ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ติดโควิด อัปเดตยื่นรับเงินขาดรายได้
ตรวจสอบ ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ติดโควิด เช็กอัปเดตยื่นรับเงินขาดรายได้ กรณีสอบถามกันมาอย่างต่อเนื่อง เงื่อนไขการรับสิทธิและหลักเกณฑ์
ติดตามตรวจสอบ ประกันสังคม ผู้ประกันตนติดโควิด เช็กอัปเดตยื่นรับเงินขาดรายได้ กรณีสอบถามกันมาอย่างต่อเนื่อง เงื่อนไขการรับสิทธิและหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง
เช็คสิทธิประกันสังคม "ผู้ประกันตน" ม.33 ม.39 และ ม.40 หากติดเชื้อโควิด-19 สามารถยื่นขอรับเงินชดเชยขาดรายได้ จากสำนักงานประกันสังคมได้ภายในระยะเวลาเท่าไร และจะได้รับชดเชยอย่างไร ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ คลิกเลย
ตามที่โฆษกสำนักงานประกันสังคม น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ เปิดเผยว่า ผู้ประกันตนที่ติดเชื้อโควิดและที่รักษาตัวหายจากโควิดแล้ว ไปติดต่อขอรับเงินขาดรายได้จากประกันสังคม จึงเป็นห่วงว่าเจ้าหน้าที่จะติดเชื้อด้วย หรือจะติดเชื้อจากเจ้าหน้าที่ เพราะโควิดระบาดเร็วมาก เรื่องเงินขาดรายได้ที่จะเบิกจากประกันสังคม สามารถยื่นได้ภายใน 2 ปี หรือไม่ต้องไปที่ประกันสังคมก็ได้
โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม แล้วส่งทางไปรษณีย์ และแนบสำเนาสมุดบัญชีออมทรัพย์ ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการและโอนเงินเข้าบัญชีให้
กรณีผู้ประตน มาตรา 40 ที่ติดโควิด แล้วให้กักตัวรักษาตัวกับคลินิกมีใบรับรองแพทย์มาเบิกค่าชดเชยได้หรือไม่
เงื่อนไขการรับสิทธิเงินทดแทนการขาดรายได้มาตรา 40
จะได้รับสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 4 เดือนย้อนหลัง มีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย
กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคล ซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561 ดังนี้
1. กรณีเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท โดยพิจารณาตามเอกสารใบรับรองแพทย์ หรือเอกสารทางการแพทย์ที่ระบุว่าผู้ประกันตนเป็นผู้ป่วยโควิด-19 เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือ โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel
2. กรณีแพทย์ของสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน มีความเห็นให้หยุดพักเพื่อการรักษาตัว ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท โดยพิจารณาตามเอกสารใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่า ผู้ประกันตนเป็นผู้ป่วยโควิด-19 รักษาตัวในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยายบาล ( Home Isolation ) หรือการดูแลแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) หรือการหยุดพักกักตัวตามความเห็นแพทย์ ให้ถือเป็นการหยุดพักเพื่อรักษาพยาบาล
3.กรณีที่ไม่ได้เป็นผู้ป่วยในตาม (ข้อ 1.) และไม่มีความเห็นแพทย์ให้หยุดพักเพื่อการรักษาพยาบาลตาม (ข้อ 2) ให้พิจารณาจ่าย ครั้งละ 50 บาท โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสำนักงาน
หมายเหตุ ต้องเป็นใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลเท่านั้น
ผู้ประกันตนติดโควิด จะได้รับเงินชดเชย ดังนี้
ผู้ประกันตน ม.33
- กรณีลาป่วย รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
หยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
ผู้ประกันตน ม.39
- รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50
โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
ทั้งนี้ ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทนได้ คลิกที่นี่
อ้างอิงที่มาจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน