‘งานวิจัยแห่งชาติ’ 67 งานเร่งด่วนเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วย ‘โมเดล BCG’
งาน ‘มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ’ 2567 ปีนี้เน้น งานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน และงานวิจัยขายได้ ตอกย้ำการใช้ ‘โมเดล BCG’ งานเร่งด่วนเพื่อสิ่งแวดล้อม
งาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ครั้งที่ 19 วันที่ 26 – 30 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
หัวข้อที่น่าสนใจคือ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วย โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว วิจัยหรือผลิตอะไรมาจะไม่เหลือทิ้งเป็นขยะ หรือทิ้งให้น้อยที่สุด
มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ในวันเปิดงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo) ภายใต้แนวคิด สานพลังงานวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน
“วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คือกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวข้ามความท้าทายในยุคปัจจุบัน การลงทุนในด้านนี้จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนากำลังคน สนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และได้กำหนดให้เป็น วาระแห่งชาติ พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณและสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนา”
ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง กล่าวถึงความสำคัญของงานวิจัยที่นับวันจะยิ่งทวีบทบาทมากขึ้น
“ปัจจุบัน งานวิจัยใช้แก้ปัญหาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุคที่การแข่งขันของประเทศกำลังลดลง เศรษฐกิจถดถอย งานวิจัยสามารถแก้ปัญหาเฉพาะด้าน สร้างรายได้ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น PM2.5 รวมถึงแก้ปัญหาหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม
อัตลักษณ์สิ่งทอบุรีรัมย์
และเป็นหนึ่งใน ซอฟต์พาวเวอร์ ด้าน การท่องเที่ยว เช่น วิจัยและพัฒนาต่อยอดศิลปวัฒนธรรม และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรม
งานวิจัยที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม ได้แก่ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วย โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว วิจัยหรือผลิตอะไรมาจะไม่เหลือทิ้งเป็นขยะ หรือทิ้งให้น้อยที่สุด”
มวยไทยเมืองลุง ซอฟต์พาวเวอร์ด้านการท่องเที่ยว
ผู้อำนวยการสำนักวิจัย เสริมว่า “ปัจจุบันนักวิจัยตื่นตัวแล้ว แต่งานหลายชิ้นยังไม่ได้รับการเผยแพร่ และอยากเห็นภาคการผลิตมาเป็นเครือข่ายมากขึ้น ปีนี้จึงจัด นิทรรศการงานวิจัยขายได้ มีตัวอย่างผลงานวิจัยที่ทำสำเร็จ ต่อยอดสู่การผลิตและภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่
โดยหัวข้อที่กำลังมาแรงและสามารถพัฒนาต่อยอดสู่ภาคการผลิต คือ งานวิจัยเพื่อสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อให้ทุกภาคส่วนไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สัตว์ป่า และความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการขยะ
ชานอ้อยเหลือทิ้งทำเส้นใย
ที่ผ่านมา งานวิจัยหลายชิ้นไม่ได้อยู่บนหิ้ง หากได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เกิดผลสำเร็จแล้ว สร้างเม็ดเงินลงทุนหลายหมื่นล้าน
จึงนำผลงานเหล่านั้นมาเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ว่าสำเร็จแบบไหน มีผลงานอะไรที่โดดเด่น และใช้งานอะไรบ้าง
Lignin Valorization for BCG industries
ปีนี้นำเสนอ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมกว่า 983 ผลงาน ผ่านนิทรรศการและการประชุมสัมมนาหลากหลายหัวข้อ อีกทั้งวางเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงและสร้างพลังแห่งความร่วมมือในทุกเครือข่ายงานวิจัย นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์โลก พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม”
งานวิจัยเพิ่มประสิทธิภาพของเห็ดออกฤทธิ์ทางยา
มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 เป็นเวทีสำคัญที่รวบรวมผลงานวิจัยและนวัตกรรมชั้นนำของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศและสังคม
ปีนี้มีหลายไฮไลต์ ผลงานที่นำมาจัดแสดง อาทิ
หุ่นยนต์ยางพาราระบบเคเบิ้ล, ทุ่นลองติดตามมวลน้ำด้วยสัญญาณคลื่นวิทยุและแอพพลิเคชั่น ทำนายการเคลื่อนตัวของขยะ, อัตลักษณ์สิ่งทอเศรษฐกิจจังหวัดบุรีรัมย์สู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัย, ผลิตภัณฑ์ยาอดยาบ้าชนิดเม็ด, พลิกฟื้นทุนวัฒนธรรมของเชียงราย สู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ UNESCO, หัวเชื้อน้ำมันดีเซล ลดฝุ่น PM2.5
หัวเชื้อน้ำมันดีเซลลดฝุ่น PM2.5
ด้านอาหาร เช่น น้ำปลาแท้ลดโซเดียมและโพแทสเซียม 40%, ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเปปไทด์จากหอยเชอรี่ สถาบันปัญญาภิวัฒน์, สะตอสะเด็ดน้ำ, นวัตกรรมผลิตปลาส้มจากกว๊านพะเยา, วิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพของเห็ดทางยา ฯลฯ
น้ำปลาแท้ลดโซเดียมและโพแทสเซียม
งานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในระยะเร่งด่วนและระยะยาว ด้วย โมเดลเศรษฐกิจ BCG วิจัยแล้วไม่เหลือขยะทิ้งหรือเหลือน้อยที่สุด เช่น นวัตกรรมต้นไม้ลดฝุ่น PM2.5 ด้วยรูปแบบสวนภูมิทัศน์ในสังคมเมือง
สะตอสะเด็ดน้ำ
การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพต่อการปรับปรุงคุณภาพดินและการกักเก็บคาร์บอน, นวัตกรรมอัพไซคลิ่งขยะพลาสติก, การแปรรูปปาล์มน้ำมันเหลือทิ้งในสวนปาล์ม, บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายทางชีวภาพจากแป้งเทอร์โมพลาสติก ฯลฯ
ผู้สนใจเข้าร่วมงาน ลงทะเบียนที่ https://researchexporegistration.com วันนี้ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย