีปเปอร์จะได้รับถ้วยจอกโบราณเป็นสัญลักษณ์ของประเพณีโบราณ ซึ่งหมายถึงสัมพันธภาพกับมิตรภาพ และความไว้วางใจ

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”     พิธีแต่งตั้ง Keeper ที่ Blair Castle

ที่สำคัญต้องแต่งตัวด้วยชุดผ้าทาร์ทันของคีปเปอร์ ซึ่งทอจากขนสัตว์บริสุทธิ์ มี 3 สีในผืนเดียวกัน แต่ละสีมีความหมายคือ สีฟ้าหมายถึงน้ำอันบริสุทธิ์ สีทองสื่อถึงข้าวบาร์เลย์ และสีน้ำตาลสำหรับ”พีท” เชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทหนึ่งใช้ในการอบและรมมอลต์ให้แห้ง

สกอตแลนด์ (Scotland) ประเทศที่เล็กด้วยจำนวนประชากรและขนาดพื้นที่ หากแต่เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่จนน่าอัศจรรย์

หากวัดด้านผลงานที่ผลิตสู่ชาวโลกและยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน มีหลากหลาย ตั้งแต่นักคิด นักเขียน นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา นักต่อสู้ จนถึงดารา

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”    จักรกฤต เบเนเดทตี้

อาทิ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของชาวสกอตช์ในยุค Enlightenment โดยนักปรัชญา เดวิด ฮูม (David Hume) และ อดัม สมิธ (Adam Smith) นั้นปลุกยุโรปให้ตื่นจากความหลับใหล

นักประดิษฐ์ เจมส์ แมกซ์เวล, เจมส์ วัตต์, อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ / นักฟิสิกส์ ไอแซก นิวตัน / แพทย์และนักชีววิทยา อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ฯลฯ

ย้อนอดีตไปที่คนไทยรู้จักคือ วิลเลียม วอลเลซ (หนัง Braveheart ทำให้คนไทยรู้จักมากขึ้น) และโรเบิร์ต เดอะ บรูซ เป็นต้น

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”     สกอตช์ วิสกี้ (Cr. visitscotland.com)

อีกอย่างหนึ่งที่ไทยรู้จัก สกอตแลนด์ คือ สกอตช์ วิสกี้ (Scotch whisky) เครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ธรรมดา แต่หมายถึงชีวิต จิตใจ จิตวิญญาณ และวัฒนธรรมการดื่มกิน ของชาวสกอต

แม้จะกำเนิดในไอร์แลนด์ประเทศเพื่อนบ้าน แต่สกอตแลนด์ได้นำศาสตร์และศิลป์การทำวิสกี้ มาพัฒนาสร้างสรรค์จนเป็นวิสกี้ที่โด่งดังและรู้จักกันทั่วโลก ภาษาเกลิคซึ่งเป็นภาษาโบราณของสกอตแลนด์ เรียกวิสกี้ว่า Usquebaugh แปลว่า Water of Life หรือ “น้ำแห่งชีวิต”

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”

    Grant 's สกอตช์ วิสกี้

ในบาร์ที่ไหนก็ตามทั่วโลกถ้าลูกค้าสั่ง วิสกี้ หากพูดว่า ”สกอต” อันเป็นที่รู้กันดีว่าจะเป็นอื่นใดไม่ได้นอกจาก สกอตช์ วิสกี้

ด้านวัฒนธรรมที่สำคัญอีกอย่างคือ คิลต์ (Kilt) พร้อมคำถามว่า ผู้ชายทำไมนุ่งกระโปรง ?

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”      คิลต์กับปี่สกอต (Cr. scotsman.com)

คิลต์ ทำจากผ้าลวดลายเส้นตรงที่ผสานกันไปลายผ้าตารางหมากรุกเรียกว่า ทาร์ทัน (Tartan) สมัยก่อนบ้านเราเรียกผ้าลายตารางหมากฮอส แทบทุกอย่างว่า ผ้าลายสกอตช์

การใช้ลายทาร์ทัน มีหลากหลาย และมีความหมายมากมายที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังสีเหล่านั้น เช่น การเป็นตัวแทนของตระกูล ภูมิภาค และกลุ่มต่าง ๆ และแสดงให้เห็นถึงการไว้อาลัย การออกล่า ความเป็นผู้หญิง ลำดับชั้น ฯลฯ

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”      งานประเพณี The Atholl Highlands (Cr. visitscotland.com)

คิลต์ ไม่ใช่กระโปรงธรรมดา แต่ทำเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริง ยุคแรก ๆ คลุมไปถึงส่วนบนของลำตัว โดยใช้ผ้าผืนใหญ่มาพันห่อร่างกายหลายชั้นก่อนปล่อยชายคลุมไหล่ และผ้าผืนเดียวใช้เป็นทั้งผ้าห่ม ถุงนอน ผ้าคลุม และแทนกางเกงของชายชาวสกอต (Scottish people) ซึ่งอยู่ที่ราบสูงในไฮแลนด์ (Highland) ของสกอตแลนด์นั่นเอง

คนส่วนใหญ่จะเห็นการแต่งกายด้วย “คิลต์” ในงานพิธีสำคัญหรือขบวนพาเหรดต่าง ๆ จริง ๆ แล้วในชีวิตประจำวันเขาก็ยังใช้กันอยู่

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”    Keeper จากประเทศต่าง ๆ

ผมไปสกอตแลนด์ 3-4 ครั้ง ก็ยังเห็นผู้คนสวมใส่คิลต์เดินตามถนน ในร้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบาร์ต่าง ๆ มีผู้ชายสวมใส่คิลต์หลากหลายสี ดื่มกินกันสนุกสนาน ผมยังเคยใส่ไปบาร์กับพวกเขา แรก ๆ ก็เขิน แต่เมื่อเจอคนที่สวมใส่เยอะก็สบาย ๆ

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”

   The Balvenie สกอตช์ วิสกี้

ที่สำคัญสกอตแลนด์ ให้ความสำคัญกับขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมอันเป็นรากของพวกเขาอย่างเหนียวแน่น ด้วยการผสมผสาน สกอตช์ วิสกี้ และ คิลต์ อย่างลงตัว ในการเปิดตัวสกอตช์ วิสกี้ ในที่ใดทั่วโลกจะต้องมี “สกอตช์ วิสกี้-คิลต์” อยู่ในงานเสมอ บางครั้งจะมีปี่สกอตด้วย

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”

    Monkey Shoulder สกอตช์ วิสกี้

ไม่มีใครสามารถเอา “วิสกี้และคิลต์” ออกไปจากวิถีชีวิตของชาวสกอตได้

ในสกอตแลนด์นั้นมีการตั้งกลุ่มอุตสาหกรรม สกอตช์ วิสกี้ เมื่อปี 1988 โดยเล็งเห็นความสำคัญว่าเป็นสินค้าพื้นเมืองประเภทเครื่องดื่ม ที่มีวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อันยาวนาน ตั้งแต่ราวปี 1494 ทำชื่อเสียงและทำเงินให้กับประเทศมาโดยตลอด

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”     Keeper คนไทย จักรกฤต เบเนเดทตี้ ในพิธีการหน้า Blair Castle

สำหรับตำแหน่ง Keepers of The Quaich จักรกฤตกล่าวว่า

“ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น Keeper ปีนี้อิตาเลเซียครบรอบ 60 ปีในการดำเนินธุรกิจการเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าทั่วไทย ถือว่าเป็นจังหวะและโอกาสที่ดี และทำให้ได้รับโอกาสในการต่อยอดธุรกิจอย่างต่อเนื่อง”

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”

 Glenfiddich สกอตช์ วิสกี้

อิตาเลเซีย เทรดดิ้ง เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสกอตช์ วิสกี้ หลายแบรนด์ทั้งซิงเกิ้ล มอลต์ และเบลนเดด มอลต์ เช่น แกรนท์ (Grant’s) เกลนฟีดดิช (Glenfiddich) มังกี้ โชลเดอร์ (Monkey Shoulder) และเดอะ บัลเวนี (The Balvenie) ซึ่งทั้งหมดอยู่ในเครือ ”วิลเลียม แกรนท์ แอนด์ ซันส์” (William Grant & Sons) ผู้ผลิตชื่อดังที่ได้รับรางวัลมากมาย

คนไทยในตำแหน่ง “ผู้รักษาวัฒนธรรมสินค้าสกอตแลนด์”    The Distillers Library

ล่าสุดได้รับคัดเลือกจากวิลเลียม แกรนท์ แอนด์ ซันส์  ให้เป็นผู้เปิด The Distillersที Library เป็นห้องสมุดสะสมวิสกี้หายาก แห่งที่ 4 ของโลก ที่โครงการพิมาน 49 ด้วย